Proceeding2562
1262 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 5 ศึกษาโดยเตรียมสารละลายมาตรฐานโปรเมทาซีนที่ความเข้มข้นต่างๆ ได้แก่ 0 25 50 100 200 300 และ 400 mg L -1 และวิเคราะห์ด้วยเครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์แบบพกพา จากนัน สร้างกราฟความสัมพันธ์ระหว่างความ เข้มข้นของสารมาตรฐานโปรเมทาซีนและค่าการดูดกลืนแสง ซึ่งต้องมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (correlation coefficient: r) ค่า r ที่ได้ต้องอยู่ในช่วงระหว่าง 0.995-1.000 (Rius et al., 2002) ขีดจากัดการตรวจวัด (limit of detection: LOD) ขีดจากัดการตรวจวัดเป็นค่าความเข้มข้นต่าสุดที่วิเคราะห์ได้ในตัวอย่าง พิจารณาจากอัตราส่วนระหว่างสามเท่า ของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานบนจุดตัดแกน y ต่อความชันของกราฟมาตรฐาน คานวณจากสมการ LOD = 3.3 a/b เมื่อ a คือ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานบนจุดตัดแกน y และ b คือ ความชันของกราฟมาตรฐาน (Yasri et at., 2015) ขีดจากัดการตรวจวัดเชิงปริมาณ (limit of quantitation: LOQ) ขีดจากัดการตรวจวัดเชิงปริมาณเป็นความเข้มข้นต่าสุดที่สามารถวิเคราะห์และหาปริมาณได้ในตัวอย่าง พิจารณา จากอัตราส่วนระหว่างสิบเท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานบนจุดตัดแกน y ต่อความชันของกราฟมาตรฐาน คานวณจาก สมการ LOQ = 10 a/b เมื่อ a คือ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานบนจุดตัดแกน y และ b คือ ความชันของกราฟมาตรฐาน (Yasri et at., 2015) ความแม่นยาและความเที่ยงของวิธีวิเคราะห์ (accuracy and precision ) การศึกษาความแม่นและความเที่ยงของวิธีที่พัฒนาขึน โดยทาการตรวจวัดสารโปรเมทาซีนที่ความเข้มข้น 50 200 และ 300 mg L -1 วิเคราะห์ซาภายในวันเดียวกัน (n=5) และระหว่างวัน (n=5) โดยใช้สภาวะเดียวกัน ห้องปฏิบัติการ เดียวกัน ชุดทดสอบชนิดเดียวกันและผู้วิเคราะห์คนเดียวกัน แสดงผลที่ได้ในรูปค่าร้อยละค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์ (relative standard deviation: %RSD) และความแม่นยาในการวิเคราะห์ที่ได้แสดงค่าในรูปร้อยละการได้กลับคืน (%recovery) ซึ่งผลการวิเคราะห์ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่ยอมรับได้ตามข้อกาหนดของ the association of analytical communities (AOAC, 2016) ความจาเพาะ (selectivity) ความจาเพาะเป็นความสามารถของวิธีที่จะตรวจวัดได้เฉพาะสิ่งที่ต้องการวิเคราะห์ ศึกษาโดยการวิเคราะห์ สารเคมีจานวน 20 ชนิด ที่พบในตัวอย่างเครื่องดื่มและสารเคมีที่มีโครงสร้างคล้ายกับสารโปรเมทาซีนด้วยชุดทดสอบสาร โปรเมทาซีนที่พัฒนาขึน โดยเตรียมสารเคมีชนิดต่างๆที่ความเข้มข้น 100 mg L -1 วิเคราะห์ด้วยชุดทดสอบที่พัฒนาขึน และ ตรวจวัดสัญญาณด้วยเครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์แบบพกพา 3.3 การตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างเครื่องดื่มลีน ค็อกเทล วิเคราะห์ตัวอย่างเครื่องดื่มลีน ค็อกเทลที่ตรวจพบในพืนที่จังหวัดสงขลาจานวน 3 ตัวอย่าง โดยนาตัวอย่าง ปริมาณ 1 มิลลิลิตร เจือจางด้วยนาปราศจากไอออนปริมาตร 4 มิลลิลิตร จากนัน นาตัวอย่างที่เจือจางตรวจวิเคราะห์ด้วย ชุดทดสอบที่พัฒนาขึนร่วมกับเครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์แบบพกพา ค่าการดูดกลืนแสงที่ได้นามาคานวณหาค่าความ เข้มข้นสารโปรเมทาซีนในตัวอย่าง เทียบกับกราฟมาตรฐานจากการคานวณด้วยโปรแกรม Excel เวอร์ชัน 2010 ผลการวิจัยและอภิปรายผลการวิจัย 1. การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมของการเกิดปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงสี เพื่อใช้ในการตรวจวัดสารโปรเมทาซีน (optimization condition) 1.1 การศึกษาผลของความเข้มข้นของสารละลายโปตัสเซียม เปอร์ซัลเฟต (effect of potassium persulfate concentration) รูปที่ 1 (a) แสดงการศึกษาผลของความเข้มข้นของสารละลายโปตัสเซียมเปอร์ซัลเฟตต่อการเกิดปฏิกิริยาการ เปลี่ยนแปลงสี พบว่า สารละลายโปตัสเซียมเปอร์ซัลเฟตที่ความเข้มข้น 1% (w/v) เกิดปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงสีกับสาร
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3