Proceeding2562

1087 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สรุปผลการวิจัย ปัจจุบันในประเทศไทยยังคงมีรายงานผู้ป่วยโรคไข้ไม่ทราบสาเหตุที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียริคเค็ทเซีย ( Rickettsia spp . ) มากถึง ร้อยละ 15 - 30 โดยผู้ป่วยเหล่านั้นจากการสอบประวัติพบว่าส่วนใหญ่มักมีความเกี่ยวข้องกับการถูกสัตว์ขาข้อ ดูดเลือดกัด เช่น เห็บ (Tick) หมัด (Flea) และไรอ่อน (Chigger) ซึ่งเป็นพาหะนาเชื้อ (Intermediate host) ของเชื้อ Rickettsia spp . อาเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุงเป็นพื้นที่หนึ่งที่มีรายงานการติดเชื้อเหล่านี้ การศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตราการติดเชื้อ Rickettsia spp . ในสัตว์พาหะนาโรค รวมถึงศึกษาสายพันธุ์ของสัตว์ขาข้อดูดเลือด ศึกษาสายพันธุ์ ของเชื้อ Rickettsia spp . ที่ตรวจพบในสัตว์ขาข้อดูดเลือด และศึกษาการกระจายตัวของเชื้อก่อโรคดังกล่าวในพื้นที่อาเภอ บางแก้ว จังหวัดพัทลุง เพื่อแสดงพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค จากการศึกษาครั้งนี้สามารถเก็บตัวอย่างเห็บ และหมัดจากสุนัขเลี้ยง เพื่อหาอัตราการติดเชื้อก่อโรค Rickettsia spp . จากสุนัขจานวน 23 ตัว เมื่อนาตัวอย่างเห็บ และหมัดไปจาแนกตามลักษณะทางสัณฐานวิทยาสามารถจาแนกเห็บได้ 3 สายพันธุ์ คือ Rhipicephalus sanguineus ร้อยละ 96 R. microplus ร้อยละ 3 และ Haemaphysalis sp. ร้อยละ 1 และ จาแนกหมัดได้ 3 สายพันธุ์ คือ Ctenocephalides felis orientis (หมัดแมว) ร้อยละ 97 C. f. felis (หมัดแมว) ร้อยละ 1 และ C. canis (หมัดสุนัข) ร้อยละ 2 ดักจับสัตว์รังโรค (Reservoir host) ซึ่งเป็นกลุ่มสัตว์ฟันแทะได้ทั้งหมด 15 ตัว จาแนกได้เป็นหนูพุกใหญ่ ( Bandicota indica ) มากที่สุด ร้อยละ 33 (5/15) รองลงมา คือ กระแตใต้ ( Tupaia glis ) ร้อยละ 27 (4/15) หนูพุกเล็ก ( B. savilei ) ร้อยละ 20 (3/15) หนูท้องขาว ( Rattus rattus ) ร้อยละ 13 (2/15) และหนูนาเล็ก ( R. losea ) ร้อยละ 7 (1/15) ตามลาดับ เมื่อนาตัวอย่างไรอ่อนที่เก็บได้จากสัตว์ฟันแทะไปจาแนกลักษณะทางสัณฐานวิทยา (Morphology) สามารถจาแนก ได้ 4 สายพันธุ์ คือ Leptotrombidium deliense ร้อยละ 65 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่พบมากที่สุด รองลงมา คือ สายพันธุ์ Aschoschoengastia indica ร้อยละ 16 Blankaartia acuscutellaris ร้อยละ 18 และ Walchia disparunguis pingue ร้อยละ 1 ตามลาดับ ผลการตรวจหาดีเอ็นเอของเชื้อ Rickettsia spp. ด้วยเทคนิค Real - time PCR ในตัวอย่างเห็บ หมัด และไรอ่อน จานวน 303 กลุ่มตัวอย่าง (Pool) พบอัตราการติดเชื้อ Rickettsia spp. ในตัวอย่างเห็บ หมัด และไรอ่อน ร้อยละ 39 โดย แบ่งเป็นเห็บ ร้อยละ 19 หมัด ร้อยละ 98 และไม่พบอัตราการติดเชื้อ Rickettsia spp . ในไรอ่อน เมื่อนาเชื้อ Rickettsia spp. ที่ตรวจพบจากตัวอย่างเห็บ และหมัดไปตรวจพิสูจน์สายพันธุ์ด้วยเทคนิคการถอดรหัสพันธุกรรม (DNA sequence analysis) พบว่าในตัวอย่างเห็บมีการติดเชื้อ Rickettsia spp. จานวน 2 สายพันธุ์ คือ R. asembonensis ร้อยละ 68.96 และ Rickettsia sp. cf1and5 ร้อยละ 31.03 และในตัวอย่างหมัดพบการติดเชื้อ Rickettsia spp. เพียงหนึ่งสายพันธุ์ คือ R. asembonensis ร้อยละ 100 เมื่อนาข้อมูลพิกัดทางภูมิศาสตร์ไปจัดทาแผนที่การกระจายของเชื้อก่อโรคริคเค็ทเซีย เพื่อแสดงพื้นที่เสี่ยงต่อการติด เชื้อ พบว่าพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อก่อโรคริคเค็ทเซียในอาเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง มีจานวน 9 พื้นที่ ประกอบด้วย ตาบลโคกสัก ในหมู่ที่ 2, 3,7, 10 และ 12 ตาบลท่ามะเดื่อ ในหมู่ที่ 1 และ 6 และตาบลนาปะขอ ในหมู่ที่ 3 และ 5 อาเภอบาง แก้ว จังหวัดพัทลุง (ภาพที่ 2)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3