Proceeding2562

1095 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การอภิปรายผลและสรุปผลการวิจัย จากผลการศึกษาระยะเวลาก่อนเข้าดักแด้ของหนอนแมลงวันลาย ( Hermetia ilucens Linnaeus) ที่เลี้ยงโดยใช้ แกลบ ขี้เลื่อย ดินสาเร็จรูป ทรายละเอียด และขุยมะพร้าวเป็นวัสดุรองพื้น ที่อุณหภูมิ 25 – 29 องศาเซลเซียส จานวน 100 ตัว พบว่าระยะเวลาก่อนเข้าดักแด้ของหนอนแมลงวันลายที่เลี้ยงโดยใช้วัสดุรองพื้นแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันอย่างมี นัยสาคัญทางสถิติ (p < 0.05) โดยหนอนแมลงวันลายระยะก่อนเข้าดักแด้ที่เลี้ยงโดยใช้ขุยมะพร้าวเป็นวัสดุรองพื้นมีระยะเวลา ก่อนเข้าดักแด้มากที่สุด รองลงมาคือ ดินสาเร็จรูป แกลบ ทรายละเอียด และขี้เลื่อย ตามลาดับ และเมื่อเปรียบเทียบความ แตกต่างเป็นรายคู่ พบว่าหนอนแมลงวันลายระยะก่อนเข้าดักแด้ที่เลี้ยงโดยใช้แกลบ ขุยมะพร้าว และดินสาเร็จรูปเป็นวัสดุรอง พื้นมีระยะเวลาก่อนเข้าดักแด้ที่ไม่แตกต่างกัน แต่จะมีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p < 0.05) กับหนอนแมลงวัน ลายที่เลี้ยงโดยใช้ขี้เลื่อยและทรายละเอียดเป็นวัสดุรองพื้น แสดงให้เห็นว่าหนอนแมลงวันลายระยะก่อนเข้าดักแด้ที่เลี้ยงโดย ขุยมะพร้าว ดินสาเร็จรูป และแกลบมีระยะเวลาก่อนเข้าดักแด้มากกว่าหนอนแมลงวันลายที่เลี้ยงโดยใช้ทรายละเอียด และ ขี้เลื่อยเป็นวัสดุรองพื้น เนื่องจากแกลบ ขุยมะพร้าว และดินสาเร็จรูป เป็นวัสดุรองพื้นที่มีน้าหนักเบา และมีความละเอียด ทา ให้หนอนแมลงวันลายสามารถหมุดเพื่อหลบซ่อนแสงได้ง่ายกว่าทรายละเอียดที่มีน้าหนักมาก หรือขี้เลื่อยที่มีลักษณะเนื้อหยาบ กว่า ด้วยพฤติกรรมของหนอนระยะก่อนเข้าดักแด้มักจะชอบฝังตัวตามดินหรือที่มืด ดังนั้นหากหนอนแมลงวันลายอยู่ใน สภาพแวดล้อมที่มีแสงมากกว่าก็จะพัฒนาไปเป็นดักแด้และตัวเต็มวัยได้เร็วกว่า เพื่อลดการตายระหว่างการเจริญเติบโตใน สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม และจากผลการศึกษาอัตราการรอดของหนอนแมลงวันลายระยะก่อนเข้าดักแด้ที่เลี้ยงโดยใช้แกลบ ขี้เลื่อย ดินสาเร็จรูป ทรายละเอียด และขุยมะพร้าวเป็นวัสดุรองพื้น พบว่าอัตราการรอดของหนอนแมลงวันลายระยะก่อนเข้า ดักแด้ที่เลี้ยงในวัสดุรองพื้นแต่ละชนิดไม่มีความแตกต่างกัน (p > 0.05) และแสดงให้เห็นว่าวัสดุรองพื้นแต่ละชนิดส่งผลให้ หนอนแมลงวันลายระยะก่อนเข้าดักแด้มีอัตรารอดมากกว่าอัตราตาย เนื่องจากอุณหภูมิ ความชื้น ความหนาแน่นของประชากร และวัสดุรองพื้นแต่ละชนิดมีความเหมาะสมต่อการดารงชีวิตของหนอนแมลงวันลาย จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการเลี้ยงหนอนแมลงวันลายระยะก่อนเข้าดักแด้นอกจากจะใช้แกลบเป็นวัสดุรองพื้น ได้แล้ว ยังสามารถเลือกใช้ขุยมะพร้าว หรือดินสาเร็จรูปทดแทนการใช้แกลบได้ และเหมาะสมต่อการใช้เป็นวัสดุรองพื้นสาหรับ การเลี้ยงหนอนแมลงวันลายเพื่อการจาหน่าย เพราะมีผลให้ตัวหนอนแมลงวันลายพัฒนาไปเป็นดักแด้ได้ช้า แต่ทรายละเอียด และขี้เลื่อยไม่เหมาะสมต่อการนามาเลี้ยงหนอนแมลงวันลายเพื่อการจาหน่าย เพราะมีผลให้ตัวหนอนแมลงวันลายพัฒนาไปเป็น ดักแด้ได้เร็ว แต่อาจเป็นประโยชน์ต่อการเลี้ยงเพื่อการขยายพันธุ์ต่อไป เอกสารอ้างอิง [1] สมชาย ศรีพูล. (2560). สภาพแวดล้อมและศักยภาพในการเลี้ยงสัตว์ของประเทศไทย . (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2560, จาก http://elearning.nsru.ac.th/web_elearning/animals/lesson3_1.php. [2] ผู้จัดการออนไลน์. (2560). หนอนแม่โจ้แหล่งโปรตีนใหม่สาหรับเลี้ยงสัตว์. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2560, จาก http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3