Proceeding2562
1286 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ผลการวิจัยและอภิปรายผลการวิจัย 1. ความต้านทานต่อแรงดึงและระยะยืด ณ จุดขาด จากการแปรปริมาณอัตราส่วนของ CA/ZnCl 2 ที่ 100/0, 97/3, 95/5 และ 90/10 (ภาพที่ 1ก และ 1ข) พบว่า ค่าความทนต่อแรงดึงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อมีการเพิ่มสัดส่วนของ ZnCl 2 ค่าความทนต่อแรงดึง CA/ZnCl 2 มีค่าสูงสุดที่ 5%ZnCl 2 ที่อัตราส่วน 95/5 และเมื่อเพิ่มปริมาณ 10%ZnCl 2 ที่อัตราส่วน 90/10 ทาให้ค่าความทนต่อแรงดึงลดลง หาก ทาการเปรียบเทียบกับ CA (80/20) ค่าความทนต่อแรงดึงของ CA/ZnCl 2 มีต่ากว่า อาจเนื่องมาจากเมื่อการเติม ZnCl 2 ใน ปริมาณเพิ่มขึ้นทาให้เกิดการรวมตัว (agglomeration) ของ ZnCl 2 และการขึ้นรูปด้วยวิธี Solvent casting technique ทาให้ ZnCl 2 ที่เติมลงไปสามารถละลายน้าได้แพร่ออกมาบางส่วนทาให้ชิ้นงานเกิดรูพรุนซึ่งยืนยันได้จากภาพ SEM ดัง แสดงจากภาพที่ 2 ทาให้ค่าความทนต่อแรงดึงลดลง ส่วนระยะยืด ณ จุดขาด ของ CA/ZnCl 2 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เมื่อเพิ่ม ปริมาณ ZnCl 2 เพิ่มขึ้น และมีค่าใกล้เคียงกับ CA ภาพที่ 1 สมบัติเชิงกลของ CA/ZnCl 2 (ก) ความต้านทานต่อแรงดึง (ข) ระยะยืด ณ จุดขาด 2. ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของ CA/ZnCl 2 จากภาพ SEM ดังแสดงในภาพที่ 2 พบว่า พื้นผิวของชิ้นงานมีลักษณะเรียบอย่างสม่าเสมอ ไม่มีการแยกเฟส ระหว่าง CA และ ZnCl 2 แผ่นฟิล์ม CA/ZnCl 2 เมื่อมีการเติม ZnCl 2 ในปริมาณที่เพิ่มขึ้น จานวนรูพรุนที่เกิดขึ้นบนพื้นผิว มากขึ้น ซึ่งลักษณะรูพรุนจะมีขนาดที่แตกต่างกัน การเกิดรูพรุนอธิบายได้จากการขึ้นรูปฟิล์มบางด้วยวิธีวิธี Solvent casting technique ซึ่งเป็นการเตรียมฟิล์มโดยละลายพอลิเมอร์ในตัวทาละลายที่เหมาะสม ทาให้ ZnCl 2 ที่ผสมใน CA บางส่วนหลุดออกมาจากพร้อมกับตัวทาละลาย (DMF) เข้าสู่อ่างน้า ทาให้เกิดรูพรุน [10] จานวนรูพรุนที่เกิดขึ้นมีผลต่อ สมบัติเชิงกลดังแสดงในภาพที่ 1 (ก) (ข)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3