Proceeding2562
1635 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 4 ช่วงที่ 3 สื่อถึงคุณค่าของลายสือไทยและความภาคภูมิใจของคนไทย ที่มีอารยะธรรม ทางด้านตัวอักษรเป็นของตนเองมาจนถึงปัจจุบัน ใช้บทร้องจานวน 1 บท ร้องด้วยเพลงบรเทศ อารยธรรม ภาษา ของชาวไทย คงความ ภาคภูมิใจ ให้ลูกหลาน มรดก ความทรงจา ล้าโอฬาร มรดก ศิลาจาร ลายสือไทย ส่วนที่ 3 ส่วนท้ายของระบา ใช้เพลงรัวโบราณ 5.3 การออกแบบเครื่องแต่งกาย การออกแบบเครื่องแต่งกาย ผู้สร้างสรรค์ได้นาโครงสร้างลักษณะการแต่งกายของสตรีชนชั้นสูง ในสมัยสุโขทัย คือ ไว้ผมยาวเกล้ามวย ใส่ผ้ารัดอก ใส่ต่างหู กรองคอ รัดแขน กาไลมือ กาไลเท้า สวมเครื่องประดับศีรษะ นุ่งผ้าโรยเชิงทิ้งชายพลิ้วบานเป็นสองแฉกและคาดเข็มขัด เลือกใช้สีน้าตาลอมแดงเพื่อแสดงถึงความเก่าแก่ของอารยธรรม ใช้ผ้ายาวเป็นอุปกรณ์ในการประกอบสร้างเป็นลักษณะพยัญชนะของลายสือไทย ซึ่งผู้สร้างสรรค์ได้ใช้ความรู้และทักษะ ทางด้านการประดิษฐ์ศิราภรณ์และเครื่องประดับในการจัดทาเครื่องประดับด้วยตนเอง เพื่อบูรณาการความรู้ที่เคยได้รับ มาใช้ให้เกิดประโยชน์และเป็นการลดทอนค่าใช้จ่ายในกระบวนการทางานชิ้นนี้ได้เป็นอย่างดี ภาพที่ 2 ภาพชุดการแต่งกายที่เสร็จสมบูรณ์ ที่มา : วรากร สุพรรณท้าว ภาพที่ 3 ภาพศราภรณ์และเครื่องประดับ ที่ผู้สร้างสรรค์ประดิษฐ์ขึ้นด้วยตนเอง ที่มา : วรากร สุพรรณท้าว
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3