Proceeding2562

1578 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน มั่นใจในการดูแลผู้ปุวย ดังนั้น ความรู้ ความมั่นใจในการดูแลผู้ปุวยของผู้ดูแล และสุขภาพของผู้ดูแลจึงเป็นปัจจัยสาคัญที่ส่งผล กระทบต่อกระบวนการฟื้นฟูสภาพของผู้ปุวย และสอดคล้องกับการศึกษาของ พิมพวรรณ และวรัญญา 3 ที่พบว่า อสม.ส่วน ใหญ่มีระดับความรู้ในการดูแลคนพิการแบบองค์รวมในระดับปานกลางและด้านการประสานงานเครือข่ายพหุภาคีอยู่ในระดับ น้อย แต่การศึกษาของ ภิรญา สมสมัย และวรรณรัตน์ 4 พบว่าแม้ อสม.จะมีความรู้ในการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ก็ไม่อาจ รับประกันได้ว่า อสม.จะมีการปฏิบัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการได้เป็นอย่างดี หรือครบถ้วนตามบทบาทที่ได้รับ เนื่องจาก ความรู้อย่างเดียวไม่สามารถกระตุ้นให้บุคคลกระทาพฤติกรรมใหม่ขึ้นมาได้ กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนจะทาให้เกิดการ รวมกลุ่มคนพิการขึ้นตั้งเป็นชมรม ทาให้มีการวางแผนการขับเคลื่อนงานคนพิการร่วมกัน สาหรับการพัฒนา อสม.ให้เป็น ผู้จัดการรายกรณี มีข้อดี คือ เป็นการดาเนินงานเชิงรุกที่เน้นสมาชิกในชุมชนดูแลกันเอง ผ่านความสัมพันธ์ทางเครือญาติ ความ ใกล้ชิด บ้านใกล้เรือนเคียง รู้และเข้าถึงสภาพของคนพิการสูงอายุเป็นอย่างดี ทาให้สามารถให้การดูแลได้อย่างครอบคลุมทุกมิติ ทั้งนี้ต้องผ่านการให้ความรู้ในการดูแล และแนวทางการประสานงานกับหน่วยงานภายนอก สอดคล้องกับผลการศึกษาของสม จิต สุวัฒน์ วีรศักดิ์ จินตนา หร่อกีบ๊ะ และนุชรินทร์ 5 ที่พบว่าการพัฒนาระบบการดูแลคนพิการอย่างเป็นหุ้นส่วนทางด้าน สุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนส่งผลให้เกิดกระบวนการทางานร่วมกันระดับอาเภออย่างเป็นเอกภาพ และงานวิจัยของ รัชนี เบญจวรรณ และวรรณรัตน์ 6 ที่พบว่าการพัฒนาระบบการดูแลคนพิการโดยใช้ครอบครัวและชุมชนเป็นฐานทาให้เกิดการ ดูแลต่อเนื่องที่ไร้รอยต่อ และงานวิจัยของ พิมพวรรณ และวรัญญา 7 ที่พบว่ากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแล ผู้สูงอายุที่ต้องการการพึ่งพาในการทากิจวัตรประจาวันทาให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในการแก้ไขปัญหาและส่งต่อการสืบ ทอดการดูแลต่อเยาวชนรุ่นใหม่ แต่ทั้งนี้การพัฒนา อสม.ให้เป็นผู้จัดการรายกรณีก็ยังพบข้อจากัดคือ อสม. ไม่สามารถประเมิน ได้ว่าในการดูแลแบบองค์รวมของแต่ละกรณีนั้นเป็นอย่างไร เพราะคนพิการสูงอายุถึงแม้จะมีความต้องการขั้นพื้นฐาน เหมือนกัน แต่ในบริบทครอบครัวที่แตกต่างกันหรือการมีโรคประจาตัว ก็จะทาให้แนวทางการดูแบบเป็นผู้จัดการรายกรณีก็จะ แตกต่างกันด้วย ซึ่งประเด็นนี้สามารถแก้ไขได้โดยการลงเยี่ยมเป็นทีม คล้ายๆทีมหมอครอบครัว เบื้องต้นอาจเป็นทีมวิชาชีพที่มี ใน รพ.สต. เช่น พยาบาล นักกายภาพ ทันตาภิบาล แพทย์แผนไทย อสม.ที่เป็นผู้จัดการรายกรณี และตัวแทนด้านสิ่งแวดล้อม จาก อบต. เพื่อให้การดูแลคนพิการสูงอายุเป็นไปอย่างครอบคลุมทุกด้าน สรุปผลการวิจัย 1. ผลการศึกษาสถานการณ์ความจาเป็น และแนวทางการพัฒนาหลักสูตรการจัดการรายกรณีคนพิการสูงอายุ ตามบริบทวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น พบว่า ความต้องการจาเป็นในการสร้างหลักสูตรพัฒนา อสม.เป็นผู้จัดการรายกรณีใน การดูแลคนพิการสูงอายุในชุมชน คือ ความรู้ในการดูแลคนพิการสูงอายุ ความสัมพันธ์เชิงเครือญาติในชุมชน การส่งเสริมด้าน สถานที่และสิ่งแวดล้อม การบริหารและจัดสรรงบประมาณ การบริหารจัดการภาคีเครือข่าย การสื่อสารและการส่งต่อ 2. หลักสูตรการเป็นผู้จัดการรายกรณี เน้นบทบาทหลักการเป็นผู้จัดการรายกรณีใน 2 องค์ประกอบคือ ด้านความรู้ ได้แก่ พื้นฐานในสิทธิของคนพิการสูงอายุ การประเมินและคัดกรองสุขภาพ การดูแลคนพิการสูงอายุ และด้านทักษะได้แก่ การ สื่อสาร การประสานงานสามารถทางานร่วมกับผู้อื่น ภาวะผู้นาสามารถบริหารจัดการตนเองและงานที่รับผิดชอบได้ 3. ผลการทดลองใช้หลักสูตรพบว่า อสม.มีความรู้ในการเป็นผู้จัดการรายกรณีในการดูแลคนพิการสูงอายุในชุมชน หลังการอบรมสูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4. ประเมินผลการใช้หลักสูตรพบว่า อสม. มีสมรรถนะเพิ่มขึ้นทุกด้านภายหลังการอบรม (X=4.33, SD=0.54) โดย มีสมรรถนะมากที่สุดด้านความรู้พื้นฐานในสิทธิของคนพิการสูงอายุ (X=4.88, SD=0.34) ส่วนความพึงพอใจของคนพิการ สูงอายุที่ได้รับการดูแล และญาติผู้ดูแล อยู่ในระดับมาก(X=4.10, SD=0.71) และ (X=4.08, SD=0.66) ตามลาดับ ข้อเสนอแนะในการนาผลการวิจัยไปใช้ หลักสูตร การเป็นผู้จัดการรายกรณี ในการดูแลคนพิการสูงอายุ สามารถนาไปใช้ในการวางแผนการดาเนินงานของ หน่วยงานสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เพื่อพัฒนา อสม.ให้มีศักยภาพเป็นผู้จัดการ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3