Proceeding2562
1577 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เกษตรกร การตั้งบ้านเรือนในช่วงแรกตั้งในพื้นที่ของตนเอง ทาให้การจัดสรรพื้นที่สาธารณประโยชน์ยังไม่เป็นรูปธรรม ความ ต้องการจาเป็นในการสร้างหลักสูตรพัฒนา อสม.เป็นผู้จัดการรายกรณีในการดูแลคนพิการสูงอายุในชุมชน คือ ความรู้ในการ ดูแลคนพิการสูงอายุ ความสัมพันธ์เชิงเครือญาติในชุมชน การส่งเสริมด้านสถานที่และสิ่งแวดล้อม การบริหารและจัดสรร งบประมาณ การบริหารจัดการภาคีเครือข่าย การสื่อสารและการส่งต่อ 2) สารวจการช่วยเหลือตัวเอง ภาวะพึ่งพา และสภาพสิ่งแวดล้อม ของคนพิการสูงอายุ ในตาบลนาเคียน โดยใช้ แบบประเมินความสามารถในการทากิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐานของผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ Activities of Daily Living : ADL ได้ผลดังนี้ (1) คนพิการสูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพาโดยสมบูรณ์ จานวน 8 ราย (2) คนพิการสูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพารุนแรง จานวน 29 ราย (3) คนพิการสูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพาปานกลาง จานวน 13 ราย 2. ผลการนาข้อมูลที่ได้มาสังเคราะห์เพื่อให้ได้ประเด็นหลักสาคัญเกี่ยวกับบทบาทการเป็นผู้จัดการรายกรณี พบว่า การพัฒนาบทบาทและสมรรถนะหลักของ อสม.เป็นผู้จัดการรายกรณีในการดูแลคนพิการสูงอายุในชุมชน มี 2 องค์ประกอบ คือ ด้านความรู้ และด้านทักษะ ด้านความรู้ได้แก่ ความรู้พื้นฐานในสิทธิของคนพิการสูงอายุ ความรู้ในการประเมินและคัด กรองสุขภาพ ความรู้ในการดูแลคนพิการสูงอายุ ด้านทักษะได้แก่ทักษะในการสื่อสาร ทักษะในการประสานงานสามารถทางาน ร่วมกับผู้อื่น และทักษะภาวะผู้นาสามารถบริหารจัดการตนเองและงานที่รับผิดชอบได้ จึงได้นาสู่การจัดหลักสูตรการเป็น ผู้จัดการรายกรณีในการดูแลคนพิการสูงอายุในชุมชน โดยประกอบด้วย 1) ปรัชญาของหลักสูตร 2) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร 3) โครงสร้างของหลักสูตร 4) เนื้อหาของหลักสูตร 5) กิจกรรมการเรียนรู้ 6) ระยะเวลาในการใช้หลักสูตร 7) แหล่งการเรียนรู้ และ 8) การวัดประเมินผล คุณภาพของหลักสูตรภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก X=4.16, SD=0.49) เอกสารประกอบ หลักสูตรภาพรวมมีความเหมาะสมระดับมาก (X=4.31, SD=0.58) และความสอดคล้องของหลักสูตรและเอกสารประกอบ หลักสูตรมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.67-1.00 3. ผลการทดลองใช้หลักสูตรผู้จัดการรายกรณีในการดูแลคนพิการสูงอายุสาหรับ อสม. พบว่า 1) ด้านความรู้ พบว่า อสม.ที่ผ่านการอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติมีความรู้ในการเป็นผู้จัดการรายกรณี ในการดูแลคนพิการสูงอายุในชุมชน หลังการอบรมสูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 และ 2) ด้านสมรรถนะในการปฏิบัติงานของผู้จัดการราย กรณี พบว่า อสม.ที่ผ่านการอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ คิดเป็นร้อยละ 100 มีสมรรถนะหลังการอบรมเพิ่มขึ้นใน ภาพรวมทุกด้าน (X=4.33, SD=0.54) โดยมีสมรรถนะมากที่สุดด้านความรู้พื้นฐานในสิทธิของคนพิการสูงอายุ ( X=4.88, SD=0.34) และความรู้ในการประเมินคัดกรองภาวะสุขภาพ (X=4.78, SD=0.42) สมรรถนะด้านภาวะผู้นาและการบริหาร จัดการก่อนอบรมอยู่ในระดับน้อย (X=3.06, SD=1.37) มีสมรรถนะเพิ่มขึ้นหลังอบรมในระดับปานกลาง (X=3.66, SD=0.83) 4. ผลประเมินการใช้หลักสูตรผู้จัดการรายกรณีในการดูแลคนพิการสูงอายุในชุมชน พบว่าคนพิการสูงอายุและญาติ ผู้ดูแล มีความพึงพอใจหลังได้รับการดูแลในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( X=4.10, SD=0.71) และ (X=4.08, SD=0.66) ตามลาดับ โดยคนพิการสูงอายุมีความพึงพอใจด้านการปฏิบัติการดูแลช่วยเหลือคนพิการสูงอายุในระดับมาก ( X=4.26, SD=0.60) ผู้ดูแลมีความพึงพอใจระดับมากที่สุดด้านการปฏิบัติการดูแลช่วยเหลือคนพิการสูงอายุ (X=4.62, SD=0.53) จากผลการศึกษาเห็นได้ว่า อสม.ส่วนใหญ่ได้รับการพัฒนาความรู้ด้านการคัดกรองประเมินสุขภาพประชาชนใน ชุมชน เนื่องจากต้องทาหน้าที่เป็นตัวแทนของหน่วยบริการในการส่งเสริมสุขภาพประชาชนในพื้นที่ และมีส่วนสาคัญในการเข้า ไปมีส่วนร่วมในการจัดการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน จากการสัมภาษณ์และถอดบทเรียนพบว่า อสม.ยังขาดความรู้ ทักษะ และความมั่นใจในการดูแลคนพิการสูงอายุในชุมชน ดังนั้นการจัดหลักสูตรอบรมเป็นผู้จัดการรายกรณีให้กับ อสม.จะส่งผลให้ อสม.สามารถให้การดูแลคนพิการสูงอายุในชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง และได้รับการดูแลในทุกด้าน รวมถึงการส่งต่อข้อมูลเพื่อการ ดูแลต่อเนื่องไปยังหน่วยงานภายนอก ก่อให้เกิดการดูแลที่ครอบคลุมปัญหาหรือความต้องการที่หลากหลายมิติทั้งด้านสุขภาพ และด้านสังคม ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ผู้ดูแล อสม. และชุมชน มีความพึงพอใจ สอดคล้องกับการศึกษาของปิยนุช กิตติภูมิ เพชรไสว สมศักดิ์ จิราภรณ์ และคณะ 2 ที่พบว่าผู้ดูแล อสม. และผู้นาชุมชน มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ปุวยน้อย รวมทั้งผู้ดูแลไม่
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3