Proceeding2562
1584 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 5 คุณภาพชีวิต ไม่ดี ปานกลาง ดี ด้านร่างกาย 7-16 17-26 27-35 ด้านจิตใจ 6-14 15-22 23-30 ด้านสัมพันธภาพทางสังคม 3-7 8-11 12-15 ด้านสิ่งแวดล้อม 8-18 19-29 30-40 คุณภาพชีวิตโดยรวม 26-60 61-95 96-130 การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วย ซึ่งในการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยแนะนาตัวกับผู้เข้าร่วมวิจัย และชี้แจงให้ทราบ ถึงวัตถุประสงค์ในการทาวิจัย แจ้งสิทธิ หากผู้เข้าร่วมวิจัยยินดีตอบรับการเข้าร่วมวิจัย ให้ลงลายมือชื่อยินยอมก่อนทา แบบสอบถาม ข้อมูลเป็นความลับและเสนอผลการวิจัยในภาพรวม หลังจากนั้นผู้วิจัยให้กลุ่มตัวทาแบบสอบถามด้ว ยตนเอง หากกลุ่มตัวอย่างคนใดมีข้อสงสัย สามารถซักถามผู้วิจัยได้ตลอดเวลา หลังจากนั้นผู้วิจัยตรวจสอบความเรียบร้อยของ แบบสอบถามก่อนที่จะนาไปวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป การวิเคราะห์ข้อมูล 1. ข้อมูลส่วนบุคคล สุขภาพจิต และคุณภาพชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน 2. ความสัมพันธ์ระหว่าง ระยะเวลาการทางาน อายุ ภาวะสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน สาหรับการพิจารณาค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ ใช้เกณฑ์ ดังนี้ .90 – 1.00 มีความสัมพันธ์กันสูงมาก .70 - .90 มีความสัมพันธ์กันในระดับสูง .50 - .70 มีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง .30 - .50 มีความสัมพันธ์กันในระดับ ต่า .00 - .30 มีความสัมพันธ์กันในระดับต่ามาก [6] ผลการวิจัยและการอภิปรายผลการวิจัย จากแบบสอบถามทั้งหมด 50 ชุด เมื่อผู้วิจัยได้ตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูล พบว่าทุกชุดมีความสมบูรณ์ ในการ นาเข้าเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล และผู้วิจัยนาเสนอผลการวิจัยออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ 1. ข้อมูลส่วนบุคคลของประชากร ผลการวิจัย พบว่า บุคลากรสายสนับสนุน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 35 คน (ร้อยละ 70.00) มีอายุ 41 – 60 ปี จานวน 32 คน (ร้อยละ 64.00) โดยอายุน้อยที่สุด คือ 24 ปี และอายุมากที่สุดคือ 70 ปี การศึกษาส่วนใหญ่ปริญญาตรี 19 คน (ร้อย ละ 38.00) รองลงมาคือประถมศึกษา 16 คน (ร้อยละ 32.00) ส่วนใหญ่แต่งงานและอยู่ร่วมกัน 23 คน (ร้อยละ 46.00) รองลงมาคือ สถานภาพโสด (ร้อยละ 32.00) มีบุตร 2 คนมากที่สุด จานวน 20 คน มีลักษณะงานส่วนใหญ่เป็นงานด้านการ บริการ 20 คน (ร้อยละ 40.00) รองลงมางานด้านสานักงาน 17 คน (ร้อยละ 34.00) ส่วนใหญ่มีสถานภาพการจ้างงานแบบ จ้างเหมา 20 คน (ร้อยละ 40.00) รองลงมาคือแบบประจา 16 คน (ร้อยละ 32.00) ระยะเวลาในการทางาน ส่วนใหญ่ตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป 29 คน (ร้อยละ 58.00) 2. ภาวะสุขภาพจิตและระดับคุณภาพชีวิตของบุคลากรสายสนับสนุน ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรสายสนับสนุนเกือบทั้งหมด ไม่มีปัญหาทางสุขภาพจิต ร้อยละ 94.00 โดยมีแนวโน้ม ที่จะมีปัญหาสุขภาพจิตเพียงร้อยละ 6.00 ดังตาราง 1 ส่วนระดับคุณภาพชีวิต พบว่า บุคลากรสายสนับสนุนทั้งหมดมีระดับ คุณภาพชีวิตทั้งโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลางถึงดี โดยส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับดี
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3