Proceeding2562

1614 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 3 บทนา ไม้ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่ได้รับความนิยม เนื่องจากเป็นไม้เนื้อแข็งที่สามารถแปรรูปได้ง่ายและราคาใกล้เคียง กับไม้ชนิดอื่น ดังนั้นจึงมีความเหมาะสมที่จะนาไปผลิตเฟอร์นิเจอร์ ทาให้อุตสาหกรรมแปรรูปไม้ยางพาราในประเทศไทยมี อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง [1] ทั้งนี้มีการนาเครื่องจักรเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิตให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุด จึง เป็นสาเหตุที่ทาให้ผู้ปฏิบัติงานเผชิญกับอันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทางานที่เช่น ปัจจัยสิ่งแวดล้อมด้านเคมี ประเภท ฝุ่น รวมทุกขนาด (Total dust, TD) กลิ่นสารเคมีจากน้ายาอัดไม้ ปัจจัยสิ่งแวดล้อมด้านเออร์โกโนมิกส์ เกิดจากการทางานที่มีการ ยืนเป็นเวลานาน ลักษณะงานที่ต้องใช้ข้อมือ หลัง และข้อต่อต่าง ๆ ซึ่งต้องออกแรงในการบิดหรือเอี้ยวตัวรวมทั้งมีท่าทางใน การทางานที่ไม่เหมาะสม และอีกหนึ่งปัจจัยที่เป็นอันตรายที่สาคัญ ได้แก่ ปัจจัยสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เสียงดังจากเครื่องจักร ซึ่งสาเหตุดังกล่าวทาให้ประสิทธิภาพการทางานของพนักงานลดลง และส่งผลให้เกิดอันตรายจาก เครื่องจักรได้ [2] โดยอาจร้ายแรงถึงขั้นสูญเสียนิ้ว ฝ่ามือ หรือแขนก้นเป็นได้อันเป็นผลให้ผู้บาดเจ็บต้องพิการไปตลอดชีวิต และบางทีก็อาจร้ายแรงถึงขั้นสูญเสียชีวิตได้ [3] จากข้อมูลสถิติการเกิดอุบัติเหตุจากเครื่องจักรของสานักงานกองทุนเงิน ทดแทน สานักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน (2560) พบว่ามีผู้ประสบอุบัติเหตุทั้งหมด มีสาเหตุจากเครื่องจักรทั้งหมด จานวน 11,923 ราย มาตรการในการป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรสามารถทาได้หลายวิธี เช่น การฝึกอบรมพนักงานให้เข้าใจการทางานกับ เครื่องจักรอย่างเหมาะสมและปลอดภัย การตรวจสอบเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานก่อนทางานทุกครั้ง การสวมใส่อุปกรณ์ ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment , PPE) [4] ซึ่งการแก้ไขปัญหาที่แหล่งกาเนิด คือ การจัดทาเซฟ การ์ดเพื่อป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร โดยเซฟการ์ดช่วยป้องกันอันตรายจากการสัมผัสกับส่วนของเครื่องจักรที่มีการหมุน หรือเคลื่อนที่ได้โดยตรง ได้แก่ ใบเลื่อย และ ส่วนที่ส่งถ่ายพลังงาน เช่น เกียร์ ปุลเล่ สายพาน ข้อต่อ หรือเฟือง เพื่อป้องกัน อันตราย เช่น เศษวัสดุกระเด็น หรือของเหลวกระเซ็นถูกผู้ปฏิบัติงาน เช่น การหลอม การเจาะ กลึงหรือเจียร เป็นต้น และ ป้องกันอันตรายจากความบกพร่องของเครื่องจักร เช่น ระบบสายไฟฟ้าชารุดต่อไว้ไม่ถูกต้อง เครื่องจักรทรุ ดโทรมขาดการ บารุงรักษา การใช้เครื่องจักรผิดวัตถุประสงค์เป็นต้น [5,6] ดังนั้นการศึกษาวิจัยนี้ ได้ออกแบบเซฟการ์ดเครื่องเลื่อยเพื่อป้องกันอันตรายจากอุบัติเหตุจากการทางานจากการกระเด็น ของใบเลื่อยและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมในการทางานของผู้ปฏิบัติงานในโรงงานแปรรูไม้ยางพารา โดยศึกษาระดับความดังของเสียง และปริมาณความเข้มข้นของฝุ่นไม้ วิธีดาเนินการ 1. การออกแบบเซฟการ์ดเครื่องเลื่อย วัสดุที่ใช้ในการสร้างเซฟการ์ดจะต้องมีคุณสมบัติในการยืดหยุ่นสูง ความทนทานแข็งแรง น้าหนักเบาและสามารถต้านทานต่อ แรงกระแทก ดังนั้นได้มีการนาเหล็กมาสร้างโครงเซฟการ์ด โดมีลักษณะเป็นท่อสี่เหลี่ยม มีมุมฉาก 90 องศา ผิวเรียบไม่หยาบ มีความหนา 2 มิลลิเมตร และเลือกใช้แผ่นสังกะสีมาสร้างเป็นการ์ด (Guard) สังกะสีจะทาหน้าที่เป็นชั้นป้องกันไม่ให้เหล็กผุ กร่อน ( Barrier Protection) และ ผุกร่อนแทนเหล็ก ( Cathodic Protection) ดังนั้นจึงป้องกันเ หล็ก ไม่ ให้เ จ อกับ สภาพแวดล้อมที่จะทาให้เกิดสนิมได้เป็นเวลานาน จึงช่วยลดต้นทุนได้เป็นอย่างมาก โดยในการออกแบบเซฟการ์ดจะแบ่ง ออกเป็น 2 ส่วน คือ เซฟการ์ดด้านหน้า (นายม้าผ่าและนายม้าซอย) โดยเซฟการการ์ดที่ออกแบบมีการต่อแขนยื่นออกมา ความยาว 15 เซนติเมตร ด้านหน้าทั้งหมด 3 แขน ตัดแผ่นสังกะสีความหนา 0.2 มิลลิเมตร ให้มีลักษณะคล้ายรูปตัว Lคว่า ( Γ ) ขนาด130x45x160 เซนติเมตร ดังภาพที่ 1a เซฟการ์ดด้านนายม้าผ่าและนายม้าซอยสามารถเปิด-ปิดได้ เนื่องจากจะต้องมี การเปลี่ยนใบเลื่อยกรณีใบเลื่อยเกิดการชารุด และเซฟการ์ดด้านหลัง (ห่างม้าผ่าและห่างม้าซอย) ขนาด130x40x50 เซนติเมตร ดังภาพที่ 1b 2. การประเมินอุบัติเหตุ ศึกษาจานวนการเกิดอุบัติเหตุ 2 เดือน โดยศึกษาข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุก่อนติดตั้งเซฟการ์ดและหลังติดตั้ง เป็นระยะเวลา 2 เดือน โดยเก็บข้อมูลจากเครื่องเลื่อยทั้งหมด 3 ตัว

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3