Proceeding2562
1256 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 8 ภาพที่ 4 การดูดกลืนแสงช่วงอัลตราไวโอเลตและวิสิเบิลของสารเชิงซ้อน [Cu 2 (C 4 H 4 O 6 ) 2 (H 2 O) 2 ] n ·4H 2 O สรุปผลการวิจัย [Cu 2 (C 4 H 4 O 6 ) 2 (H 2 O) 2 ] n ·4H 2 O เป็นสารเชิงซ้อนไดนิวเคลียร์ โดยสังเคราะห์จากคอปเปอร์ ( II ) ซัลเฟต เพนตะไฮเดรต และกรดทาร์ทาริก ในอัตราส่วน 1 : 2 ที่อุณหภูมิห้อง ได้ผลผลิตร้อยละ 70 ซึ่งยืนยันว่าเป็นการสังเคราะห์ได้ง่าย ใช้สารตั้งต้น น้อย ใช้เวลาสังเคราะห์น้อย สมบัติทางกายภาพของสารเชิงซ้อน [Cu 2 (C 4 H 4 O 6 ) 2 (H 2 O) 2 ] n ·4H 2 O เป็นผลึกมีสีฟ้า สามารถ ละลายได้ในไดเมทิลซัลฟอกไซด์ สารเชิงซ้อนไดนิวเคลียร์มีมอนอเมอร์ [Cu 2 (C 4 H 4 O 6 ) 2 (H 2 O) 2 ] ที่เชื่อมต่อเป็นพอลิเมอร์ [Cu 2 (C 4 H 4 O 6 ) 2 (H 2 O) 2 ] n ทาให้ไอออนทองแดงทรงแปดหน้าที่บิดเบี้ยว สมบัติการดูดกลืนแสงช่วงอินฟราเรด ยืนยันหมู่ฟังก์ชั่น ของสาร ความแตกต่างการสั่นแบบอสมมาตรและสมมาตรของหมู่ฟังก์ชันคาร์บอกซิลิกเท่ากับ 235 cm -1 ยืนยันการสร้างพันธะ กับไอออนโลหะทองแดงเป็นชนิดลิแกนด์ไบเดนเตดสะพาน สมบัติการดูดกลืนแสงในช่วงอัลตราไวโอเลตที่ความเข้มสูงคือ การแทรนซิชันจาก π → π * ของลิแกนด์ เกิดการแทรนซิชันแบบ d-d ของไอออนโลหะทองแดงที่ 603 nm บ่งบอกว่าสีที่ถูก ดูดกลืนคือแสงสีส้ม ส่วนสีที่เห็นจะเป็นสีฟ้าซึ่งตรงกับสีของผลึกของสารเชิงซ้อน นอกจากนี้สารเชิงซ้อนที่ได้จัดเป็นสารที่มี สมบัติโครงข่ายโลหะอินทรีย์ที่สามารถนามาศึกษาความเป็นแม่เหล็ก และฤทธิ์ต้านจุลชีพเพื่อประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมได้ กิตติกรรมประกาศ ผู้วิจัยขอขอบพระคุณมหาวิทยาลัยทักษิณ ที่สนับสนุนทุนบางส่วนจากทุนวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ประจาปี 2560 (จากโครงการวิจัย เรื่อง สารเชิงซ้อนไดนิวเคลียร์ทองแดงที่มีลิแกนด์อนุพันธ์กรดเบนโซอิก: การสังเคราะห์ สเปกโทรสโกปี ฤทธิ์ต้านจุลชีพและสมบัติทางแม่เหล็ก) เอกสารอ้างอิง [1] Roopa GS, Kasiviswanatham V. (2013). “Extraction of Tartaric acid from Tamarind Pulp and Analysis of The Acid Composition in Leaves”. Int J Stu Res Tech & Manage . 478-488. [2] Gao Z, Shao J, Sun H, Zhong W, Zhuang W, Zhang Z. ( 2012). “Evaluation of different kinds of organic acids and their antibacterial activity inJapanese Apricot fruits”. Afr J Agr Res. 4911-4918. [3] Borkow G. (2014) . “Using Copper to Improve the Well-Being of the Skin”. Curr Chem Bio . 89-102. [4] Callister WD. Rethwisch DG. (2016). Materials Science and Engineering (9 th ) ed., John Wiley & Sons Inc., 62-63.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3