Proceeding2562
1105 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สรุปผลการวิจัย จากการศึกษาผลความไวและดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคในสัตว์อันได้แก่ เชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Staphylococcus s p p . , S t r e p t o c o c c u s s p p . แ ล ะ ก ลุ่ ม แ บ ค ที เ รี ย แ ก ร ม ล บ ด้ ว ย วิ ธี D i s c d i f f u s i o n t e s t พ บ ว่ า เชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Staphylococcus spp. มีความไวต่อยาปฎิชีวนะทุกตัว และมีความไวต่อยาปฎิชีวนะกลุ่ม cefoxitin, novobiocin, oxacillin และ vancomycin ร้อยละ 100 เชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Streptococcus spp. มีความไวต่อยาปฎิชีวนะกลุ่ม chloramphenicol, erythromycin, gentamicin และ vancomycin ร้อยละ 100 และดื้อต่อ novobiocin และ streptomycin สูงถึงร้อยละ 83.33 ในขณะที่เชื้อกลุ่มแบคทีเรียแกรมลบมีความไวต่อยา gentamicin ร้อยละ 100 และมีความ ดื้อต่อยา novobiocin, oxacillin และ polymycin B สูงถึงร้อยละ 100 ดังนั้นในการเลือกใช้ยาปฎีชีวนะในสัตว์ที่สงสัยว่าเกิด การติดเชื้อในกลุ่มแบคทีเรียแกรมบวก ควรเลือกใช้ยา vancomycin เป็นทางเลือกหลักในการรักษา และหากมีแนวโน้มว่าเกิด การติดเชื้อกลุ่ม Streptococcus spp. ไม่ควรเลือกใช้ยา novobiocin หรือ oxacillin ในขณะที่หากสงสัยว่าเกิดการติดเชื้อใน กลุ่มแบคทีเรียแกรมลบควรเลือกใช้ยา gentamicin แต่อย่างไรก็ตามก่อนที่จะทาการเลือกใช้ยาปฎิชีวะในการรักษาควรมีการ ทดสอบความไวเ ชื้อก่อนดาเนินการเสมอ มีการศึกษาที่พบว่าอัตราความดื้อและตอบสนองต่อยาปฎิชีวนะของ เ ชื้อแบคที เ รี ยก่อ โ ร ค ใ นสัตว์มีก า ร เ ปลี่ ยนแปล ง ตล อด เ ว ล า พบว่ า ตั ว อย่ า ง เ ชื้อแบคที เ รี ย จา กสุ กร ที่ เ ลี้ย ง ใ น ประเทศไทยนั้นมีความดื้อต่อยาปฎิชีวะที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยคาดว่าความดื้อยาที่เพิ่มขึ้นมี สาเหตุมาจากการใช้ยาปฎิชีวนะอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะยากลุ่ม Beta-lactams, Aminoglycosides, Macrolides, และ Quinolones [14] Methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA) คือแบคทีเรียกลุ่ม Staphylococcus aureus ที่มีความแตกต่างทางพันธุกรรมจาก Staphylococcus aureus สายพันธุ์ทั่วไป ทาให้เชื้อกลุ่มนี้รุนแรงและรักษาได้ยาก เชื้อกลุ่ม นี้มีลักษณะที่จาเพาะที่มีความดื้อต่อยากลุ่มยาปฎิชีวนะกลุ่ม Beta-lactam โดยเฉพาะ methicillin และ oxacillin และกลุ่ม cephalosporins [10] จากการศึกษานี้พบว่าตัวอย่างเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Staphylococcus spp. มีความไวต่อ oxacillin และ cefoxitin (Second-generation cephalosporins) สูงถึงร้อยละ 100 ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่าไม่พบ MRSA จากตัวอย่างเชื้อใน การศึกษาครั้งนี้ อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าในการศึกษานี้จะไม่พบ MRSA แต่มีการศึกษาในอดีตหลายครั้งที่พบสัตว์ที่มีการติดเชื้อ MRSA เช่น การศึกษาถึงความชุกของเชื้อ MRSA ภายในฟาร์มสุกรที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือของประเทศไทย พบว่า ฟาร์มร้อยละ 9.61 (10 ฟาร์มจากทั้งหมด 104 ฟาร์ม) มีเชื้อ MRSA ปนเปื้อนอยู่ภายในฟาร์ม โดยเชื้อที่พบทั้งหมดในการศึกษานี้ มีความดื้อต่อยา clindamycin, oxytetracycline และ tetracycline ร้อยละ 100 [15] การศึกษาถึงความชุกของเชื้อ MRSA ภายในโรงพยาบาลสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยสุ่มเก็บตัวอย่างจากสุนัข 356 ตัว และพบว่ามีตัวอย่าง ที่ปนเปื้อนเชื้อ MRSA 9 ตัวอย่าง ซึ่งเมื่อทดสอบความไวยา พบว่าเชื้อทั้งหมดมีความดื้อต่อยากลุ่ม tetracycline ร้อยละ 92 ดื้อ ต่อยา trimethoprim-sulfamethoxazoles ร้อยละ 69 และดื้อต่อ ceftriaxone ร้อยละ 62 นอกจากนี้เชื้อทั้งหมดยังแสดง ลักษณะการดื้อยาแบบ Multidrug resistance อีกด้วย [16] และนอกจาก MRSA แล้ว ยังพบว่าการติดเชื้อ methicillin- resistant coagulase -positive Staphylococci (MRCoPS) อื่นๆ ในสุนัขที่รับการรักษาในโรงพยาบาลสัต ว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยพบเชื้อกลุ่ม Methicillin -resistant Staphylococcus pseudintermedius (MRSP) มากที่สุด [17]
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3