Proceeding2562

1604 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ความชุกของธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติในจังหวัดชลบุรี สานิตา สิงห์สนั่น 1* กนกพร ศรีสุจริตพานิช 1 กุลธิดา กล้ารอด 2 และสุธิชา จันทะ 3 บทคัดย่อ บทน�ำ : ธาลัสซีเมียเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมของเม็ดเลือดแดงแบบยีนด้อยท�ำให้ยีนโกลบินสร้างได้ลดลงหรือ สร้างไม่ได้เลย ซึ่งเป็นปัญหาทางพันธุกรรมที่พบบ่อยในประชากรไทยและเนื่องจากความชุกของธาลัสซีเมียแตกต่างกันไปในแต่ละ ภูมิภาค สัดส่วนของความเสี่ยงต่อธาลัสซีเมียจึงแตกต่างกันซึ่งส่งผลต่อการควบคุมและป้องกันได้ วัตถุประสงค์ : ศึกษาเบื้องต้นเพื่อหาความชุกของธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติในประชากรชลบุรี วิธีการศึกษา : ศึกษาในอาสาสมัครนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพาที่มีภูมิล�ำเนาในจังหวัดชลบุรีจ�ำนวน 140 คน โดยตรวจคัดกรองธาลัสซี เมียและฮีโมโกลบินผิดปกติด้วยน�้ำยา OF และ DCIP ตรวจชนิดของฮีโมโกลบินด้วยเซลลูโลสอะซเตทอิเลคโตรโฟรีซิสหรือเครื่อง วิเคราะห์อัตโนมัติ ตรวจหายีนแอลฟา เบตาธาลัสซีเมีย และฮีโมโกลบินผิดปกติด้วยวิธีพีซีอาร์ ผลการศึกษา : พบพาหะแอลฟาธาลัสซีเมีย1 5 ราย (3.57%) พาหะแอลฟาธาลัสซีเมีย2 21 ราย (15%) จ�ำแนกเป็น ชนิด 3.7 kb deletion 19 ราย (13.57%) และ 4.2 kb deletion 2 ราย (1.43%) พาหะเบตาธาลัสซีเมีย 4 ราย (2.86%) ได้แก่ β codon41/42 , β codon17 , β IVS2#654 และ β -28 ส่วนความชุกของฮีโมโกลบินผิดปกติ ได้แก่ พาหะฮีโมโกลบินอี 24 ราย (17.14%) โฮโมซัยกัสฮีโมโกลบิ นอี 1 ราย (0.71%) ฮีโมโกลบินคอนสแตนท์สปริง 6 ราย (4.29%) และฮีโมโกลบิน Q-Thailand 1 ราย (0.71%) โดยพบจีโนไทป์ บนยีนโกลบินทั้งหมด 11 รูปแบบซึ่งมีความแตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลทางโลหิตวิทยา วิจารณ์และสรุป : การศึกษานี้ชี้ให้เห็นความชุกของธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติที่พบได้สูงในประชากรจังหวัดชลบุรี ซึ่งข้อมูล ดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนควบคุมและป้องกันโรคธาลัสซีเมียต่อไป ค�ำส�ำคัญ : แอลฟาธาลัสซีเมีย เบตาธาลัสซีเมีย ฮีโมโกลบินผิดปกติ 1 ดร., สาขาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี 20131 2 ดร., สาขากายภาพบ�ำบัด คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี 20131 3 ดร., สาขาเคมีคลินิก คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ สงขลา 90110 1 Dr., Department of Medical Technology, Faculty of Allied Health Sciences, Burapha University, Chonburi, 20131, Thailand 2 Dr., Department of Physical Therapy, Faculty of Allied Health Sciences, Burapha University, Chonburi, 20131, Thailand 3 Dr., Department of Clinical Chemistry, Faculty of Medical Technology, Prince of Songkla University, Songkla, 90110,Thailand * Corresponding author: Tel.: 098-8326292, E-mail address: santa_sing@hotmail.com

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3