Proceeding2562
1279 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 6 (1) ก่อนการเผาซินเตอร์ (a) (b) (c) (2) หลังการเผาซินเตอร์ ภาพที่ 4 ลักษณะสีของเม็ดเซรามิก (1) ก่อนเผาซินเตอร์ (2) หลังการเผาซินเตอร์ เมื่อ a, b และ c คือ เซรามิก BNT/xNd โดยที่ x มีค่าเท่ากับ 0.5, 1 และ 1.5 ร้อยละโดยน้ําหนัก ตามลําดับ 5. ผลการตรวจสอบโครงสร้างทางจุลภาคของเซรามิก BNT และเซรามิก BNT/xNd จากการศึกษาเม็ดเซรามิก BNT และเซรามิก BNT/xNd ที่ปริมาณ 0.5, 1.0 และ 1.5 ร้อยละโดยน้ําหนัก ที่ผ่านการ เผาซินเตอร์ที่อุณหภูมิ 1,100°C นํามาตรวจสอบโครงสร้างทางจุลภาคโดยใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด โดยใช้วิธี วัดแบบจุดตัดเกรนเฉลี่ย (Mean Linear Intercept) เมื่อเพิ่มปริมาณการเจือ Nd 2 O 3 เท่ากับ 0.5 ร้อยละโดยน้ําหนัก เกรนมี ขนาดเล็กลง เมื่อเพิ่มปริมาณการเจือ Nd 2 O 3 เท่ากับ 1.0 ร้อยละโดยน้ําหนัก ทําให้เกรนมีขนาดเล็กลงเล็กน้อย และเมื่อเพิ่ม ปริมาณการเจือ Nd 2 O 3 เท่ากับ 1.5 ร้อยละโดยน้ําหนักเกรนมีขนาดเล็กลงอีก โดยพบเกรนมีขนาดใหญ่ที่สุดเมื่อไม่มีการเจือ Nd 2 O 3 โดยมีขนาดเกรนเฉลี่ยเท่ากับ 11.48 ไมครอน ดังตารางที่ 2 และภาพที่ 5 และภาพที่ 6 จากผลการทดลองเมื่อเพิ่ม ปริมาณการเจือ Nd 2 O 3 ทําให้ขนาดเกรนมีแนวโน้มเล็กลงตามปริมาณการเจือที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะอนุภาคนาโน Nd 2 O 3 ที่เติมลงไปบางส่วน จะกระจายตัวอยู่ตามบริเวณขอบเกรนของเมตริกซ์ BNT และทําหน้าที่ขัดขวางการเติบโตของเกรน BNT โดยแสดงพฤติกรรมเป็นหมุดยึดขอบเกรนเอาไว้ ที่เรียกว่า “Grain boundary pinning effect” ภาพที่ 5 ภาพถ่ายจากกล้องอิเล็กตรอนแบบส่องกราดของเม็ดเซรามิก BNT/xNd เมื่อ x มีค่าเท่ากับ (a) 0.5, (b) 1 และ (c) 1.5 ร้อยละโดยน้ําหนัก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3