Proceeding2562
1576 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 1 คนรับผิดชอบ 10 ครอบครัวโดยที่ไม่ทางานซ้าซ้อนเขตรับผิดชอบซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ชุมชนควรมีส่วนร่วมในการดูแล คนพิการเพื่อให้คนพิการได้ฟื้นฟูสภาพร่างกายและได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องในทุกด้านไม่ใช่เฉพาะด้านสุขภาพเพียงอย่าง เดียว (3) ประเด็นด้านงบประมาณ พบว่า อบต. ควรจัดงบประมาณในการช่วยเหลือคนพิการในการศึกษาด้านอาชีพที่ เหมาะสมกับคนพิการ และจัดหางานหรืออาชีพเสริม เช่น การทาสินค้าพื้นเมืองจาหน่าย เพื่อสร้างรายได้ให้คนพิการ ให้ สามารถอยู่รอดในสังคมได้ นอกจากนี้ควรสนับสนุนคนพิการในด้านความเป็นอยู่ อุปกรณ์ที่จา เป็นต่อการยังชีพ และควรจัด รถจักรยานยนต์ประจาหมู่บ้านให้ อสม.หรือทีมจิตอาสาสามารถนาไปใช้ในการติดต่อประสานงาน หรือไปเยี่ยมดูแลช่วยเหลือ คนพิการ (4) ประเด็นด้านผู้นาชุมชน ควรจัดกิจกรรมในโอกาสต่างๆที่คนพิการสามารถเข้าร่วม เพื่อคนพิการจะได้ลดความรู้สึก ว่าถูกทอดทิ้งจากชุมชน หน่วยงานต่างๆ และผู้นาชุมชนควรให้ความช่วยเหลือ ให้คาปรึกษา และดูแลคนพิการมากกว่าที่ เป็นอยู่ และควรจัดรถรับส่งคนพิการในการตรวจรักษาที่โรงพยาบาล 1.2) ผู้ดูแลคนพิการสูงอายุในชุมชน พบ 3 ประเด็น ดังนี้ (1) ประเด็นด้านความรู้ในการดูแลคนพิการสูงอา ยุ พบว่าคนพิการสูงอายุในชุมชนที่ติดเตียงไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ โดยส่วนใหญ่จะมีผู้ดูแลที่บ้านอย่างน้อย 1 คน ผู้ดูแลนี้ เป็นลูกหรือหลานของคนพิการ บทบาทหลักคือการช่วยเหลือกิจวัตรประจาวัน มี อสม.ไปสอบถามอาการบ้างเป็นบางครั้ง สิ่งที่ ยังขาดคือ การกายภาพบาบัดอย่างต่อเนื่อง จากการพูดคุยกับผู้ดูแลหลักที่บ้าน พบว่าผู้ดูแลไม่แน่ใจว่าอาหารที่ให้ครบตาม ความต้องการหรือไม่ กายภาพบาบัดต้องทาอย่างไรถึงจะเหมาะสม ทาให้คนพิการสูงอายุหลายๆคน มีกล้ามเนื้อลีบ ข้อติดแข็ง บางรายมีแผลกดทับจากการที่ไม่ได้พลิกตะแคงตัว บางรายเจาะคอต้องดูดเสมหะ บางรายต้องให้อาหารทางสายยาง ปัญหาที่ เกิดกับผู้ดูแลคือ ไม่แน่ใจว่าสิ่งที่ทาอยู่นั้นถูกต้องหรือไม่ อสม.ก็ไปเยี่ยมเป็นครั้งคราว ทาให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพคนพิการ สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ (2) ประเด็นความสัมพันธ์เชิงเครือญาติในชุมชน พบว่าลักษณะเด่นของชุมชนคือ มี ความผูกพันฉันท์เครือญาติ จึงมีการไปมาหาสู่เยี่ยมเยียนคนพิการสูงอายุบ่อยครั้ง ส่งผลทาให้คนพิการสูงอายุมีสภาพจิตใจดีขึ้น มีสีหน้ายิ้มแย้ม สดชื่น แต่ก็มีคนพิการสูงอายุบางส่วนที่คิดว่าตนเองเป็นภาระของครอบครัว โดยเฉพาะคนพิการสูงอายุที่เคย เป็นหัวหน้าครอบครัวมาก่อนมีความรู้สึกอายไม่อยากพบปะคนอื่น (3) ประเด็นการส่งเสริมด้านสถานที่และสิ่งแวดล้อม พบว่า การพาคนพิการสูงอายุออกไปเที่ยวนอกบ้านเป็นเรื่องยากมากสาหรับคนดูแล เนื่องจากสภาพถนนไม่เอื้ออานวยต่อการใช้ รถเข็น ส่วนใหญ่เคลื่อนย้ายจากในบ้านมานั่งหรือนอนหน้าบ้านหรือหลังบ้านซึ่งจะจัดทาเป็นพื้นที่เฉพาะเพื่อให้คนพิการได้ เปลี่ยนบรรยากาศ สาหรับคนพิการสูงอายุบางคนก็ไม่ได้ออกไปไหนเพราะการเคลื่อนย้ายเป็นการยากสาหรับคนดูแล สาหรับ สถานที่ในบ้านก็มีการดัดแปลงให้เหมาะกับผู้สูงอายุที่พิการ เช่น ห้องน้าต้องเป็นชัก โครก ทางต่างระดับถือเป็นปัญหา เหมือนกัน แก้ไขโดยการลาดเป็นสะพานเพื่อให้สามารถเข็นรถไปมาได้สะดวกขึ้น 1.3) ผู้นาชุมชน พบ 3 ประเด็น ดังนี้ (1) ประเด็นด้านบริหารจัดการและการจัดสรรงบประมาณ พบว่า งบประมาณของชุมชนโดยส่วนมามาจาก อบต.นาเคียน ซึ่งในแต่ละปีจะมีการประชาคมแต่ละหมู่บ้านว่าหมู่บ้านไหนต้องการ อะไรก่อนจัดสรรงบประมาณ ซึ่งมีงบประมาณของกิจกรรมด้านสาธารณสุขส่วนหนึ่ง รวมไปถึงประชาชนสามารถเขียนขอ งบประมาณไปที่ สานักงานหลักประกันสุขภาพได้ โดย อบต.จัดตั้งคณะกรรมจัดทาโครงการและสมทบงบประมาณให้ส่วนหนึ่ง เพื่อให้เกิดกิจกรรมสุขภาพในชุมชน สาหรับงบประมาณของผู้สูงอายุและคนพิการจะมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ และการดูแลคนพิการ โดย อสม.และกลุ่มจิตอาสาดูแลคนพิการในชุมชน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าในการประชาคมนั้นประชาชนใน หมู่บ้านอยากให้แก้ปัญหาด้านใดเป็นพิเศษ ก็จะยกประเด็นนั้นมาเป็นวาระพิจารณา ทาให้บางครั้งการจัดสรรงบประมาณไม่ได้ ทั่วถึงทุกกลุ่มของประชากร สาหรับการช่วยเหลือกลุ่มผู้สูงอายุ คนพิการ หรือผู้ปุวยโรคเรื้อรัง แกนนาในชุมชนมีมาตรการการ ช่วยเหลือ โดยโต๊ะอิหม่าม ผู้ใหญ่ กานัน หรือ อบต. ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดเลี้ยงน้าชาหารา ยได้เพื่อช่วยเหลือกลุ่มเหล่านี้เป็น รายบุคคล (2) ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชน พบว่าสิ่งแวดล้อมในชุมชนยังไม่เหมาะสมสาหรับผู้สูงอายุและคนพิการมากนัก แต่ทางหน่วยงานสาธารณสุขในหมู่บ้านก็พยายามผลักดัน เช่นการสร้างห้องน้าสาหรับคนพิการ หรือการสร้างศูนย์ดูแลคน พิการในการฝึกกายภาพบาบัด การสร้างถนนสายหลักในหมู่บ้านที่มีแสงส่องสว่าง แต่ทั้งนี้จากพื้นฐานเดิมของชุมชนเป็นชุมชน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3