Proceeding2562
1583 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 4 สุขภาพกาย (Physical) 2) มิติด้านสุขภาพจิต (Psychological) 3) มิติด้านความสัมพันธ์ทางสังคม (Social relationships) และ 4) มิติด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราชเป็นองค์กรภาครัฐที่สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวง สาธารณสุข มีพันธกิจหลัก 4 ด้าน คือ การผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม ทานุบารุงศิลปวัฒนธรรม เนื่อง ด้วยสถาบันพระบรมราชชนกกาลังอยู่ในช่วงการปรับเปลี่ยนสถานะเป็นมหาวิทยาลัยในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ทาให้การ บริหารจัดการจึงเกิดการปรับเปลี่ยน โดยเฉพาะบุคลากรสายสนับสนุนที่อาจได้รับผลกระทบของตาแหน่งการปฏิบัติงานที่ต้อง มีการปรับเปลี่ยน ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาถึงภาวะสุขภาพจิต และคุณภาพชีวิตของบุคลากรสายสนับสนุน ทั้งนี้เพราะคุณภาพ ชีวิตของบุคลากรในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไป โดยคุณภาพชีวิตได้ถูกบั่นทอนลง เนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม สภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ การมีอาชญากรรม ตลอดจนความตึงเครียดและความวุ่นวายสับสนของชีวิตสมัยใหม่ ซึ่งการที่จะ ทางานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ผู้บริหารจะต้องคานึงถึงคุณภาพชีวิตการทางานกับประสิทธิผลในการ ปฏิบัติงานเป็นสาคัญ เพราะจะทาให้บุคลากรมีความพึงพอใจในงานที่ตนเองได้ปฏิบัติ ย่อมจะทาให้เกิดขวัญและกาลังใจในการ ปฏิบัติงานด้วยความตั้งใจ และมุ่งหวังที่จะให้งานนั้น ๆ บรรลุผลสาเร็จ ซึ่งผลจากการศึกษาจะนาไปเป็นแนวทางในการพัฒนา เพื่อให้องค์กรมีความพร้อมสาหรับการปรับเปลี่ยนในการบริหารงานต่อไป วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพจิต ระดับคุณภาพชีวิต ของบุคลากรสายสนับสนุนที่ทางานในวิทยาลัยพยาบาล 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง อายุ ระยะเวลาในการทางาน กับภาวะสุขภาพจิต และคุณภาพชีวิต ของบุคลากร สายสนับสนุนที่ทางานในวิทยาลัยพยาบาล วิธีดาเนินการ การศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive study) มีการดาเนินการ ดังนี้ ประชากร คือ บุคลากรสายสนับสนุนที่ทางานในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช โดยมีเวลาทางาน มากกว่า 6 เดือน และทางานเต็มเวลาในช่วงที่เก็บข้อมูล คือ เดือนมกราคม 2562 จานวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) ข้อมูลส่วนบุคคลและการทางาน ประกอบด้วยข้อคาถาม 8 ข้อ คือ เพศ อายุ การศึกษา สถานภาพสมรส จานวนบุตร ลักษณะงาน สถานภาพการจ้างงาน ระยะเวลาทางาน 2) แบบสอบถามภาวะสุขภาพทั่วไป (GHQ) เป็นแบบคัดกรองปัญหาสุขภาพจิตที่พัฒนามาจาก GHQ ของ (Goldberg , 1972) [4] ชนิด 28 ข้อ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 อาการทางกาย ข้อ 1-7 กลุ่มที่ 2 อาการวิตกกังวล และนอนไม่หลับ ข้อ 8-14 กลุ่มที่ 3 ความบกพร่องทางสังคม ข้อ 15 – 21 และกลุ่มที่ 4 อาการซึมเศร้าที่รุนแรง ข้อ 22-28 โดยมีการให้คะแนน แบบ GHQ score (0-0-1-1) และมีการแปล คือใช้จุดตัดคะแนนต่า 5/6 โดยคะแนนตั้งแต่ 6 คะแนนขึ้น ไปถือว่าผิดปกติ 3) เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององคการอนามัยโลก ชุดย่อฉบับภาษาไทย (WHOQOL-BREF-THAI) ที่ สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุลและคณะ (2540) [5] ได้แปลและพัฒนาจากแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก 100 ข้อ มาเป็นแบบ วัดคุณภาพชีวิต จานวนข้อคาถาม 26 ข้อ โดยแบ่งออกเป็น 4 องค์ประกอบ คือ 1) ด้านร่างกาย 2) ด้านจิตใจ 3) ด้าน ความสัมพันธ์ทางสังคม และ 4) ด้านสิ่งแวดล้อม แบบสอบถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ มีการแปล ผล ดังนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3