Proceeding2562
1160 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน มากกว่าชุดควบคุมที่ใช้อาหารสาเร็จรูปอย่างเดียวอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (P<0.05) และ [7] เลี้ยงกุ้งก้ามกรามด้วยสัดส่วน อาหารสาเร็จรูปต่อไรน้านางฟ้า (0:100) ทาให้ความยาวเพิ่มและน้าหนักเพิ่มมากกว่าอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (P<0.05) กับ อาหารสาเร็จรูปอย่างเดียว (100:0) นอกจากนี้ [8] เปรียบเทียบการเลี้ยงปลาทองด้วยอาหารต่างกัน คือ อาหารเม็ดสาเร็จรูป อาหารเม็ดสาเร็จรูปเสริมไรน้านางฟ้าไทยสด 30 เปอร์เซ็นต์ อาหารเม็ดสาเร็จรูปเสริมไรน้านางฟ้าไทยแช่แข็ง 30 เปอร์เซ็นต์ และ อาหารเม็ดสาเร็จรูปเสริมไรน้านางฟ้าไทยสด 15 เปอร์เซ็นต์ และไรน้านางฟ้าไทยแช่แข็ง 15 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งไม่มีผลต่อ การเจริญเติบโตของปลาทอง และ [9] เลี้ยงปลาหมอสีฟลาเวอร์ฮอนด้วยอาหารผสมไรน้านางฟ้าสิรินธรแห้ง 10, 20 และ 30 เปอร์เซ็นต์ พบว่าการใช้อาหารผสมไรน้านางฟ้าสิรินธรแห้ง 20 เปอร์เซ็นต์เลี้ยง ปลาหมอสีฟลาเวอร์ฮอนทาให้มีอัตราการ เจริญเติบโตจาเพาะมากที่สุด เท่ากับ 1.71±0.27 เปอร์เซ็นต์ต่อวัน 2. ผลของอาหารที่เหมาะสมต่อความเข้มสีผิวของกุ้งเครย์ฟิช ค่าความสว่าง (L*) ของกุ้งเครย์ฟิชที่เลี้ยงด้วยอาหารที่แตกต่างกัน เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ พบว่า ค่าความสว่าง ของกุ้งเครย์ฟิชที่เลี้ยงด้วย อาหารสาเร็จรูป ไรน้านางฟ้าไทยสด ไรน้านางฟ้าไทยแช่แข็ง และกุ้งฝอย มีค่าเท่ากับ 42.03±2.05, 37.49±1.59, 36.59±3.91 และ 36.11±6.78 ตามลาดับ (ตารางที่ 2) เมื่อเปรียบเทียบทางสถิติ พบว่า ค่าความสว่างของกุ้ง เครย์ฟิชที่เลี้ยงด้วยอาหารทุกชุดการทดลองไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (P>0.05; ตารางที่ 2) ค่าสีแดง (a*) ของกุ้งเครย์ฟิชที่เลี้ยงด้วยอาหารที่แตกต่างกัน เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ พบว่า ค่าสีแดงของกุ้งเครย์ ฟิชที่เลี้ยงด้วยไรน้านางฟ้าไทยสดมีค่ามากที่สุด เท่ากับ 5.38±2.93 รองลงมาคือ ไรน้านางฟ้าไทยแช่แข็ง กุ้งฝอย และอาหาร สาเร็จรูป มีค่าเท่ากับ 3.76±1.29, 2.20±1.19 และ 0.77±2.30 ตามลาดับ (ตารางที่ 2) เมื่อเปรียบเทียบทางสถิติ พบว่า ค่าสี แดงของกุ้งเครย์ฟิชที่เลี้ยงด้วยไรน้านางฟ้าไทยสดมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (P<0.05) กับชุดกการทดลองที่ เลี้ยงด้วยอาหารสาเร็จรูป แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (P>0.05) กับชุดการทดลองที่เลี้ยงด้วย ไรน้านางฟ้า ไทยและกุ้งฝอย (ตารางที่ 2) ตารางที่ 2 ค่าความสว่าง L* (lightness), ค่าสีแดง a* (redness) และ ค่าสีเหลือง b* (yellowness) ของกุ้งเครย์ฟิชที่เลี้ยง ด้วยอาหารต่างกัน 4 ชนิด เมื่อสิ้นสุดการทดลองเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ color Feed commercial (Control) Fresh thai fairy shrimp Freeze thai fairy shrimp Riceland Prawn L* (lightness) 42.03±2.05 a 37.49±1.59 a 36.59±3.91 a 36.11±6.78 a a* (redness) 0.77±2.30 b 5.38±2.93 a 3.76±1.29 ab 2.20±1.19 ab b* (yellowness) 1.27±4.39 a 2.85±1.16 a 2.57±2.23 a -0.06±2.24 a อักษรที่แตกต่างกันในแนวนอน แสดงความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (P<0.05) ค่าสีเหลือง (b*) ของกุ้งเครย์ฟิชที่เลี้ยงด้วยอาหารที่แตกต่างกัน เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ พบว่า ค่าสีเหลืองของกุ้ง เครย์ฟิชที่เลี้ยงด้วยไรน้านางฟ้าไทยสดมีค่ามากที่สุด มีค่าเท่ากับ 2.85±1.16 รองลงมาคือ ไรน้านางฟ้าไทยแช่แข็ง อาหาร สาเร็จรูปและกุ้งฝอย มีค่าเท่ากับ 2.57±2.23, 1.27±4.39 และ -0.06±2.24 ตามลาดับ (ตารางที่ 2) เมื่อเปรียบเทียบทางสถิติ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3