Proceeding2562

1290 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สมบัติกายภาพและการยับยั้งเชื้อรา Aspergillus Niger ของอนุภาคนาโนซิงก์ออกไซด์ บนเครื่องจักสานจากกระจูด ฉัตร ผลนาค 1* กุลนันทน์ สุขสม 2 จิดาภา คงบุญ 2 มณฑล เลิศวรปรีชา 3 และสุเมธา สุวรรณบูรณ์ 4 บทคัดย่อ บทน�ำ : เชื้อรา Aspergillus Niger ชอบเจริญเติบโตบนผลิตภัณฑ์ที่ท�ำจากเซลลูโลส ซึ่งสามารถก่อความเสียหายให้กับผลิตภัณฑ์ จักสานอย่างมากในช่วงฤดูฝน วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของอนุภาคนาโนซิงก์ออกไซด์ต่อการยับยั้งเชื้อรา Aspergillus Niger บน ผลิตภัณฑ์จักสานจากกระจูดของชุมชนทะเลน้อย วิธีการศึกษา : สังเคราะห์อนุภาคนาโนซิงก์ออกไซด์ด้วยวิธีเคมีอย่างง่ายบนพื้นฐานของกรรมวิธีสีเขียว โดยใช้ซิงก์อะซีเตทไดไฮเดรต (Zn(CH 3 COO) 2 ·2H 2 O) ที่ความเข้มข้น 0.05 M 0.1 M และ 0.2 M เป็นสารตั้งต้น และโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) ความเข้มข้น 0.2 M รวมทั้งใช้ไคโตซาน (MW4000) ปริมาณ 1.25 g และ 2.5 g เป็นตัวยึดเกาะ สารตัวอย่างที่สังเคราะห์ได้ถูกวิเคราะห์สมบัติ ทางกายภาพด้วยเทคนิค XRD FE-SEM และ EDS รวมทั้งทดสอบการยับยั้งเชื้อราด้วยวิธีการ disk diffusion ผลการศึกษา : เมื่อตรวจสอบสัณฐานวิทยาจากภาพถ่ายระดับจุลภาคเผยให้เห็นอนุภาคขนาดนาโนกระจายอยู่ที่บริเวณผิวและภายใน ไคโตซานและบางตัวอย่างถูกห่อหุ้มในแมทริกซ์ของไคโตซาน ตัวอย่างที่เตรียมด้วยสารละลาย Zn(CH 3 COO) 2 ความเข้มข้น 0.05 M แสดงเฟสโครงสร้างแบบผสมของ hexagonal wurtzite ZnO และ chitin โดยปรากฏพีคสเปกตรัมการเลี้ยวเบนของ ZnO อย่าง ชัดเจน แต่เมื่อความเข้มข้นของสารละลาย Zn(CH 3 COO) 2 เพิ่มขึ้น (0.1 M และ 0.2 M) พีคสเปกตรัมของ ZnO จะลดลงและไม่เด่นชัด ยิ่งไปกว่านั้น ตัวอย่างที่เตรียมด้วยอัตราส่วนโดยน�้ำหนักของ Zn(CH 3 COO) 2 :chitosan เท่ากับ 1:0.3 มีประสิทธิภาพยับยั้งเชื้อรา Aspergillus Niger ได้สูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับตัวอย่างอื่นและเคมีภัณฑ์ป้องกันเชื้อราในท้องตลาด ภายใต้สภาวะแวดล้อมสามารถ ป้องกันเชื้อราได้นานกว่า 20 วัน วิจารณ์และสรุป : งานวิจัยนี้สามารถสังเคราะห์อนุภาคนาโนซิงก์ออกไซด์ที่มีประสิทธิภาพสามารถป้องกันเชื้อรา Aspergillus Niger บนผลิตภัณฑ์จักสานจากกระจูดของชุมชนทะเลน้อยได้อย่างมีประสิทธิผล ค�ำส�ำคัญ : นาโนซิงก์ออกไซด์ ไคโตซาน ผลิตภัณฑ์จักสาน กระจูด กรรมวิธีสีเขียว 1 ผศ.ดร., สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง พัทลุง 93210 2 นร., โรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม โครงการ วมว.-ม.ทักษิณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ พัทลุง 93210 3 ผศ.ดร., สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง พัทลุง 93210 4 รศ.ดร., ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวัสดุ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ สงขลา 90110 1 Assist. Prof. Dr., Department of Physics, Faculty of Science, Thaksin University, Phatthalung, 93210, Thailand 2 Student, Phapayompitayakom School, Sci-US, Faculty of Science, Thaksin University, Phatthalung, 93210, Thailand 3 Assist. Prof. Dr., Department of Biology, Faculty of Science, Thaksin University, Phatthalung, 93210, Thailand 4 Assoc. Prof. Dr., Department of Science and Material Technology, Faculty of Science, Prince of Songkla University, Songkhla, 90110, Thailand * Corresponding authors: Tel.: 074609600 ext. 2453, E-mail: chat@tsu.ac.th

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3