Proceeding2562
1292 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน บทนํา หัตถกรรมสานเสื่อกระจูดและแปรรูปผลิตภัณฑจากกระจูดของชุมชนทะเลนอย อําเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง มีประวัติ การทําหัตถกรรมจักสานกระจูดมานานจนมีชื่อเสียงเปนที่รูจักและนํามาใชประโยชนกันอยางแพรหลาย ถึงแมกระจูดจะพบอยูใน แหลงน้ําธรรมชาติทางภาคใตเปนจํานวนมาก แตจะมีบางพื้นที่เทานั้นที่ประชาชนในทองถิ่นรวมกลุมกันนํามาใชประโยชนและ ถายทอดความรูภูมิปญญาการแปรรูปผลิตภัณฑจักสานจากกระจูดสืบทอดตอกันมาจากรุนสูรุนจนถึงปจจุบัน ซึ่งทางภาครัฐได สงเสริมและสนับสนุนใหชาวบานมีสินคาในโครงการหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑหรือสินคา OTOP ชาวบานชุมชนทะเลนอยจึง รวมกลุมกันสรางสรรคผลิตภัณฑเครื่องจักสานจากกระจูด ซึ่งมีรูปแบบที่เปนเอกลักษณประจําจังหวัดพัทลุง อีกทั้งมีความแข็งแรง ทนทานและดํารงความเปนเอกลักษณของชุมชน ทําใหผลิตภัณฑจักสานจากกระจูดของชุมชนทะเลนอย ไดผานการคัดสรรคเปน ผลิตภัณฑระดับ 3-4 ดาว มีการจัดสงจําหนายทั้งในประเทศและสงออกตางประเทศ สรางรายไดใหกับชาวบานกลุมเกษตรกรและ กลุมอาชีพหัตถกรรมกระจูดของชุมชนทะเลนอยเปนอยางมาก แตเนื่องจากสภาพภูมิอากาศรอนชื้นทางภาคใตของประเทศไทย โดยพื้นที่สวนใหญมีฝนตกชุกและมีความชื้นในอากาศสูง ทําใหสินคาหัตถกรรมจักสานจากกระจูด ซึ่งเปนผลิตภัณฑจากธรรมชาติที่ มีเซลลูโลสเปนองคประกอบหลัก เมื่อเก็บไวในสภาพแวดลอมที่อับชื้นหรืออากาศถายเทไมสะดวก มักจะขึ้นราไดงาย จากการลง พื้นที่สํารวจขอมูลพบวาผลิตภัณฑจักสานของชุมชนประสบปญหาขึ้นรามาโดยตลอด แมวาจะตากวัตถุดิบจนแหงแลวก็ตาม มักเกิด เชื้อราบนผลิตภัณฑทําใหสินคาดอยคุณภาพ เสียหายจนถึงจําหนายไมได ชาวบานจึงปองกันการเกิดความเสียหายของสินคาบาง ประเภทโดยใชสารเคมีปองกันเชื้อรา ทําใหตนทุนของสินคาสูงขึ้นและผลิตภัณฑจักสานสูญเสียความยืดหยุน รวมทั้งความไม ปลอดภัยจากการสัมผัสกับสารเคมีโดยตรง เมื่อวิเคราะหตนทุนการผลิตและประสิทธิภาพแลว นาโนซิงคออกไซดนั้นไดมีการศึกษาเกี่ยวกับการตานเชื้อจุลชีพกอโรค และสามารถยับยั้งเชื้อราหลายประเภท โดยกลไกการออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อจุลินทรียเกิดจากการเหนี่ยวนําใหเกิดอนุมูลอิสระหรือ Reactive-oxygen species (ROS) ขึ้นที่ผิวนาโนซิงคออกไซด [1] มักเกิดขึ้นรวมกับกลไกการเรงปฏิกิริยาดวยแสง (catalysis) กอใหเกิดไอออนอิสระ OH - , O 2 - , HO 2 - และ H 2 O 2 หลุดออกจากผิวนาโนซิงคออกไซด ไอออนอิสระเหลานี้จะแทรกซึมเขาสูเยื่อผนัง เซลลของจุลินทรีย ทําใหเชื้อจุลินทรียหยุดเจริญเติบโตและตายในที่สุด [2, 3] ซึ่งอนุภาคนาโนซิงกออกไซดมีราคาตนทุนถูก เตรียม งายดวยวิธีที่หลากหลาย มีประสิทธิภาพสูงและเปนมิตรกับสิ่งแวดลอม จึงปลอดภัยกวาเมื่อเทียบกับเคมีภัณฑในทองตลาด อนุภาค นาโนซิงกออกไซดนี้เปนตัวเลือกที่เหมาะสมที่จะนํามาใชศึกษาประสิทธิภาพการตานเชื้อราที่ขึ้นบนผลิตภัณฑจักสานจากกระจูด ของชุมชนทะเลนอย ดังนั้นผลิตภัณฑจักสานจากกระจูดไดรับการปองกันใหปราศจากเชื้อราโดยอาศัยเทคโนโลยีดานวัสดุนาโนซิ งคออกไซด จะสามารถรักษาคุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ อีกทั้งลดความเสียหายของผลิตภัณฑจากเชื้อราไดอยางคุมคา วิธีดําเนินการ Zn(CH 3 COO) ⋅ 2H 2 O (99%, Ajex Finechem) NaOH (99%, Emsure) และไคโตซาน (Mw. 4000, ((C 8 H 13 NO 5 ) n ) ถูก นํามาใชเปนสารตั้งตนในการสังเคราะห ZnO NPs ดวยกรรมวิธีสีเขียว โดยการปรับเปลี่ยนปริมาณสารตั้งตนของ Zn(CH 3 COO) 2 ⋅ 2H 2 O 1.0975 g (0.05 M), 2.195 g (0.1 M), 4.390 g (0.2 M) และปริมาณไคโตซาน 0.125 g และ 0.25 g ผสม กันที่อัตราสวนโดยน้ําหนัก (w/w) ของ Zn(NO 3 ) 2 :chitosan เทากับ 1:0.03, 1:0.06, 1:0.09, 1:0.1, 1:0.2 และ 1:0.3 (ตัวอยางที่ C1-C6) เริ่มจากการชั่งไคโตซานน้ําหนัก 0.125 g และ 0.25 g ใสลงไปในบีกเกอรที่บรรจุกรดอะซีติก (2%) ปริมาตร 100 mL นําไปวางบน hotplate-stirrer (ยี่หอ IKA รุน C-MAG HS7) คนอยางตอเนื่องภายใตอุณหภูมิหองเปนเวลา 1 ชั่วโมง จนกระทั่งได เจลไคโตซาน ตอมานํา Zn(CH 3 COO) ⋅ 2H 2 O ไปละลายในสารละลาย NaOH (0.2 M) ปริมาตร 100 mL แลวนําไปผสมกับไคโต ซานเจล คนชาๆ อยางตอเนื่องเปนเวลา 15 ชั่วโมง หลังจากนั้นหยดสารละลาย NaOH ทีละหยด จนกระทั่งสารละลายผสมมีคา pH เทากับ 9 เกิดคอลอยดสีขาวขุน นําคอลอยดไปกรองพรอมกับลางตะกอนดวยน้ํา DI และ ethanol หลายๆ ครั้ง แลวนําไปอบ ที่อุณหภูมิ 105 ° C นาน 15 ชั่วโมง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3