Proceeding2562
1586 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 7 ละฝ่าย จะช่วยส่งเสริมให้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความเอื้ออาทรต่อบุคคลอื่น โดยเฉพาะกับบุคลากรที่เพิ่งเข้ามาทางาน และด้วยสภาพครอบครัวที่มีความสมบูรณ์ทั้งด้านคู่สมรสและบุตร ดังจะเห็นได้ว่าบุคลากรฝ่ายสนับสนุนส่วนใหญ่แต่งงานและมี ครอบครัวที่อยู่ด้วยกัน (ร้อยละ 46.00) ที่จะคอยหนุนเสริมให้มีความแข็งแกร่งได้ ภายใต้สถานการณ์ในปัจจุบันที่ต้องดิ้นรน ปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง ส่งผลทาให้บุคลากรสายสนับสนุนทั้งหมดมีระดับคุณภาพชีวิตทั้งโดยรวมและรายด้านอยู่ใน ระดับปานกลางถึงดี คุณภาพชีวิตของบุคลากรสายสนับสนุนโดยรวมส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี (ร้อยละ 56.00) โดยด้านจิตใจอยู่ใน ระดับดีมากที่สุด (ร้อยละ 76.00) ทั้งนี้เนื่องด้วยที่บุคลากรส่วนใหญ่ทางานในบทบาทที่รับผิดชอบมานานมา 10 ปี ทาให้เกิด ความผูกพันในการทางาน การทางานมีความต่อเนื่อง เห็นการพัฒนาในงานจากประสบการณ์ที่เพิ่มมากขึ้น ทาให้มีการรับรู้ถึง ความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง เมื่อเห็นงานที่ตนเองรับผิดชอบประสบความสาเร็จ มีความมั่นใจในตนเองที่จะทางานต่อไป นอกจากนี้การที่วิทยาลัยมีกิจกรรมทางด้านศาสนา เช่น กิจกรรมเนื่องในวันสาคัญทางศาสนาต่าง ๆ กิจกรรมการเข้าค่ายธรรม มะ ซึ่งล้วนเป็นกิจกรรมที่ให้การให้ความหมายของชีวิต ส่งผลในทางที่ดีต่อการดาเนินชีวิต แต่ข้อสังเกตจากงานวิจัย พบว่า คุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อมนั้น บุคลากรสายสนับสนุนส่วนใหญ่มีระดับคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 68.00) ซึ่ง แตกต่างจากคุณภาพชีวิตในด้านอื่น ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมในปัจจุบันทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การทางานที่ ต้องมีการประเมินมากขึ้น และมีการแข่งขันกันมากขึ้นในสังคม การเดินทางจากบ้านมาทางานอาจจะลาบากขึ้น จากที่ทาง วิทยาลัยไม่ได้มีสวัสดิการด้านที่พักให้อย่างทั่งถึง อาจจะส่งผลให้บุคลากรรู้สึกได้ถึงความไม่ปลอดภัยและมั่นคงในชีวิต เพราะ มนุษย์เป็นทรัพยากรที่สาคัญ และเป็นต้นทุนทางสังคมที่มีคุณค่า การทางานในปัจจุบันทุกคนต้องเข้าสู่ระบบการทางานเพื่อ ได้มาซึ่งรายได้ในการเลี้ยงชีพและตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน เมื่อต้องทางานในระบบที่ทางานจึงควรมีสภาวการณ์ที่ เหมาะสม สอดคล้องกับเดสส์เลอร์ [8] กล่าวว่า ความพึงพอใจจากการทางานเกิดจากองค์ประกอบ 10 ประการ ได้แก่ คุณค่า ของงานที่ทา สภาพการทางานมีความปลอดภัยและมั่นคง ค่าตอบแทนและผลประโยชน์ที่เพียงพอ ความมั่นคงและ หลักประกันในการทางาน มีการควบคุมดูแลอย่างเหมาะสม ได้รับทราบผลการปฏิบัติงาน มีโอกาสในการเรียนรู้และก้าวหน้าใน งาน มีโอกาสได้รับความดีความชอบ มีสภาพสังคมที่ดี มีความเป็นธรรมและยุติธรรม ภาวะสุขภาพจิตมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ( r = .588, p < .01) ส่วนอายุ ระยะเวลาการทางาน ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิต ทั้งนี้เพราะคุณภาพชีวิตจะสูงหรือ จะต่าขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม บริบททางสังคม วัฒนธรรมและค่านิยมในเวลานั้น ๆ ขณะที่ตอบแบบประเมิน และมี ความสัมพันธ์กับจุดมุ่งหมาย และมาตรฐานที่กาหนดขึ้น กล่าวได้ว่าขึ้นอยู่กับสภาพจิตใจ ซึ่งแสดงออกมาในลักษณะของการคิด การรับรู้ การตระหนักในศักยภาพของตนเอง ความสามารถจัดการกับความเครียดในการทางาน การทางานได้อย่างมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งการได้มีส่วนร่วมกับชุมชน หากบุคคลมีภาวะสุขภาพจิตที่ดี ก็จะเกิดความพึงพอใจในการ ดาเนินชีวิตซึ่งก็คือการมีคุณภาพชีวิตที่ดี เมื่อมองในภาพรวมสาหรับองค์กร พบว่า ประสบการณ์ของการอยู่ดีมีสุขขององค์กร เช่น การสามารถบรรลุเป้าหมายและการประสบความสาเร็จเป็นผลพลอยได้จากการดาเนินนโยบายเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ กายและสุขภาพจิตของบุคลากรด้วย ดังที่ คัมมิ่งส์ และวอร์เลย์ [9] กล่าวว่าคุณภาพชีวิตการทางานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับ ความสุขในการทางาน เนื่องจากคุณภาพชีวิตในการทางานเป็นความรู้สึกพึงพอใจในงาน และมีสุขภาพจิตที่ดีที่บุคลากรได้รับ จากประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยใช้ผลตอบแทน ความปลอดภัยในการทางาน ความก้าวหน้า เป็นต้น มาเป็นตัววัด สรุปผลการวิจัย คุณภาพชีวิตมีปัจจัยพื้นฐานมาจากสภาพการดารงชีวิตที่ดี ซึ่งมีองค์ประกอบของตัวกาหนดคุณภาพชีวิตการทางานที่ เอื้อต่อการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งความรู้สึกที่เกิดจากความพึงพอใจในการทางาน และขวัญของผู้ปฏิบัติ อันเป็นปัจจัยที่ทาให้เกิด ประสิทธิภาพในการทางานของบุคลากร และองค์กรจะบรรลุเป้าหมายได้เพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความร่วมมือร่วมใจของ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3