Proceeding2562

1633 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 2 พ่อขุนรามคาแหงได้ทรงปรับปรุงรูปแบบการเขียนให้แตกต่างกับรูปแบบของอักษรขอมและมอญ เช่น เพิ่มอักษรอีก 9 ตัว คือ ฃ ฅ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ และ อ เนื่องจากพยัญชนะของอักษรต้นแบบ (ขอมและมอญ) ไม่มีบางเสียง ที่เหมาะสมกับการเขียนภาษาไทย พยัญชนะของลายสือไทยไม่มีหนามเตย (ภาษาเขมรเรียกว่า ศก) และตัวครึ่ง (เชิง) ส่วนอักษรขอมมีศกหรือหนามเตย พยัญชนะของพ่อขุนรามคาแหงไม่มีตัวครึ่ง ที่เขียนไว้ใต้บรรทัด เพราะว่าภาษาไทย ไม่นิยมควบกล้าและไม่มีตัวสะกดตัวตามเหมือนภาษาบาลีสันสกฤต สระขอมมีส่วนสูงไม่เท่ากัน เช่น สระ ไ ใ โ จะสูงกว่า ตัวพยัญชนะ แต่สระของลายสือไทยปรับให้มีขนาดเท่ากับตัวพยัญชนะ มีวรรณยุกต์เกิดขึ้น ทาให้สามารถออกเสียงได้ ตรงเสียง ซึ่งภาษาขอมและภาษามอญไม่มีเสียงวรรณยุกต์ และลายสือไทยได้มีการจัดระเบียบการวางสระและพยัญชนะ ให้อยู่ในบรรทัดเดียวกันจนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของไทย เป็นต้น ภาพที่ 1 ลักษณะและจานวนพยัญชนะของลายสือไทยที่พ่อขุนรามทรงประดิษฐ์ขึ้น ที่มา : https://talk.mthai.com สืบค้นเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2561 หลักศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคาแหงนั้น ถูกพบโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพ.ศ. 2376 ที่เนินปราสาทเมืองเก่าสุโขทัย อาเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ลักษณะการจารึกของพ่อขุนรามคาแหงนั้น เป็นการจารึกตัวอักษรลงบนแท่นศิลา ซึ่งมีส่วนประกอบของหินทรายแป้ง มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่า ทรงกระโจม หรือทรงยอ กว้างด้านละ 35 เซนติเมตร สูง 111 เซนติเมตร หลักศิลาจารึกมีความชารุดเล็กน้อย มีลักษณะของรอยขีด ข่วนบ้างแต่ตัวอักษรบนหลักศิลาก็ยังคงปรากฏอยู่อย่างชัดเจน ซึ่งเมื่อศึกษาลักษณะของลายสือ ไทยและข้อความ บนหลักศิลาจารึกแล้ว พบว่ามีความสาคัญต่อประเทศไทยเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะบ่งบอกถึงวิถีชีวิต ศาสนา ลักษณะทางเศรษฐกิจของคนไทยในสมัยสุโขทัย และแนวคิดของพ่อขุนรามคาแหงที่ทรงมีต่อคนในชาติแล้ว ศิลาจารึก หลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคาแหง ยังเป็นศิลาจารึกหลักแรกที่ใช้ตัวอักษรไทยและภาษาไทย เป็นต้นกาเนิดของลายสือไทย ที่เป็นมรดกทางความคิดเห็นถึงอารยะธรรมของคนในชาติทางด้านการเขียน ทาให้มีภาษาเขียนเป็นของตนเองมากว่า 700 ปี และเป็นที่มาของตัวอักษรที่ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน จนยูเนสโก ได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้ศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคาแหงมหาราช เป็นมรดกความทรงจาแห่งโลก เมื่อ พ.ศ. 2546 สร้างคุณค่าและความภาคภูมิใจให้กับคน ไทยเป็นอย่างมาก ซึ่งผู้สร้างสรรค์ได้นาข้อมูลข้างต้นมาวิเคราะห์ เพื่อนามาสร้างสรรค์เป็นผลงานการแสดงชุด ลายสือไทย 3. กาหนดขอบเขต ผลงานสร้างสรรค์ ชุด ลายสือไทย มีการกาหนดขอบเขตเนื้อหา มุ่งนาเสนอลักษณะลายเส้นพยัญชนะลายสือไทย คุณค่าและความสาคัญของลายสือไทยที่มีต่อคนไทย โดยนาเสนอในรูปแบบนาฏศิลป์ไทยประเภทระบาที่มีบทร้อง มีโครงสร้างการแสดง ดังนี้ ส่วนที่ 1 ส่วนนา เริ่มต้นเข้าสู่ระบา ส่วนที่ 2 เนื้อหาของระบา แบ่งเนื้อหาการแสดงออกเป็น 3 ช่วง คือ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3