Proceeding2562
1616 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 5 เมื่อ A = ผลการตรวจวัดฝุ่นและเสียง ก่อนการติดตั้งเซฟการ์ด B = ผลการตรวจวัดฝุ่นและเสียง หลังการติดตั้งเซฟการ์ด ผลการวิจัยและอภิปรายผลการวิจัย 1.การออกแบบเซฟการ์ดป้องกันอันตรายจากเครื่องเลื่อยและการประเมินอุบัติเหตุจากเครื่องเลื่อย จากการสารวจเพื่อทาการวัดขนาดต่างๆของเครื่องเลื่อยเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดทาเซฟการ์ดป้องกันอันตรายจาก เครื่องเลื่อย ซึ่งการทางานกับเครื่องเลื่อย มีลักษณะการทางานทั้งสองฝั่งคือ บริเวณด้านหน้าและด้านหลังของเครื่องเลื่ อย จากนั้นทาการวัดขนาดของเครื่องเลื่อยเพื่อทาการออกแบบลักษณะเซฟการ์ด และติดตั้งเซฟการ์ด ซึ่งเป็นการออกแบบทาง วิศวกรรมโดยวัดขนาดของเครื่องเลื่อยจริงทาการติดตั้งเซฟการ์ดบริเวณด้านหน้าเครื่องเลื่อย ขนาด130x45x160 เซนติเมตร และเซฟการ์ดด้านหลัง ขนาด130x40x50 เซนติเมตร ลักษณะของเซฟการ์ดทาโครงจากเหล็กกล่องแล้วใช้แผ่นสังกะสีปิด ครอบโครงเหล็กทั้งหมด เป็นการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันอันตรายชนิดอยู่กับที่ (Fixed Guard) ดังภาพที่ 2 อุปกรณ์นี้จะยึดแน่น กับตัวเครื่องจักรอย่างแน่นหนา มั่นคง ไม่เคลื่อนที่หรือหลุดออกได้ง่าย แต่จะสามารถถอดออก หรือเปิดปิดได้ กรณีที่มีการ ซ่อมบารุง หลังจากติดตั้งเซฟการ์ดบริเวณเครื่องเลื่อยจะพบว่า ฝุ่นไม้จากการเลื่อยมีการฟุ้งกระจายลดลง ระดับความดังเสียง จากเครื่องเลื่อยลดลง และยังสามารถป้องกันการกระเด็นหรือดีดกลับของใบเลื่อยได้ โดยการติดตั้งเซฟการ์ดที่เครื่องเลื่อย เพราะเป็นการควบคุมอันตรายที่แหล่งกาเนิด ซึ่งสามารถป้องกันสิ่งคุกคามต่อสุขภาพอนามัยของผู้ปฏิบัติงานได้ [2] ซึ่งจะเห็น ได้จากการศึกษาจานวนการเกิดอุบัติเหตุจากเครื่องเลื่อยหลังจากติดตั้งเซฟการ์ดพบว่าสถิตการอุบัติจากเครื่องเลื่อย 1 เดือน ก่อนติดตั้งเซฟการ์ดมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นทั้งหมด 7 ครั้ง ได้แก่ เครื่องเลื่อยตัวที่ 1 จานวน 2 ครั้ง เครื่องเลื่อยตัวที่ 2 จานวน 2 ครั้ง และเครื่องเลื่อยตัวที่ 3 จานวน 3 ครั้ง มาเปรียบกับหลังติดตั้งเซฟการ์ด 1 เดือน ซึ่งจะเห็นได้ว่าหลังจากมีการติดตั้งเซฟ การ์ด ไม่มีการเกิดอุบัติเหตุจากเครื่องเลื่อยจากเครื่องเลื่อย ซึ่งพบว่าประสิทธิภาพของเซฟการ์ดในการลดอุบัติเหตุ เมื่อ เปรียบเทียบก่อน-หลังการติดตั้ง คิดเป็นร้อยละ 100 เปอร์เซ็นต์ (2a) (2b) ภาพที่ 2 การติดตั้งเซฟการ์ดที่เครื่องเลื่อยโดยแบ่งเป็น (2a) การติดตั้งที่ด้านหน้าเครื่องเลื่อย และ (2b) การติดตั้งที่ด้านหลัง เครื่องเลื่อย 2. การตรวจวัดความเข้มข้นของฝุ่นทุกขนาด (Total Dust, TD) จากภาพที่ 3 พบว่า ค่าความเข้มข้นของฝุ่นทุกขนาด ซึ่งทาการวัด 2 จุด คือ บริเวณหน้าเครื่องเลื่อยและหลังเครื่อง เลื่อยของเครื่องเลื่อยทั้ง 3 ตัว พบว่า ก่อนการติดตั้งเซฟการ์ดป้องกันอันตรายด้านหน้าเครื่องเลื่อยตัวที่ 1 ตัวที่ 2 และตัวที่ 3 มีค่าความเข้มข้นของฝุ่น TD เท่ากับ 14.5 , 12.5 และ 18.2 mg/m 3 ตามลาดับ หลังจากติดตั้งเซฟการ์ดป้องกันอันตราย ด้านหน้าเครื่องเลื่อย มีค่าความเข้มข้นของฝุ่นลดลง เท่ากับ 10.4, 8.3 และ 12.5 mg/m 3 ตามลาดับ และก่อนติดตั้งเซฟการ์ด ทางด้านหลังของเครื่องเลื่อยมีค่า เท่ากับ 10, 8.3 และ14.6 mg/m 3 ตามลาดับ หลังจากติดตั้งเซฟการ์ดด้านหลังเครื่องเลื่อย มีค่า เท่ากับ 8.3 , 5.2 และ 10 mg/m 3 ตามลาดับ ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐาน Occupational Safety and Health
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3