Proceeding2562

1571 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การสร้างและพัฒนาหลักสูตรการเป็นผู้จัดการรายกรณีส�ำหรับอาสาสมัครสาธารณสุข ในการดูแลคนพิการสูงอายุในชุมชน พิมพวรรณ เรืองพุทธ 1* วรัญญา จิตรบรรทัด 1 สุพัตรา สหายรักษ์ 2 และวัฒนา วาระเพียง 3 บทคัดย่อ บทน�ำ : ความพิการส่งผลต่อคุณภาพชีวิตท�ำให้คนพิการไม่สามารถด�ำรงชีวิตได้เทียบเท่าคนปกติ ไม่สามารถเข้าถึงระบบบริการ ทางการแพทย์ท�ำให้ขาดการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพได้อย่างต่อเนื่องและเหมาะสม ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตลดลงรวมไปถึงการ เป็นภาระต่อญาติหรือผู้ดูแล อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เป็นคนในพื้นที่ของชุมชนที่มีความเข้าใจในบริบทของพื้นที่ และเป็นส่วน ส�ำคัญในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน การพัฒนาหลักสูตรการเป็นผู้จัดการรายกรณีส�ำหรับ อสม. ในการดูแลคนพิการสูงอายุในชุมชน จะเป็นแนวทางในการจัดการระบบบริการดูแลคนพิการที่มีกรอบแนวคิดพื้นฐานจากการดูแล เชิงจัดการ (managed care) วัตถุประสงค์ : เพื่อสร้างและพัฒนาหลักสูตรการเป็นผู้จัดการรายกรณีในการดูแลคนพิการสูงอายุในชุมชนส�ำหรับ อสม. วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงการพัฒนา โดยด�ำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาความต้องการจ�ำเป็นและแนวทางการพัฒนา หลักสูตรการจัดการรายกรณีคนพิการสูงอายุตามบริบทวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) สร้างหลักสูตรการเป็นผู้จัดการรายกรณีใน การดูแลคนพิการสูงอายุในชุมชน ภาคทฤษฎีจ�ำนวน 12 ชม. และภาคปฏิบัติจ�ำนวน 72 ชม. 3) ทดลองใช้หลักสูตรและศึกษาผลการ ใช้หลักสูตรกับ อสม. จ�ำนวน 36 คน ให้ดูแลคนพิการสูงอายุในชุมชน จ�ำนวน 50 คน 4) ประเมินและปรับปรุงหลักสูตร เก็บรวม ข้อมูลโดยใช้กระบวนการกลุ่ม สัมภาษณ์เชิงลึก สังเกตการณ์ แบบประเมินความรู้และสมรรถนะของ อสม.ผู้จัดการรายกรณี ได้ค่า ความเชื่อมั่น KR-20 0.84-0.89 และความพึงพอใจของคนพิการสูงอายุและผู้ดูแล ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค .78-.84 วิเคราะห์ ข้อมูลด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t-test และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา IOC 0.67-1.00. ผลการศึกษา : พบว่าการสร้างและพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วย 1) ความต้องการจ�ำเป็นในการสร้างหลักสูตรผู้จัดการรายกรณีใน การดูแลคนพิการสูงอายุในชุมชนของ อสม. คือ ความรู้ในการดูแลคนพิการสูงอายุ ความสัมพันธ์เชิงเครือญาติในชุมชน การส่งเสริม ด้านสถานที่และสิ่งแวดล้อม การบริหารและจัดสรรงบประมาณการบริหารจัดการภาคีเครือข่าย การสื่อสารและการส่งต่อ 2) หลักสูตร การเป็นผู้จัดการรายกรณี เน้นบทบาทหลักการเป็นผู้จัดการรายกรณีใน 2 องค์ประกอบคือ ด้านความรู้ได้แก่ พื้นฐานในสิทธิของคน พิการสูงอายุ การประเมินและคัดกรองสุขภาพ การดูแลคนพิการสูงอายุ และด้านทักษะได้แก่ การสื่อสาร การประสานงานสามารถ ท�ำงานร่วมกับผู้อื่น ภาวะผู้น�ำสามารถบริหารจัดการตนเองและงานที่รับผิดชอบได้ 3) ผลการทดลองใช้หลักสูตรพบว่า อสม.มีความ รู้ในการเป็นผู้จัดการรายกรณีในการดูแลคนพิการสูงอายุในชุมชนหลังการอบรมสูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4) ประเมินผลการใช้หลักสูตรพบว่า อสม. มีสมรรถนะเพิ่มขึ้นทุกด้านภายหลังการอบรม (X=4.33, SD=0.54) โดยมี สมรรถนะมากที่สุดด้านความรู้พื้นฐานในสิทธิของคนพิการสูงอายุ (X=4.88, SD=0.34) ส่วนความพึงพอใจของคนพิการสูงอายุที่ได้ รับการดูแล และญาติผู้ดูแล อยู่ในระดับมาก (X=4.10, SD=0.71) และ (X=4.08, SD=0.66) ตามล�ำดับ วิจารณ์และสรุป : ควรน�ำหลักสูตรการเป็นผู้จัดการรายกรณีไปใช้ในการพัฒนา อสม.ในทุกพื้นที่ในการดูแลคนพิการสูงอายุในชุมชน ค�ำส�ำคัญ : อาสาสมัครสาธารณสุข, ผู้จัดการรายกรณี, คนพิการสูงอายุ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช 2 รพ.สต.บ้านเหมืองหัวทะเล 3 รพ.สต.บ้านทุ่งโหนด * ผู้ให้การติดต่อ :เบอร์โทรศัพท์ 081-0992779. e-mail: ying.pim@hotmail.com ผลงานนี้ไม่ได้มาน�ำเสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติฯ 9-10 พ.ค.62 จึงไม่สามารถน�ำไปอ้างอิงใดๆ ได้ในทุกกรณี

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3