Proceeding2562

1582 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 3 บทนา การบริหารงานในยุคปัจจุบันภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป ตามกระแสโลกาภิวัฒน์ ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถของผู้บริหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของประสิทธิภาพใน การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจากัด ซึ่งการบริหารองค์กรทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่จะต้องอาศัยทรัพยากร พื้นฐานที่มีความสาคัญทางการบริหารที่สาคัญ 4 ประการคือ เงิน บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ และวิธีการจัดการ หรือหลัก 4M’s รวมทั้งใช้ยุทธศาสตร์การบริหารเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพใน 2 เรื่อง คือ ใช้คนทางานเท่าเดิมแต่ได้งานมากขึ้น และคุณภาพของ งานต้องดีเท่าเดิมหรือดีกว่าเดิม หรือได้งานเท่าเดิมแต่ใช้คนทางานน้อยลง โดยคุณภาพของงานเท่าเดิมหรือดีกว่าเดิม ซึ่ง ใน องค์กรทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐที่มุ่งเน้นความพึงพอใจของผู้รับบริการ หรือภาคเอกชนที่มุ่งเน้นผลตอบแทนที่ เป็นกาไร ต่างก็มุ่งเน้นที่จะให้มีการใช้ประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากร โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์สูงสุดจากบุคลากรหรือเรียกอีก อย่างหนึ่งว่าทรัพยากรมนุษย์ ทรัพยากรมนุษย์เป็นสินทรัพย์ในองค์กร มีการกล่าวว่า “คน” เป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีการเสื่อมราคาลงตามระยะเวลา เหมือนทรัพย์สินอื่น เพราะคนมีมูลค่าในตนเอง และจะเพิ่มมากขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป ยิ่งนานวันก็จะพบว่าคนจะมีความรู้ ประสบการณ์ความสามารถที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และคนเหล่านี้จะเป็นกาลังสาคัญในด้านต่าง ๆ ขององค์กร เพราะถึงแม้ว่าองค์กร จะมีทุนมาก มีวัตถุดิบที่ดีและมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพียงใด ถ้าองค์กรขาดบุคลากรที่ขาดทักษะ ความรู้ ความสามารถ และเจต คติที่เหมาะสมแล้วก็อาจจะส่งผลทาให้การดาเนินงานขององค์กรขาดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ขาดศักยภาพในการ แข่งขันและการพัฒนา และประการสาคัญที่จะส่งผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรคือภาวะสุขภาพ ทั้งด้านร่างกายและ จิตใจ รวมไปถึงคุณภาพชีวิต ที่อาจจะส่งผลต่อศักยภาพในการปฏิบัติหน้าที่ทั้งต่อตนเองและต่อผู้อื่น ภาวะสุขภาพจิตเป็นเรื่องที่มีความสัมพันธ์กับการดาเนินชีวิตของบุคคล ที่เกี่ยวกับการมีสุขภาวะดี มีความผาสุก มีความ ตระหนักในศักยภาพของตนเอง สามารถจัดการกับความเครียดในชีวิต ทางานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งมี ส่วนร่วมในชุมชนและสังคม [1] ซึ่งจากสภาพการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน บุคคลจึงจาเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลง และปรับตัวตลอดเวลา เพื่อให้มีชีวิตอยู่ได้กับบุคคลที่อยู่ร่วมหรือเกี่ยวข้อง รวมถึงการประพฤติปฏิบัติตนเพื่อตอบสนองความ ต้องการของตนเอง โดยไม่ก่อความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและผู้อื่นในสังคม สามารถเผชิญและควบคุมสิ่งแวดล้อมได้ มีอารมณ์ มั่นคง ยอมรับความจริงที่เกิดขึ้น มีความสามารถในการทางานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะบุคลากรที่ทางานในองค์กรต่าง ๆ ที่ต้องปรับตัวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ในหลาย ๆ ด้าน หากบุคลากรไม่สามารถปรับตัวได้ ก็จะส่งผลต่อการเกิด ปัญหาสุขภาพจิต และส่งผลต่อการปฏิบัติงานต่อไป ทั้งนี้เพราะคนทางานทุกระดับในองค์กรถือเป็นทรัพยากรหลักและสาคัญ ในกระบวนการผลิต ฉะนั้นคุณภาพของกระบวนการและคุณภาพของผลผลิตย่อมขึ้นอยู่กับชีวิตที่มีคุณภาพ ของคนทางาน ที่ ต้องได้รับการเอาใจใส่ดูแลจากผู้บริหาร คุณภาพชีวิตมีบทบาทสาคัญในแง่ความผาสุกของมนุษย์ คุณภาพชีวิตเป็นสิ่งที่เกี่ยวกับสวัสดิการมนุษย์และความสุข [2] เป็นเกณฑ์หนึ่งที่คนทางานให้ความสาคัญและจัดอยู่ในระดับต้น ๆ ของการพิจารณาการคงอยู่ในองค์กรหรือการมาสมัครงาน กับองค์กร เพราะคนเห็นว่าการมีคุณภาพชีวิต ทาให้เขารู้สึกมีความพึงพอใจในงาน เช่น การได้รับค่าจ้างที่ยุติธรรม การมี สภาพแวดล้อมการทางานที่ปลอดภัยและสุขอนามัยดี และการมีคุณภาพชีวิต ทาให้เขามีความสนุกกับงานที่ได้รับมอบหมาย ซื่อสัตย์และรักองค์กร ดังนั้นคุณภาพชีวิตที่ดี นอกจากทาให้คนทางานอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังส่งผลต่อความผูกพันต่อ องค์กร เป็นแรงผลักดันให้บุคลากรในองค์กรปฏิบัติงานดีขึ้น และเป็นตัวเชื่อมระหว่างความต้องการของบุคค ลให้เกิดความ สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร บุคลากรจะมีความผูกพันต่องาน เห็นว่างานเป็นหนทางที่ตนเองจะสามารถก่อประโยชน์ ให้แก่องค์กรและบรรลุเป้าหมายได้ ที่สาคัญเป็นแรงจูงใจให้คนที่มีความสามารถเข้ามาทางานในองค์กรอีกด้วย [3] โดยองค์การ อนามัยโลก กล่าวว่า คุณภาพชีวิตของแต่ละบุคคลขึ้นอยู่กับบริบททางสังคม วัฒนธรรม และค่านิยม ในเวลานั้น ๆ และมี ความสัมพันธ์กับจุดมุ่งหมาย ความคาดหวัง และมาตรฐานที่แต่ละคนกาหนดขึ้น ซึ่งประกอบด้วย 4 มิติ ดังนี้ 1) มิติด้าน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3