Proceeding2562

1268 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การเปลี่ยนแก๊สมีเทน (CH 4 ) ไปเป็นแก๊สไฮโดรเจน (H 2 ) ด้วยกระบวนการพลาสมาดิสชาร์จ แบบมีไดอิเล็กทริกขวางกั้นที่ความดันบรรยากาศ ยุทธพร เลี่ยมแก้ว 1* ธวัฒน์ชัย เทพนวล 2 และสมพงศ์ โอทอง 3 บทคัดย่อ บทน�ำ : แก๊สไฮโดรเจน เป็นพลังงานทางเลือกที่น่าสนใจ เนื่องจากการเผาไหม้ของแก๊สไฮโดรเจนให้พลังงานสูง เป็นพลังงานสะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การเผาไหม้จะได้ผลผลิตเป็นเพียงน�้ำและพลังงานความร้อน วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแก๊สมีเทนไปเป็นแก๊สไฮโดรเจนด้วยกระบวนการพลาสมาดิสชาร์จแบบมีไดอิเล็กทริกขวางกั้น แบบทรงกระบอกแกนร่วมที่ความดันบรรยากาศ วิธีการศึกษา : ศึกษาการเปลี่ยนแก๊สมีเทนไปเป็นแก๊สไฮโดรเจนด้วยกระบวนการพลาสมาดิสชาร์จแบบมีไดอิเล็กทริกขวางกั้นแบบ ทรงกระบอกแกนร่วมที่ความดันบรรยากาศด้วยศักย์ไฟฟ้าแรงดันสูงกระแสสลับ 8 kV ความถี่ 25 kHz ใช้แก๊สร่วมในการตั้งต้น 3 ชนิด ได้แก่ แก๊สอาร์กอน แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และอากาศ และใช้เครื่องแก๊สโครมาโทกราฟี่ในการตรวจวิเคราะห์สัดส่วนของ แก๊สที่เกิดขึ้น ผลการศึกษา : พบว่าความเข้มข้นของแก๊สมีเทนเปลี่ยนมากที่สุดที่ 35.019% เมื่อป้อนแก๊สมีเทนผสมกับอากาศ และความเข้มข้น ของมีเทนเปลี่ยนน้อยที่สุดที่ 1.126% เมื่อป้อนแก๊สมีเทนเพียงอย่างเดียว โดยสามารถเรียงล�ำดับการเปลี่ยนความเข้มข้นของแก๊ส มีเทนจากมากที่สุดไปสู่น้อยที่สุดได้เป็น แก๊สมีเทนผสมกับอากาศ (35.019%) > แก๊สมีเทนผสมกับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (31.122%) > แก๊สมีเทนผสมกับแก๊สอาร์กอน (2.186%) > แก๊สมีเทน (1.126%) ตามล�ำดับ ในส่วนของผลิตภัณฑ์แก๊สไฮโดรเจนพบมากที่สุดที่ 1.547% เมื่อป้อนแก๊สมีเทนผสมอาร์กอน และพบผลิตภัณฑ์แก๊สไฮโดรเจนน้อยที่สุดที่ 0.763% เมื่อป้อนแก๊สมีเทนผสมกับอากาศ สามารถเรียงล�ำดับการเกิดผลิตภัณฑ์แก๊สไฮโดรเจนจากมากที่สุดไปสู่น้อยที่สุดได้เป็น แก๊สมีเทนผสมกับแก๊สอาร์กอน (1.547%) > แก๊สมีเทน (1.057%) > แก๊สมีเทนผสมกับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (0.783%) > แก๊สมีเทนผสมกับอากาศ (0.763%) ตามล�ำดับ ค�ำส�ำคัญ : พลาสมาดิสชาร์จที่ความดันบรรยากาศ พลาสมาดิสชาร์จแบบมีไดอิเล็กทริกขวางกั้น การเปลี่ยน แก๊สมีเทนเป็นแก๊ส ไฮโดรเจน 1 นิสิตปริญญาโท, สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ พัทลุง 93210 2 ผศ.ดร., สาขาวิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยทักษิณ พัทลุง 93210 3 ผศ.ดร., สาขาวิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยทักษิณ พัทลุง 93210 1 Graduate Student, Master Degree, Department of Physics, Faculty of Science, Thaksin University, Phatthalung, 93210, Thailand 2 Asst. Prof. Dr,, Department of Physics, Faculty of Science, Thaksin University, Phatthalung, 93210, Thailand 3 Asst. Prof. Dr,, Department of Biology, Faculty of Science, Thaksin University, Phatthalung, 93210, Thailand * Corresponding author: E-mail address: leamkaew_22@hotmail.com

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3