Proceeding2562
1161 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน พบว่า ค่าสีเหลืองของกุ้งเครย์ฟิชที่เลี้ยงด้วยอาหารทุกชุดการทดลองไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (P>0.05) (ตารางที่ 2) จากการศึกษาความเข้มสีของกุ้งเครย์ฟิชที่เลี้ยงด้วยอาหารที่ต่างกัน คือ อาหารเม็ดสาเร็จรูป ไรน้านางฟ้าไทยสด ไร น้านางฟ้าไทยแช่แข็ง และกุ้งฝอย เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ พบว่าการเลี้ยงกุ้งเครย์ฟิชด้วยไรน้านางฟ้าไทยสดส่งผลต่อค่าสี แดง (a*) ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (P<0.05) กับอาหารสาเร็จรูป ในขณะที่ค่าความสว่าง (L* ) และค่าสี เหลือง (b*) ในทุกชุดการทดลองไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (P>0.05) ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับ [10] พบว่าการใช้อาหารผสมไรน้านางฟ้าไทย 100 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ทาให้ลูกปลาแฟนซีคาร์ฟมีค่าสีแดงสูงสุด เท่ากับ 14.66 ±1.77 (P<0.05) ทั้งนี้เนื่องจากไรน้านางฟ้าไทยมีสารสีกลุ่มแคโรทีนอยด์ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสีของสัตว์น้า ซึ่ง [5] พบว่า ไรน้านางฟ้าไทยมีปริมาณสารแคโรทีนอยด์รวม 254.41 ไมโครกรัมต่อกรัมน้าหนักแห้ง จึงเป็นสาเหตุให้กุ้งเครย์ฟิชที่ เลี้ยงด้วยไรน้านางฟ้าไทยสดมีค่าสีแดงดีกว่าชุดการทดลองอื่น(P<0.05) [9] พบว่าการเลี้ยงปลาหมอสีฟลาเวอร์ฮอนด้วย อาหารผสมไรน้านางฟ้าสิรินธรแห้ง 20 เปอร์เซ็นต์ ทาให้มีค่ามุมสีสูงสุด เท่ากับ 88.43 และ 169.63 ในวันที่ 30 และ 60 ของ การเลี้ยง นอกจากนี้ [8] พบว่า การเลี้ยงปลาทองด้วยอาหารเสริมไรน้านางฟ้าไทยสด 30 เปอร์เซ็นต์ และ เสริมไรน้านางฟ้า ไทยสด 15 เปอร์เซ็นต์ ผสมไรน้านางฟ้าไทยแช่แข็ง 15 เปอร์เซ็นต์ มีผลต่อการเพิ่มสีเหลืองและความสว่างของสีผิวปลาทอง สรุปผลการวิจัย การเจริญเติบโตของกุ้งเครย์ฟิชที่เลี้ยงด้วยอาหารที่ต่างกัน คือ อาหารเม็ดสาเร็จรูป ไรน้านางฟ้าไทยสด ไรน้านางฟ้า ไทยแช่แข็ง และกุ้งฝอย โดยการเลี้ยงกุ้งเครย์ฟิชด้วยไรน้านางฟ้าสดส่งผลต่อ น้าหนักเพิ่มเฉลี่ยต่อวัน และอัตราการ เจริญเติบโตจาเพาะ (P<0.05) และการเลี้ยงกุ้งเครย์ฟิชด้วยไรน้านางฟ้าไทยสดส่งผลต่อค่าสีแดง (a*) ซึ่งมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (P<0.05) กับอาหารสาเร็จรูป กิตติกรรมประกาศ คณะผู้วิจัยขอขอบคุณมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ในการให้ทุนสนับสนุนงบประมาณทุนวิจัยมุ่งเป้าเพื่อการ เผยแพร่ในระดับชาติหรือนานาชาติ ประจาปีงบประมาณ 2560 และขอขอบคุณภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะ เทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ที่ให้การเอื้อเฟื้อสถานที่และอุปกรณ์ในการ ทางานวิจัย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3