Proceeding2562
1602 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 7 6. กระบวนการสรุปผลการดาเนินการ ในแต่ละโครงการนั้นนอกจากผู้รับผิดชอบจะเป็นแกนนาในการดาเนินการแล้ว ยังมีตัวแทนจากองค์การบริหารส่วน ตาบล และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบลเข้าร่วมดาเนินการ เพื่อช่วยเอื้อในเรื่องความรู้ สถานที่ และการประชาสัมพันธ์ โครงการ ผู้จัดทาโครงการต้องรายงานผลการดาเนินงานไปที่องค์การบริหารส่วนตาบลเป็นรายไตรมาส เมื่อครบปีงบประมาณ ทางองค์การบริหารส่วนตาบลจะจัดเวทีเผยแพร่กิจกรรมในแต่ละหมู่บ้าน 7. ผลจากกระบวนการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุ พบว่า 1) เกิดการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุที่ติดสังคม ก่อตั้งเป็นชมรมผู้สูงอายุ และเสนอกิจกรรมต่อ อบต. 2) มีกลุ่มจิต อาสาในการดูแลผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง โดยมีการจดบันทึกข้อมูลส่งต่อรพ.สต.เพื่อให้เกิดการดูแลอย่างต่อเนื่อง 3) ผู้สูงอายุ เข้าถึงบริการสุขภาพมากขึ้น 4) ชุมชนมีความตื่นตัวในการดูแลสุขภาพตนเองและสมาชิกในครอบครัวมากขึ้น การอภิปรายผลการศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน มีดังนี้ 1. วิธีการสร้างการมีส่วนร่วม พบว่า องค์การบริหารส่วนตาบลนาเคียนออกแผนพัฒนาประจาปี โดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน มี การหาและใช้ทุนทางสังคมทั้งทุนภายในและภายนอกชุมชนการศึกษาปัญหาความต้องการของชุมชน การออกแบบการดูแล สุขภาพชุมชน และกระบวนการพัฒนาข้อตกลง หรือนโยบายในระดับพื้นที่ โดยการเปิดโอกาสให้ทุกคนในชุมชนที่มีจิตอาสา เข้ามามีส่วนร่วมในการดาเนินงานได้รับความร่วมมือสนับสนุนเกื้อกูลซึ่งกันและกันจากคนในชุมชน สอดคล้อง กับฉลาด จันทรสมบัติ (2554) ได้ให้ความหมายของ การมีส่วนร่วม คือการเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เข้ามาร่วมดาเนิน กิจกรรมตั้งแต่การศึกษาปัญหา การวางแผนดาเนินการ การตัดสินใจ การแก้ไขปัญหา และการประเมินร่วมกัน เ พื่ อ ขับเคลื่อนให้กิจกรรมนั้นดาเนิน ไปอย่างมีประสิทธิภาพ 2. กระบวนการดูแลสุขภาพชุมชน พบว่า ใช้หลักการของการดูแลสุขภาพโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เน้นการประเมินศักยภาพชุมชนร่วมกับการประเมิน ปัญหาความต้องการของชุมชน เพื่อให้คนอื่นเกิดความเข้าใจในบทบาท หน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ก่อให้ เกิดการ ออกแบบกิจกรรมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและบริบทของชุมชน เป็นการออกแบบที่ใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง ทั้งนี้มีประเด็นสาคัญใน กระบวนการดูแลสุขภาพชุมชน คือการค้นหาความต้องการของสมาชิกในชุมชน การสร้างความรู้สึกของการเป็นเจ้าของ มีการ ประเมินผลกิจกรรมเป็นระยะ ๆ เพื่อให้สอดคล้อง กับแผนการดาเนินงานพัฒนาชุมชน และการจัดสรร ทรัพยากรให้เกิด ประโยชน์สูงสุด ข้อเสนอแนะจากการวิจัย กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมมีหลายรูปแบบ สิ่งที่ต้องให้ความสาคัญเป็นพิเศษ คือ บริบท และวัฒนธรรมของ ชุมชน ในการดูแลผู้สูงอายุนั้น พบว่าสิ่งที่มีผลมากที่สุด คือ ความกตัญญู ซึ่งเป็นพื้นฐานสาคัญที่มีอยู่ในสังคมแบบเครือญาติ ทั้งนี้การดาเนินงานโดยชุมชนนั้นไม่อาจขับเคลื่อนได้ถ้าไม่ผ่านการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐในชุมชน ทั้งองค์การบริหารส่วน ตาบล และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบล กิตติกรรมประกาศ งานวิจัยชินนี้สาเร็จไปด้วยดี ต้องขอขอบคุณทุกภาคส่วนในชุมชนนาเคียนที่ให้ความร่วมมืออย่างดียิ่ง และผลการวิจัย นี้จะสะท้อนไปเป็นข้อมูลให้ชุมชนใช้ในการดูแลผู้สูงอายุให้ดียิ่งขึ้นไป ขอบคุณสถาบันพระบรมราชชนก ที่ให้ทุนในการ ศึกษาวิจัยในครั้งนี้ และขอบคุณวิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนี นครศรีธรรมราช ที่เอื้อให้งานวิจัยชิ้นนี้สรุปลุล่างไปได้ด้ายดี
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3