Proceeding2562

1096 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การศึกษาความไวและดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคในสัตว์ อารินี ชัชวาลชลธีระ 1* พัชรา เผือกเทศ 2 ธนาคาร นะศรี 3 วีรพล ทวีนันท์ 2 พิสิทธิ์ สุวรรณโชติ 4 จีระศักดิ์ ถิรธนบูรณ์ 5 เจสซิก้า เบ็คเคอร์ 6 พรรณิภา จ�ำปาดง 6 และนรวร นาคทิพวรรณ 6 บทคัดย่อ บทน�ำ : เชื้อแบคทีเรียสามารถก่อโรคที่ส�ำคัญหลายโรคในสัตว์ การทราบถึงภาวะความไวและการดื้อยาของเชื้อแต่ชนิดต่อยาปฏิชีวนะ จึงมีความส�ำคัญ เพื่อน�ำไปสู่การรักษาที่ได้ผลและมีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความไวและการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในสัตว์ ได้แก่เชื้อ S taphylococcus aureus, Staphylo- coccus intermedius, Staphylococcus hyicus, Streptococcus spp., Escherichia coli, Klebsiella spp. และ Pseudo- monas spp. ต่อยาปฏิชีวนะ 14 ชนิด และศึกษาผลของการดื้อยาของเชื้อรูปแบบ Methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA) รวมทั้งผลของ Inducible clindamycin resistance (iCR) วิธีการศึกษา : ตัวอย่างเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Staphylococcus spp., Streptococcus spp., Escherichia coli, Klebsiella spp., และ Pseudomonas spp. ถูกเพาะแยกจากสัตว์ป่วย จากนั้นท�ำการทดสอบความไวและดื้อยาของเชื้อเเต่ละชนิดต่อยาปฏิชีวนะ 14 ชนิด โดยวิธี Disc diffusion test และน�ำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลของ National Committee for Clinical Laboratory Standards แล้วบันทึกผลเป็น Sensitivite (S), Intermediate (I) และ Resistance (R) นอกจากนี้ตรวจหาเชื้อ MRSA โดยเทคนิค พีซีอาร์ และท�ำ D test เพื่อทดสอบ Inducible clindamycin resistance (iCR) ผลการศึกษา : พบว่าเชื้อกลุ่ม Staphylococcus spp. มีความไวต่อยาปฎิชีวนะทั้ง 14 ชนิด และไม่พบ MRSA เนื่องจากเชื้อทั้งหมด มีความไวต่อยา Oxacillin และ Cefoxitin ถึงแม้จะพบ 2 ไอโซเลทที่สงสัย MRSA แต่เมื่อยืนยันผลโดยเทคนิคพีซีอาร์ และอะกาโรส เจลอีเลคโตรโฟรีซีส พบว่าให้ผลลบ และในการทดสอบ D test ทุกตัวอย่างให้ผล Negative D test นอกจากนี้พบว่าเชื้อกลุ่ม Streptococcus spp. มีความไวต่อ Chloramphenicol, Erythromycin, Gentamicin และ Vancomycin มากที่สุด (100%) และดื้อต่อ Novobiocin และ Streptomycin (83.33%) กลุ่มเชื้อแบคทีเรียแกรมลบมีความไวต่อยา Gentamicin (100%) และดื้อ ต่อ Novobiocin., Oxacillin และ Polymyxin B (100%) วิจารณ์และสรุป : เชื้อกลุ่ม Staphylococcus spp. มีความไวต่อยาปฎิชีวนะทั้ง 14 ชนิด และไม่พบ MRSA จากตัวอย่างที่ศึกษา และจากการทดสอบ D test พบว่าทุกตัวอย่างให้ผล Negative D test นอกจากนี้พบว่าเชื้อกลุ่ม Streptococcus spp. มีความไว ต่อ chloramphenicol, erythromycin, gentamicin และ vancomycin (100%) ในขณะที่กลุ่มเชื้อแบคทีเรียแกรมลบจะไวต่อ ยาส่วนใหญ่ยกเว้น gentamicin ค�ำส�ำคัญ : ความไวยา ความดื้อยา แบคทีเรียก่อโรค สัตว์ D test iCR 1 รศ., ภาควิชาพยาธิชีววิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอนแก่น 40002 2 ผศ.ดร., ภาควิชาพยาธิชีววิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอนแก่น 40002 3 ผศ., ภาควิชาพยาธิชีววิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอนแก่น 40002 4 อาจารย์, ภาควิชาสรีรวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอนแก่น 40002 5 ผศ.ดร., ภาควิชาสรีรวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอนแก่น 40002 6 ผู้วิจัย, คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอนแก่น 40002 1 Assoc. Prof., Department of Phathobiology, Faculty of Veterinary Medicine, Khon Kaen University, Khon Kaen, 40002, Thailand 2 Assist Prof., Department of Phathobiology, Faculty of Veterinary Medicine, Khon Kaen University, Khon Kaen, 40002, Thailand 3 Assist Prof., Department of Phathobiology, Faculty of Veterinary Medicine, Khon Kaen University, Khon Kaen, 40002, Thailand 4 Assist Prof., Department of Physiology, Faculty of Veterinary Medicine, Khon Kaen University, Khon Kaen, 40002, Thailand 5 Lecturer, Department of Physiology, Faculty of Veterinary Medicine, Khon Kaen University, Khon Kaen, 40002, Thailand 6 Researcher, Faculty of Veterinary Medicine, Khon Kaen University, Khon Kaen, 40002, Thailand * Coresponding author : Tel. : 0982567848. E-mail address : arinee@kku.ac.th

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3