Proceeding2562
1251 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 3 บทนา กรดทาร์ทาริก (C 4 H 6 O 6 ) จัดเป็นอนุพันธ์ของกรดคาร์บอกซิลิก (Carboxylic acid derivatives) และเป็นสารอินทรีย์ ที่พบในธรรมชาติ อย่างเช่น ในมะขามที่มีกรดทาร์ทาริกถึง 12-18% [1] ปกติกรดทาร์ทาริกช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ชะลอ ความแก่ ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว และนอกจากนี้ยังสามารถรักษาโรคเชื้อราบนผิวหนังได้ [2] ทองแดงเป็นโลหะแทรนซิชั่น ที่มีเลขออกซิเดชันหลายค่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งทองแดงที่มีเลขออกซิเดชัน +2 จะมี ฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อราและแบคทีเรียดีกว่าทองแดงที่มีเลขออกซิเดชัน +1 เชื้อแบคทีเรียที่สามารถยับยั้งได้ เช่น Staphylococcus aureus [3] กรดทาร์ทาริกสามารถจับไอออนของโลหะ เช่น แคลเซียมและแมกนีเซียม เกิดเป็นสารประกอบคีเลต (Chelating compound) หรือเป็นโครงข่ายโลหะอินทรีย์ (metal-organic framework) เกิดเป็นโครงเป็นสารประกอบที่มีลักษณะเป็น โครงข่าย ที่ใช้ในอุตสาหกรรมเกษตร อุตสาหกรรมโลหะ ศึกษาความเป็นแม่เหล็ก และการต้านจุลชีพได้ [3-7] แต่สาหรับสาร เชิงซ้อนที่มีโลหะทองแดงกับกรดทาร์ทาริก ยังมีรายงานน้อยมาก เท่าที่พบรายงานได้แก่ คอปเปอร์(II)ทาร์ทาเรตไตรไฮเดรต [4] และสารอื่น ๆ อาทิ [Cu 2 (tar) 2 (H 2 O) 2 ] n ·4H 2 O [5-7] ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงสนใจสังเคราะห์สารเชิงซ้อนทองแดงกับลิแกนด์กรดทาร์ทาริก เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพ ลักษณะโครงสร้างและยืนยันโครงสร้างของสารเชิงซ้อนที่ได้ ด้วยเทคนิคทางเคมี ได้แก่ อัลตราไวโอเลตวิสิเบิลสเปกโทรสโกปี ฟูเรียร์แทรนสฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโกปี และ การเลี้ยวเบนของรังสีเอ็กซ์บนผลึกเดี่ยว เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการ นาไปใช้ประโบชน์ต่อไป วิธีดาเนินการ การสังเคราะห์สารเชิงซ้อน 1 . ชั่งสารคอปเปอร์(II)ซัลเฟต เพนตะไฮเดรต (CuSO 4 .5H 2 O) หนัก 0.25 g (1 mmol) ในใส่ขวดก้นกลมขนาด 25 mL ละลายด้วยน้า จานวน 5 mL นาไปวางบนเครื่องกวนสาร ใช้แท่งแม่เหล็กสาหรับกวนสารคนสารละลายผสมให้เข้ากัน ประมาณ 3 นาที 2 . ชั่งกรดทาร์ทาริก (C 4 H 6 O 6 ) หนัก 0.30 g (2 mmol) ใส่ในขวดก้นกลมขนาด 25 mL ละลายด้วยน้ากลั่นจานวน 5 mL คนให้เข้ากันนานประมาณ 3 นาที 3. ค่อย ๆ เติมสารละลายกรดทาร์ทาริกลงไปในสารละลาย CuSO 4 .5H 2 O ที่คนอยู่ตลอดเวลา เมื่อเติมหมด ปรับค่า ความเป็นกรดเบส (pH) ด้วยเติมกรดไฮโดรคลอริก (HCl) ที่มีความเข้มข้น 1 M จานวน 3 หยด เพื่อให้ได้ pH เท่ากับ 3 หลังจากนั้นคนสารละลายนาน 6 ชั่วโมง 4. กรองสารละลายที่ได้แล้วนาไปอุ่นในไมโครเวฟที่ 100 ºC นาน 10 วินาที จานวน 6 ครั้ง เพื่อระเหยตัวทาละลาย บางส่วนออกไป ตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 15 วัน จะได้ผลึกสีฟ้า วิธีการศึกษาสมบัติทางกายภาพ ศึกษาลักษณะของผลึก สี รูปร่าง ของสารเชิงซ้อนที่สังเคราะห์ได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ที่กาลังขยายต่าง ๆ เพื่อสังเกต ลักษณะของผลึกอย่างละเอียด วิธีศึกษาสมบัติทางเคมีและโครงสร้างของสารเชิงซ้อน 1. ศึกษาการเลี้ยวเบนของรังสีเอ็กซ์บนผลึกเดี่ยว โดยเครื่อง SMART Bruker 1000 มี Cu เป็นแหล่งกาเนิดรังสีเอ็กซ์ ( λ = 0.71073 Å เพื่อวิเคราะห์หาโครงสร้างของสาร 2. ศึกษาหมู่ฟังก์ชันของสารด้วยแสงอินฟราเรด ด้วยเครื่อง Fourier transform infrared spectrophotometer ของ ยี่ห้อ VERTEX 70 โดยใช้เทคนิค KBr pellet ช่วงความยาวคลื่น 4000-400 cm -1 3. ศึกษาการดูดกลืนแสงในช่วงอัลตราไวโอเลตและวิสิเบิล ด้วยเครื่อง UV-Visible Spectrometer รุ่น UV-1700 ของบริษัท Shimadzu วัดค่า Absorbance ในช่วงความยาวคลื่น 200-900 nm
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3