Proceeding2562

1530 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 88.24) และยาใช้ภายนอก จานวน 4 ตารับ (ร้อยละ11.76) พบตารับยารักษาโรคโลหิตสตรีมากที่สุด 8 ตารับ โรคโลหิตสตรี เป็นกลุ่มโรคที่เกิดในผู้หญิง โดยจะมีอาการประจาเดือนที่มีการผิดปกติไป เช่น เป็นลิ่มเป็นก้อน มีกลิ่นคาว ประจาเดือนมาไม่ สม่าเสมอ ปวดท้องประจาเดือน ประจาเดือนมามาก ประจาเดือนขาด เป็นต้น พบว่ากลุ่มโรคข้างต้นเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยใน สตรีวัยเจริญพันธุ์ และรองลงมาพบตารับยารักษาโรคในเด็ก 6 ตารับ เช่น ตารับยารักษาโรคตานขโมย ซึ่งก็คือโรคติดเชื้อพยาธิ ทาให้เด็กมีพัฒนาการช้า ผอมแห้ง ท้องโต และตารับยาแก้ซาง คืออาการมีเม็ดขึ้น เป็นแผลในปาก เป็นแผลเปื่อย เป็นต้น จาแนกตารับยาตามรูปแบบของการปรุงยา ได้ดังนี้ ยาต้ม 17 ตารับ (ร้อยละ 50) รองลงมาเป็นรูปแบบยาผง 10 ตารับ (ร้อยละ 29.41) ยาดอง 2 ตารับ (ร้อยละ 5.88) ยาขี้ผึ้ง ยาลูกกลอน ยาเม็ด ยากวน และยาชง ประเภทละ 1 ตารับ (ร้อยละ 2.94) การต้มเป็นวิธีการปรุงยาที่หมอทั้ง 2 ท่านนิยมใช้ อาจเนื่องจากสามารถทาได้ง่าย และรวดเร็ว อีกทั้งการต้มเป็น รูปแบบที่สามารถสกัดให้สารสาคัญที่ใช้ในการรักษาออกมาได้มากที่สุด 4. ข้อมูลตัวอย่างสมุนไพร สามารถเก็บรวบรวมตัวอย่างสมุนไพรที่หมอพื้นบ้านทั้ง 2 ท่าน ใช้ในการรักษาโรคได้ทั้งสิ้น 99 ชนิด แบ่งเป็น พืช วัตถุ 82 ชนิด สัตว์วัตถุ 8 ชนิด และธาตุวัตถุ 9 ชนิด แหล่งที่มาของสมุนไพรพบว่าส่วนใหญ่หมอพื้นบ้านจะใช้สมุนไพรที่ปลูกใน บริเวณรอบบ้าน เนื่องมาจากมีความสะดวกต่อการนามาใช้ปรุงยา เพราะหมอพื้นบ้านเองมีอายุมากแล้ว อาจไม่สะดวกในการ หาสมุนไพรตามแหล่งป่าเขา จากตัวอย่างพืชวัตถุที่เก็บรวบรวมได้จานวน 82 ชนิด แบ่งกลุ่มพืชสมุนไพรตามลักษณะวิสัย พบไม้ล้มลุกมากที่สุด จานวน 27 ชนิด (ร้อยละ 33) รองลงมาเป็นไม้ยืนต้น 16 ชนิด (ร้อยละ 20) และไม้พุ่ม 15 ชนิด (ร้อยละ 18) สอดคล้องกับ งานวิจัยของจันทรเพ็ญ ธรรมพร เกศริน มณีนูน นิสิตา บารุงวงศ และมาลินี วงศนาวา [5] เรื่องการใช้พืชสมุนไพรรักษาโรคตับ ของหมอพื้นบ้านจังหวัดสงขลา ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะวิสัยของพืชสมุนไพรแบ่งได้ 4 กลุ่ม คือ ไม้ล้มลุก 32 ชนิด ไม้ยืนต้น 24 ชนิด ไม้พุ่ม 19 ชนิด และไม้เถา 12 ชนิด พืชวัตถุสามารถระบุชนิด (Identify) ได้ทั้งหมด จานวน 82 ชนิด 71 สกุล 41 วงศ์ โดยวงศ์ที่พบมากที่สุด 4 อันดับ แรก คือ Zingiberaceae 8 ชนิด (ร้อยละ 10) Fabaceae และ Poaceae วงศ์ละ 7 ชนิด (ร้อยละ 9) Solanaceae วงศ์ละ 5 ชนิด (ร้อยละ 6) Arecaceae และ Cucurbitaceae วงศ์ละ 4 ชนิด (ร้อยละ 5) วงศ์ Zingiberaceae เป็นวงศ์พืชที่ใหญ่ พบ การกระจายหนาแน่นที่ประเทศไทย มาเลเซีย ชวา และมีการใช้เป็นเครื่องเทศในการประกอบอาหาร ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัย ของซาลายา กูนิง และคณะ [6] เรื่องการสารวจภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรจากหนังสือบุดขาวของหมอวงศ์ พิมพ์ท่าทอง อาเภอ บ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบสมุนไพรที่มีการใช้รักษาโรคมากที่สุด คือ ขมิ้นอ้อย ขิง ซึ่งอยู่ในวงศ์ Zingiberaceae หมอพื้นบ้านนาส่วนของใบมาใช้ในการรักษาโรคมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 21 รองลงมาคือ ส่วนรากคิดเป็นร้อยละ 12 ทั้งต้นและส่วนเหง้า แต่ละส่วน คิดเป็นร้อยละ 11 เนื่องจากใบเป็นส่วนที่หาง่าย มีวิธีการเก็บที่ไม่ยุ่งยาก สะดวกต่อการเก็บ ซึ่ง หาได้ในทุกฤดู ส่วนรากพบว่าเป็นส่วนที่มีสารสาคัญมากจึงทาให้หมอพื้นบ้านใช้รากในการรักษาโรค จาแนกตามรสยาของสมุนไพรได้ 10 รส โดยรสยาที่พบมากที่สุด 4 อันดับแรก คือ รสเผ็ดร้อน 18 ชนิด (ร้อยละ 20 ) รองลงมาคือ รสขม 17 ชนิด (ร้อยละ 19 ) รสเมาเบื่อ 15 ชนิด (ร้อยละ 17 ) และรสหอมเย็น 12 ชนิด (ร้อยละ 14 ) ตัวอย่าง พืชสมุนไพรที่ได้เก็บรวบรวมจากหมอทั้ง 2 ท่าน มีการใช้ซ้ากัน ทั้งหมด 8 ชนิด คือ กะเพราแดง ขมิ้นอ้อย ตะไคร้ พลู มะละกอ มหาหิงค์ ว่านน้า และหอมแดง สรุปผลการวิจัย หมอจรูญ ชูจันทร์ และหมอสนิท ถาพรมีประสบการณ์ในการณ์รักษามาเป็นเวลากว่า 33 ปี สืบทอดองค์ความรู้มา จากบิดา กระบวนการรักษาเริ่มจากซักประวัติและตรวจร่างกาย รักษาผู้ป่วยด้วยยาตารับร่วมกับการใช้คาถา หมอจรูญมีความ ชานาญในการรักษาโรคเริม โรคหอบ โรคตาแดง หมอสนิทมีความชานาญในการรักษาโรคเริม โร คเชื้อรา โรคซาง มีการใช้ สมุนไพรในรูปแบบยาตารับ 34 ตารับ ส่วนใหญ่เป็นยาที่ใช้ภายใน ปรุงยาโดยการต้ม รวบรวมสมุนไพรที่หมอพื้นบ้านใช้ได้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3