Proceeding2562
1249 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การสังเคราะห์และสมบัติของสารเชิงซ้อนทองแดงกับลิแกนด์ทาร์ทาริก ณัฐฐิณีภรณ์ ศรีสุขใส 1 และหิริหัทยา เพชรมั่ง 2* บทคัดย่อ บทน�ำ : สารเชิงซ้อนทองแดงกับกรดทาร์ทาริกมีประโยชน์หลาย ๆ ด้าน อาทิ ด้านอุตสาหกรรม และการแพทย์ แต่มีรายงานเกี่ยว กับการสังเคราะห์ โครงสร้างและสมบัติของสารเชิงซ้อนทองแดงกับกรดทาร์ทาริกน้อยมาก วัตถุประสงค์ : เพื่อสังเคราะห์และศึกษาสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของสารเชิงซ้อนทองแดงกับลิแกนด์ทาร์ทาริก วิธีการศึกษา : สังเคราะห์จากคอปเปอร์(II) ซัลเฟต เพนตะไฮเดรตและกรดทาร์ทาริกในอัตราส่วนโมล 1:2 ที่อุณหภูมิห้อง นาน 6 ชั่วโมง น�ำสารละลายมากรอง ตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง จนในที่สุดได้ผลึกสีฟ้า ผลการศึกษา : ตรวจสอบเอกลักษณ์ของผลึกด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอ็กซ์บนผลึกเดี่ยว พบว่า ระบบโครงสร้างผลึก คือ มอนอคลินิก มีหมู่ปริภูมิคือ P21 และพารามิเตอร์ดังนี้ a = 8.3728(4) Å b = 8.7629(4) Å และ c = 12.1529(6) Å มุม α = γ =90° β = 104.539° มีมวลโมเลกุล 527.31 กรัม/โมล สูตรโมเลกุล คือ Cu 2 C 8 H 16 O 18 โดยเป็นสารเชิงซ้อนไดนิวเคลียร์ที่ประกอบด้วย โมเลกุลน�้ำอิสระ 4 โมเลกุลและโมเลกุลหลัก [Cu 2 (C 4 H 4 O 6 ) 2 (H 2 O) 2 ] ที่เป็นมอนอเมอร์สามารถเชื่อมต่อกันจนกลายเป็นสารเชิงซ้อน พอลิเมอร์ [Cu 2 (C 4 H 4 O 6 ) 2 (H 2 O) 2 ] n ·4H 2 O ที่เป็นโครงข่ายโลหะอินทรีย์ ผลของสเปกตรัมอินฟราเรดยืนยันหมู่ฟังก์ชั่นที่ส�ำคัญ อาทิ สัญญาณการยืดของหมู่ O-H, C sp2- H และ COO- ที่ 3417 cm-1, 2851 cm-1 และ 1625 cm-1 ตามล�ำดับ ส่วนผลการวิเคราะห์ การดูดกลืนแสงช่วงอัลตราไวโอเลตและวิสิเบิล แสดงการแทรนซิชันจาก π→π* ของลิแกนด์ ที่ 280 nm และการแทรนซิชัน แบบ d-d ของไอออนโลหะทองแดงที่ 603 nm วิจารณ์และสรุป : สารเชิงซ้อนที่ได้ สามารถสังเคราะห์ได้ง่ายและราคาไม่แพง สารที่ได้มีสมบัติทางกายภาพคือมีผลึกสีฟ้า การศึกษา สมบัติทางเคมียืนยันว่าสารเชิงซ้อนไดนิวเคลียร์ที่สามารถเชื่อมต่อกันจนกลายเป็นสารเชิงซ้อนพอลิเมอร์ มีสมบัติโครงข่ายโลหะ อินทรีย์ที่สามารถน�ำมาศึกษาความเป็นแม่เหล็ก และฤทธิ์ต้านจุลชีพเพื่อประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมได้ ค�ำส�ำคัญ : สารเชิงซ้อน อนุพันธ์คาร์บอกซิลิก กรดทาร์ทาริก พอลิเมอร์ โครงข่ายโลหะอินทรีย์ 1 นิสิตปริญญาตรี, กศบ.วิทยาศาสตร์ – เคมี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา 90000 2 รศ.ดร., หน่วยวิจัยเคมีอนินทรีย์และวัสดุ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา 90000 1 Bachelor’s degree student, Science Education- Chemistry, Faculty of Education, Thaksin University, Songkhla, 90000 2 Assoc. Prof. Dr., Inorganic and Materials Chemistry Research Unit, Faculty of Science, Thaksin University, Songkhla, 90000 * Corresponding author: Tel 091-982-5633. E-mail address: tayaphetmung@yahoo.com
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3