Proceeding2562
1099 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน บทนา แบคทีเรียเป็นสาเหตุหลักที่พบว่าสามารถก่อโรคได้ในคนและสัตว์หลายชนิด ซึ่งส่งผลต่อทั้งสุขภาพคนและสัตว์ เช่น เชื้อ แบคทีเรียกลุ่ม Staphylococcus spp. ปกติจะอาศัยอยู่ตามผิวหนังและเนื้อเยื่ออ่อนในสัตว์หลายชนิดรวมทั้งในมนุษย์และ สามารถพบได้ทั่วไปในสิ่งแวดล้อม แต่เชื้อสามารถทาให้เกิดโรคติดเชื้อที่ผิวหนัง รวมทั้งโรคเต้านมอักเสบในโค และทาให้เกิดรอย โรคที่กระดูกและข้อต่อในสัตว์ปีก เป็นต้น [1] การระบาดของโรคทั้งจากสัตว์สู่สัตว์หรือจากสัตว์สู่คน รวมทั้งความสูญเสียดังกล่าว อาจส่งผลกระทบเป็นวงกว้างได้ โรคต่างๆที่เกิดจากแบคทีเรียเหล่านี้ต้องได้รับการรักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อกาจัดเชื้อซึ่งเป็น ต้นเหตุของโรค โดยปัจจุบันพบว่าเชื้อแต่ละชนิดมีความไวและการดื้อยาต่อยาปฏิชีวนะแตกต่างกัน ดังนั้นจึงจาเป็นต้องเลือกใช้ยา ปฏิชีวนะให้เหมาะสมกับโรคและสภาวะดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรค โดยปัจจุบันพบว่าเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Staphylococcus spp. ที่ก่อโรคในสัตว์หลายชนิด เช่น Methicillin -resistant Staphylococcus aureus (MRSA) มีความดื้อต่อยาปฏิชีวนะต่างๆ มากและหลากหลายขึ้นกว่าในอดีต โดยมีการศึกษารูปแบบ ของความไวต่อยาปฏิชีวนะของเชื้อ MRSA ที่เพาะแยกได้มาจากสุนัขที่เคยเป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง (pyoderma) แล้ว กลับมาเป็นอีก ด้วยวิธี Disc diffusion method พบว่าสุนัขร้อยละ 50 มีเชื้อ MRSA ที่ดื้อยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการศึกษานี้เกือบ ทั้งหมด ส่วนอีกร้อยละ 50 มีเชื้อ MRSA ที่ไวต่อยาปฏิชีวนะ ดังนี้ amoxicillin with sulbactum, cefpodoxime with clavulanic acid, enrofloxacin, cephalexin, ciprofloxacin, chloramphenicol, amoxicillin and clavulanic acid, cephadroxil และ cefpodoxime ซึ่งยาที่เชื้อมีความดื้อยามากที่สุด ได้แก่ tylosin, lincomycin, erythromycin, azithromycin, gentamicin และ amikacin [2] ซึ่งการดื้อยาปฏิชีวนะที่มากขึ้นและหลากหลายขึ้น เป็นผลจากการที่เชื้อ แบคทีเรียมีความหลากหลายทางพันธุกรรมมากกว่าในอดีต มีการศึกษาติดตามการพบเชื้อแบคทีเรีย methicillin-resistant Staphylococcus pseudintermedius (MRSP) ในสุนัขที่มีสุขภาพดี และหาความเกี่ยวข้องทางพันธุกรรมระหว่างเชื้อแบคทีเรีย ที่แยกได้จากสุนัขที่เป็นพาหะ และสุนัขที่มีอาการทางคลินิกจากเชื้อแบคทีเรีย MRSP โดยทดสอบความไวด้วยวิธี Disc diffusion และหา genotype โดยใช้ Multilocus sequence typing (MLST) และ Pulsed-field gel electrophoresis (PFGE) พบว่ามี พันธุกรรมที่เกี่ยวกับการถ่ายทอด คือ ST306 จากสุนัขที่เป็นพาหะ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับ ST258 ส่วน ST252 ที่พบในสุนัขที่เป็น พาหะก็สามารถพบในเชื้อแบคทีเรียอื่นที่แยกได้จากสุนัขที่แสดงอาการทางคลินิกได้เหมือนกัน จึงสรุปได้ว่าเชื้อแบคทีเรีย MRSP มี ความหลากหลายทางพันธุกรรมมากและมีความเกี่ยวข้องกันทางพันธุกรรม [3] โดยมีสาเหตุมาจากการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่ เหมาะสม และอาจมีสาเหตุมาจากความไวต่อยาของตัวสัตว์เอง การศึกษาถึงความไวของเชื้อ methicillin-resistant coagulase- positive Staphylococci (CoPS) ที่แยกได้จากการสัตว์เลี้ยงที่ติดเชื้อนี้ในประเทศออสเตรเลีย ไปทดสอบความไวต่อยาปฏิชีวนะ 16 ชนิด ด้วยวิธี Broth microdilution method แล้ววัดค่าเป็น MIC หรือ Minimum inhibitory concentrations พบว่า ปัจจัยเสี่ยงที่อาจเป็นสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับการดื้อต่อยา methicillin ของเชื้อแบคทีเรีย S. pseudintermedius ที่เพาะแยกได้ จากสุนัขนั้น ได้แก่ ชนิดของสัตว์ ลักษณะของฝูง เพศ อายุ และประวัติการรักษาก่อนหน้า [4] โดยเชื้อแต่ละชนิดมีความไวและการดื้อยาปฏิชีวนะแตกต่างกัน สัดส่วนและลักษณะการดื้อยาปฏิชีวนะ ของเชื้อ แ บ ค ที เ รี ย ก ลุ่ ม S t a p h y l o c o c c u s s p p . ที่ เ พ า ะ แ ย ก ไ ด้ จ า ก แ ม ว ที่ ม า รั ก ษ า ที่ โ ร ง พ ย า บ า ล สั ต ว์ เพื่อการเรียนการสอนแห่งหนึ่งในแอฟริกาใต้ โดยใช้วิธี Disc diffusion method เพื่อทดสอบความไวของเชื้อต่อยาปฏิชีวนะ 15 ชนิด พบว่าเชื้อแบคทีเรีย S. intermedius เป็นเชื้อสาเหตุที่พบได้บ่อยของโรคติดเชื้อที่ผิวหนัง และการดื้อยาปฏิชีวนะยังไม่
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3