Proceeding2562

1092 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน บทนา อาหารเลี้ยงสัตว์ถือเป็นปัจจัยการผลิตที่สาคัญที่สุดอย่างหนึ่ง การเลี้ยงสัตว์ให้ได้ผลตอบแทนสูงสุดจะต้องรู้จักเลือก และจัดสรรอาหารที่เหมาะสมแก่สัตว์ทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณ [1] และเนื่องจากปัจจุบันราคาอาหารสัตว์สาเร็จรูปที่ขาย ตามท้องตลาดมีราคาค่อนข้างสูง เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์รายย่อยจึงมักประสบปัญหาเรื่องต้นทุนการผลิต ดังนั้นเพื่อให้เกษตรกร สามารถลดต้นทุนค่าอาหารลงได้ เกษตรกรหลายรายจึงหันมาผลิตอาหารสาหรับเลี้ยงสัตว์ด้วยตนเอง ซึ่งการผลิตอาหารเลี้ยง สัตว์ที่น่าสนใจคือ การเลี้ยงหนอนที่มีโปรตีนสูงอย่างหนอนแมลงวันลาย ( Hermetia ilucens Linnaeus) ที่มีชื่อสามัญว่า Black Soldier Fly ซึ่งพบได้ทั้งในประเทศเขตร้อนและเขตอบอุ่น มีอาหารหลักเป็นน้าหวานจากดอกไม้ ไม่เป็นพาหะนาโรคมา สู่มนุษย์ มีวงจรชีวิตตั้งแต่เป็นแมลง ผสมพันธุ์ วางไข่ จนเป็นตัวหนอนและเข้าสู่ระยะดักแด้ยาวนาน 45 -50 วัน โดยอาหาร สาหรับเลี้ยงหนอนแมลงวันลายนั้นใช้ได้ทั้งมูลสัตว์หรือขยะอินทรีย์ [2] ส่วนระยะตัวหนอนที่นิยมนามาเป็นอาหารสัตว์คือ ตัวหนอนระยะก่อนเข้าดักแด้ ซึ่งเป็นระยะที่ตัวหนอนไม่ต้องการอาหาร เพียงแต่ต้องเลี้ยงไว้ในวัสดุรองพื้นที่มีน้าหนักเบาเพื่อ เป็นแหล่งหลบซ่อนก่อนจะกลายไปเป็นดักแด้ จะเห็นได้ว่าการเลี้ยงหนอนแมลงวันลายเป็นการผลิตอาหารสัตว์ที่มีต้นทุนการ ผลิตต่า แต่ให้โภชนาการที่สัตว์ต้องการสูง สามารถนามาใช้ทดแทนอาหารเลี้ยงสัตว์แบบสาเร็จรูปที่มีราคาแพงได้ นอกจากนี้ เกษตรกรยังสามารถทาการเพาะเลี้ยงเพื่อการค้าได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรได้อีกทางหนึ่ง การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยต้องการศึกษาการใช้วัสดุรองพื้นต่างชนิดสาหรับการเลี้ยงหนอนแมลงวันลายที่มีผลต่อการชักนา ตัวหนอนเข้าสู่ระยะดักแด้ โดยใช้วัสดุรองพื้นที่สามารถหาได้ง่ายตามท้องถิ่นที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงหนอนแมลงวันลาย และชัก นาตัวหนอนให้เข้าสู่ระยะดักแด้ได้ช้าลง เพื่อเพิ่มระยะเวลาการนาตัวหนอนระยะก่อนเข้าดักแด้ไปใช้เป็นอาหารสัตว์หรือขายได้ นานขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรหรือผู้เลี้ยงหนอนแมลงวันลายเพื่อการค้า วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาระยะเวลาก่อนเข้าดักแด้หลังจากเปลี่ยนเป็นตัวสีดาของหนอนแมลงวันลายที่เลี้ยงด้วยวัสดุรองพื้นต่างชนิดกัน 2. เพื่อศึกษาอัตราการรอดของหนอนแมลงวันลายระยะก่อนเข้าดักแด้ที่เลี้ยงด้วยวัสดุรองพื้นต่างชนิดกัน วิธีดาเนินการ การวางแผนการทดลอง ใช้วิธีวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design : CRD) โดยกาหนดชุดการทดลองที่มี วัสดุรองพื้นแตกต่างกัน 5 ชนิด ชุดการทดลองละ 3 ซ้า รวมเป็นชุดการทดลองทั้งหมด 15 ชุด ชุดการทดลองที่ 1 วัสดุรองพื้น คือ แกลบ ชุดการทดลองที่ 2 วัสดุรองพื้น คือ ขี้เลื่อย ชุดการทดลองที่ 3 วัสดุรองพื้น คือ ดินสาเร็จรูป ชุดการทดลองที่ 4 วัสดุรองพื้น คือ ทรายละเอียด ชุดการทดลองที่ 5 วัสดุรองพื้น คือ ขุยมะพร้าว

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3