Proceeding2562
1575 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน บริหารจัดการ ด้านการปฏิบัติการดูแลช่วยเหลือคนพิการสูงอายุ ลักษณะเป็นคาถามปลายปิด มีคาตอบให้เลือกแบบมาตรวัด ประเมินค่า ประกอบด้วย 5 ตัวเลือกคือสมรถนะระดับน้อยมาก ถึง สมรถนะระดับสูงมาก แปลผลใช้เกณฑ์สัมบูรณ์ (Absolute Criteria) ของ Best 1 คือ 4.5-5.0 สูงมาก 3.5-4.49 สูง 2.50-3.49 ปานกลาง 1.50-2.49 น้อย และ 1.00-1.49 น้อยมาก หาค่า ความเชื่อมั่น สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่า 0.84-0.87 เก็บรวบรวมข้อมูล โดย จัดอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ อสม.ตามหลักสูตร ระยะเวลาอบรมทั้งหมด 14 สัปดาห์ จานวน 84 ชม. ภาคทฤษฎีเป็นระยะเวลา 12 ชม. และภาคปฏิบัติ 72 ชม. เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการอบรม 2 ด้าน คือ ความรู้ความเข้าใจการเป็นผู้จัดการรายกรณีในการดูแลคนพิการสูงอายุในชุมชน และสมรรถนะในการปฏิบัติงานของ ผู้จัดการรายกรณี วิเคราะห์ข้อมูล โดยสถิติทดสอบที (t-test dependent) ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 4 ประเมินผลการใช้หลักสูตรในการดูแลคนพิการสูงอายุในชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1. แบบประเมินความพึงพอใจของคนพิการสูงอายุและผู้ดูแล เป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ผู้วิจัยได้ ทาการศึกษาเอกสารและกาหนดกรอบการประเมิน และนาเสนอแบบประเมินที่สร้างขึ้นเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาค่าดัชนี ความสอดคล้องซึ่งอยู่ระหว่าง 0.78-0.84 2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน เป็นแบบบันทึกสังเกตการปฏิบัติงานของ อสม.ในการเป็นผู้จัดการรายกรณีในการ ดูแลคนพิการสูงอายุในชุมชน แบบบันทึกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เก็บรวบรวมข้อมูล โดยประเมินความพึงพอใจของคนพิการสูงอายุและผู้ดูแล การนิเทศติดตามเยี่ยม การสะท้อนคิด และถอดบทเรียนรายกรณี วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยและการอภิปรายผลการวิจัย 1. ผลการศึกษาสถานการณ์ความจาเป็น และแนวทางการพัฒนาหลักสูตรการจัดการรายกรณีคนพิการสูงอายุ ตามบริบทวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น พบว่า ตาบลนาเคียนเป็นชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท มีประชากรจานวน 12,717 คน เป็น ชายจานวน 6,310 คน หญิงจานวน 6,407 คน นับถือศาสนาอิสลาม 97% ศาสนาพุทธ 3% ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ด้านการเกษตร มีสถานบริการสาธารณสุขในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 2 แห่ง คือ รพ.สต.บ้านทุ่งโหนด และ รพ. สต.บ้านเหมืองหัวทะเล มีคนพิการทุกประเภททั้งหมด 305 คน และเป็นคนพิการสูงอายุ จานวน 50 คน 1) ศึกษาบริบทของชุมชน จากการประชุมพูดคุย สัมภาษณ์ ถึงสถานการณ์สุขภาพและสิ่งแวดล้อมในชุมชนของคนพิการสูงอายุ ในการ ดาเนินงานได้มีการแบ่งกลุ่มสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องในชุมชน จานวน 3 กลุ่ม พบประเด็นดังนี้ 1.1) สมาชิกจากชมรมจิตอาสาดูแลคนพิการในชุมชน พบ 4 ประเด็น ดังนี้ (1) ประเด็นด้านความรู้ ควรมีการจัด อบรมพัฒนาทีมจิตอาสาและ อสม.เป็นประจาทุกปี เพื่อจะได้มีความรู้ที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งกับอาการของผู้ปุวย และ วิธีการที่ดูแล ให้สามารถตัดสินใจเลือกการนาความรู้ไปใช้กับคนพิการได้ตรงตามอาการ และจะได้พัฒนาศักยภาพการดูแล ควร มีการสนับสนุนด้านข่าวสารแก่ผู้พิการ ข้อมูลที่มาจากแหล่งเดียวกันเพื่อให้สื่อสารและเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน ควรมีคู่มือใน การดูแลคนพิการโดยเฉพาะผู้พิการที่ติดตียง หรือที่ต้องทากายภาพบาบัด และควรจัดให้มีเจ้าหน้าที่ ด้านสุขภาพมาให้ คาแนะนาว่าคนพิการแต่ละรายสามารถทางานประกอบอาชีพได้หรือไม่เพื่อให้ อสม.ได้ดาเนินการต่อ (2) ประเด็นด้านการ ปฏิบัติงาน พบว่า รพ.สต. ควรจัดอบรม อสม.ให้สามารถดูแลคนพิการอย่างต่อเนื่อง โดยจัด อสม.จานวน 2 คนดูแลคนพิการ จานวน 1 คนสาหรับคนพิการที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้หรือคนพิการที่ได้รับการดูแลเป็นพิเศษและบ่อยครั้ง และควรจัดให้ อสม.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3