Proceeding2562

1260 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 3 บทนา ปัญหาการแพร่ระบาดของการใช้ยารักษาโรคผิดวัตถุประสงค์หรือการใช้ยาในทางที่ผิด (drug of abuse) ในกลุ่ม เยาวชน นักเรียน และนักศึกษามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึน ยาเหล่านีเป็นยาที่ไม่ผิดกฎหมายและสามารถหาซือได้ตามร้านขายยา ทั่วไป หรือซือขายผ่านทางอินเตอร์เน็ต ทาให้ถูกนามาใช้ในทางที่ผิดได้ง่าย เพื่อใช้เสพทดแทนยาเสพติดชนิดอื่นๆ เช่น นา ต้มใบกระท่อม ยาบ้า ยาไอซ์ และเฮโรอีน เป็นต้น พฤติกรรมการใช้ยาในทางที่ผิดของกลุ่มเยาวชนได้รับอิทธิพลมาจากกลุ่ม ศิลปิน นักแสดง นักร้องเพลงฮิปฮอป และกลุ่มนักกีฬาหรือกลุ่มบุคคลที่มีชื่อเสียงในสังคม (Agnich et al., 2013) มักเสพ ยากลุ่มนีในรูปแบบของเครื่องดื่มสูตรผสมโดยนายาแก้แพ้โปรโคดิล (procodyl) ซึ่งมีตัวยาสาคัญ คือสารโปรเมทาซีน ไฮโดรคลอไรด์จัดเป็นยาประเภทยาอันตรายที่ต้องได้รับการควบคุมตามกฎหมาย (พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510) ผสมลง ไปในนาอัดลม ในต่างประเทศมักเรียกกันในชื่อ เพอร์เพิลแดร็ง (purple drank) ซิสฮับ (sizzup) หรือลีน ค็อกเทล (lean cocktail) มักนิยม เสพในหอพัก บ้านเช่าหรือบริเวณใกล้สถานศึกษา เป็นต้น หลังจากผู้เสพได้รับลีน ค็อกเทล เข้าสู่ ร่างกาย ทาให้เกิดอาการผ่อนคลาย เคลิบเคลิม และมึนเมา หากมีการใช้ยาจนเกินขนาดหรือใช้ยาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ เวลานาน จะส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ ทาให้ผู้เสพมีความต้องการใช้ยาเพิ่มขึน เกิดอาการแขนขาอ่อนแรง คลื่นไส้ อาเจียน ชักเกร็ง หัวใจเต้นผิดจังหวะ หมดสติและอาจเสียชีวิตได้ (Lynch et al., 2015) นอกจากนี ยังพบรายงานการ เสียชีวิตจากการใช้ยาในทางที่ผิดในตัวอย่างเลือดผู้ตาย ซึ่งเป็นข้อมูลที่บ่งบอกถึงสาเหตุการตายผิดธรรมชาติที่เกิดจากการ ใช้เครื่องดื่มลีน ค็อกเทล (Holler et al., 2011; Sutter et al., 2017) ดังนัน การตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างเครื่องดื่มลีน ค็อกเทลจึงมีความสาคัญ เพื่อใช้เป็นหลักฐานทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ได้ การตรวจวัดสารโปรเมทาซีนทาได้หลายวิธี เช่น เทคนิคสเปกโตรโฟโตเมทรี (spectrophotometry) (Saif& Anwar., 2005) เทคนิคโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง (high performance liquid chromatography) (Ponder & Stewart., 1995) และเทคนิคแคปิลลารีอิเล็กโตรโฟริซิส (capillary electrophoresis) (Lara et al., 2005) ซึ่งเป็นวิธีการที่ให้ผลการวิเคราะห์ที่ถูกต้องและแม่นยา แต่อย่างไรก็ตาม วิธีที่กล่าวมาข้างต้นต้องอาศัยผู้วิเคราะห์ที่มีความ ชานาญในการเตรียมตัวอย่างก่อนการวิเคราะห์ อีกทังเครื่องมือมีราคาแพงและต้องใช้เวลาในการวิเคราะห์นาน ไม่สามารถ เคลื่อนย้ายไปใช้ในภาคสนามได้ สารโปรเมทาซีนมีความสามารถในการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันด้วยตัวออกซิไดซ์ชนิดต่างๆได้ เช่น K 2 Cr 2 O 7 NH 4 VO 3 Ce (SO 4 ) 2 KBrO 3 KIO 3 KIO 4 NaNO 2 และ H 2 O 2 (Kojlo et al., 2001) เป็นต้น จากคุณสมบัติดังกล่าวทาให้ สามารถใช้กลไกพืนฐานของการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของสารโปรเมทาซีนที่มีการสูญเสียอิเล็กตรอนทาให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงสี และติดตามสัญญาณของผลิตภัณฑ์ได้ด้วยการมองเห็นหรือการวิเคราะห์ค่าการดูดกลืนแสงด้วยเทคนิคสเปก โตรโฟโตเมทรี (Karpinska et al., 1996) (Saif& Anwar., 2005) วิธีการดังกล่าว สามารถตรวจวิเคราะห์สารโปรเมทาซีน ได้อย่างถูกต้อง และแม่นยา มีต้นทุนในการตรวจวิเคราะห์ต่า แต่อย่างไรก็ตาม เทคนิคสเปกโตรโฟโตเมทรีใช้สารตัวอย่าง และตัวทาละลายอินทรีย์ปริมาณมาก และไม่สามารถนาไปประยุกต์ใช้ในการตรวจวิเคราะห์นอกห้องปฏิบัติการได้ เครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์แบบพกพา เป็นเครื่องวิเคราะห์ค่าการดูดกลืนแสงจากค่าความเข้มแสงที่วัดได้ ซึ่งมี หลักการวิเคราะห์พืนฐานจากเครื่องเสปกโตรโฟโตมิเตอร์ที่สามารถวิเคราะห์ได้ทังเชิงคุณภาพ และเชิงกึ่งปริมาณ สามารถ นาไปวิเคราะห์ได้ในห้องปฏิบัติการ หรือนอกห้องปฏิบัติการ และวิเคราะห์ผลได้รวดเร็วผ่านแอฟพลิเคชั่น (application) โทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตที่สามารถใช้งานง่าย และสะดวกในการพกพาสาหรับใช้ในการวิเคราะห์นอกห้องปฏิบัติการ (Saleh et al., 2012) งานวิจัยนีได้พัฒนาชุดทดสอบสาหรับตรวจวัดสารโปรเมทาซีนที่มีการใช้ในทางที่ผิดในตัวอย่างเครื่องดื่มลีน ค็อกเทล ที่อาศัยการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันระหว่างนายาเคมีโปตัสเซียมเปอร์ซัลเฟตและสารโปรเมทาซีนทาให้เกิด สารละลายสีแดง และตรวจวัดสัญญาณด้วยสเปกโตรโฟโตมิเตอร์แบบพกพา เพื่อให้ได้วิธีตรวจวิเคราะห์โปรเมทาซีนที่มี

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3