Proceeding2562

1280 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 7 ภาพที่ 6 กราฟเส้นแสดงความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของเกรนสัมพัทธ์กับปริมาณ Nd ที่เติมในเซรามิกเซรามิก BNT/xNd เมื่อ x มีค่าเท่ากับ 0.5, 1 และ 1.5 ร้อยละโดยน้ําหนัก ที่อุณหภูมิเผาซินเตอร์ 1,100°C 6. ผลการตรวจสอบความหนาแน่น เมื่อนําชิ้นงานเซรามิก BNT/xNd มาตรวจสอบค่าความหนาแน่นด้วยหลักการของอาร์คีมีดีส ได้ผลดังตารางที่ 2 พบว่าค่าความหนาแน่นของเซรามิก BNT ที่มีการเติมสาร Nd 2 O 3 ในปริมาณร้อยละ 0.5, 1 และ 1.5 โดยน้ําหนัก พบว่าเซรา มิกมีค่าความหนาแน่นคิดเป็นร้อยละ 92.38, 96.49 และ 96.83 ตามลําดับ เมื่อเติมสาร สาร Nd 2 O 3 มากกว่าร้อยละ 0.5 โดย น้ําหนักค่าความหนาแน่นมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากสาร Nd 2 O 3 บางส่วนไม่สามารถละลายเข้ากันกับสาร BNT และ อาจจะเข้าไปแทรกอยู่ระหว่างขอบเกรนของ สาร BNT เป็นผลทําให้อัตราการแพร่ของสาร BNT มีค่าลดลง ซึ่งสอดคล้อง กับผลการทดลองของ Zou และคณะ [6] 7. ผลการตรวจสอบค่าร้อยละการหดตัวเชิงเส้นหลังเผาซินเตอร์ของเซรามิก BNT ที่เจือด้วย Nd 2 O 3 จากตาราง 2 แสดงค่าร้อยละการหดตัวเชิงเส้นของเซรามิก BNT ที่เจือด้วย Nd 2 O 3 พบว่า เซรามิก BNT ที่เจือด้วย Nd 2 O 3 ในทั้ง 4 อัตราส่วนมีช่วงของการหดตัวเชิงเส้นอยู่ที่ร้อยละ 42 ถึง 48 และชิ้นงานเซรามิกมีค่าร้อยละการหดตัวเชิงเส้น สูงสุด จะเห็นว่าค่าร้อยละการหดตัวเชิงเส้นหลังเผาซินเตอร์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามอุณหภูมิซินเตอร์ ทั้งนี้เนื่องจากกระบวนการ ซินเตอร์นั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการถ่ายโอนมวลสาร โดยกระบวนการนี้จะใช้พลังงานขับ เพื่อทําให้เกิดการแพร่ใน กระบวนการซินเตอร์ขึ้น ซึ่งเกิดจากการกระโดดของตําแหน่งแลตทิชหนึ่งไปยังอีกแลตทิชหนึ่ง และอะตอมจะต้องมีพลังงานมาก พอที่จะสามารถข้ามพลังงานขวางกั้นไปได้ ตารางที่ 2 แสดงค่าความหนาแน่น ค่าร้อยละการหดตัวเชิงเส้น และขนาดเกรนโดยเฉลี่ยของเซรามิก BNT/xNd Nd content (wt%) Relative density (%) Linear shrinkage (%) Grain size (  m) 0.5 92.38  2.14 42.55  2.63 8.68  2.17 1 96.495  2.29 44.06  0.49 5.95  1.45 1.5 96.83  0.34 47.83  0.54 3.81  0.49

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3