Proceeding2562
1263 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 6 มาตรฐานโปรเมทาซีนให้ค่าการดูดกลืนแสงสูงที่สุด เนื่องจากสารละลายโปตัสเซียมเปอร์ซัลเฟตที่ความเข้มข้น 1% (w/v) สามารถทาปฏิกิริยากับสารโปรเมทาซีนได้สมบูรณ์ (Saif& Anwar., 2005) จึงนาค่าความเข้มข้นดังกล่าวมาใช้ในการศึกษา ในขันตอนต่อไป 1.2 การศึกษาอัตราส่วนระหว่างสารละลายโปตัสเซียมเปอร์ซัลเฟตและสารมาตรฐานโปรเมทาซีน (effect of sample and reagent ratio) รูปที่ 1 (b) แสดงผลของการศึกษาอัตราส่วนระหว่างสารละลายโปตัสเซียมเปอร์ซัลเฟตและสารมาตรฐานโปรเม ทาซีนต่อความไวในการตรวจวิเคราะห์ พบว่าที่อัตราส่วนระหว่างสารละลาย 1% (w/v) โปตัสเซียมเปอร์ซัลเฟต ต่อ สารละลายมาตรฐานโปรเมทาซีนความเข้มข้น 25 mg L -1 ที่อัตราส่วน 3:1 (v/v) ให้ผลค่าการดูดกลืนแสงสูงที่สุด เนื่องจากเป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมในการเกิดปฏิกิริยาระหว่างสารละลายโปรเมทาซีน และสารละลาย 1% (w/v) โปตัสเซียมเปอร์ซัลเฟตที่เกิดการเปลี่ยนแปลงสีผลิตภัณฑ์ที่ชัดเจนที่สุด ดังนัน อัตราส่วน 3:1 ระหว่างสารละลาย 1% (w/v) โปตัสเซียมเปอร์ซัลเฟต ต่อสารละลายมาตรฐานโปรเมทาซีน จึงนามาใช้ในการศึกษาในขันตอนต่อไป รูปที่ 1 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่าการดูดกลืนแสงของผลิตภัณฑ์ที่เกิดปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงสีของสารละลาย มาตรฐานโปรเมทาซีนความเข้มข้น 25 mg L -1 (a) การศึกษาผลของความเข้มข้นสารละลายโปตัสเซียมเปอร์ซัลเฟต (b) การศึกษาอัตราส่วนระหว่างสารละลายโปตัสเซียมเปอร์ซัลเฟตและสารมาตรฐานโปรเมทาซีน (c) การศึกษาผลของ ระยะเวลาในการเกิดปฏิกิริยาเปลี่ยนแปลงสี 1.3 การศึกษาผลของระยะเวลาในการเกิดปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงสีของโปตัสเซียมเปอร์ซัลเฟต และสารมาตรฐาน โปรเมทาซีน (Effect of duration time) รูปที่ 1 (c) แสดงผลของการศึกษาระยะเวลาในการเกิดปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงสี พบว่า ที่ระยะเวลา 5 นาที ให้ค่าการดูดกลืนแสงที่ดีที่สุด ดังนัน ระยะเวลาที่ 5 นาที จึงเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมในการเกิดปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลง สีของสารละลาย 1% (w/v) โปตัสเซียมเปอร์ซัลเฟต กับ สารละลายมาตรฐานโปรเมทาซีน ดังนัน ชุดทดสอบที่พัฒนาขึนมี สภาวะที่เหมาะสมของการวิเคราะห์ คือ สารโปตัสเซียมเปอร์ซัลเฟตความเข้มข้น 1% (w/v) อัตราส่วนระหว่างสารตัวอย่าง และนายาเคมี 3:1 (v/v) ระยะเวลาในการเกิดปฏิกิริยาที่ 5 นาที 2. การตรวจสอบการใช้ได้ของวิธีที่พัฒนาขึ้น (method validation) 2.1 ความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงและช่วงความเป็นเส้นตรง (linearity and range) ขีดจากัดการตรวจวัด (limit of detection: LOD) และขีดจากัดการตรวจวัดเชิงปริมาณ (limit of quantitation: LOQ) (a) (b) (c)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3