Proceeding2562
1651 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 6 ดนตรีที่สามารถบ่งบอกเนื้อหาและเป็นตัวกาหนดเหตุการณ์ของเรื่องราวในการแสดงแต่ละช่วงเนื่องจากให้สอดคล้องกับเนื้อหา การแสดงโดยมีรายละเอียด ดังนี้ ช่วงที่ 1 เน้นการใช้จังหวะที่ช้า เพื่อสื่อให้เห็นถึงอารมณ์ความเจ็บปวดเศร้าหมอง และกระบวนท่าทางการเคลื่อนไหว ร่างกายตามอากัปกิริยาธรรมชาติของมนุษย์ที่แสดงความเจ็บปวดจากการถูกทุบตี ช่วงที่ 2 เน้นการเร่งจังหวะให้มีความตื่นเต้น เพื่อสื่อให้เห็นถึงการได้รับอิสระจากการที่ได้ลุกขึ้นมาเรียกร้องเพื่อทวง สิทธิเสรีภาพ 5.การใช้ประสบการณ์ชีวิต ผู้สร้างสรรค์ได้ใช้ประสบการณ์ที่ได้รับการเรียนรู้จากครูอาจารย์รวมถึงมีความสนใจในด้านของการ ออกแบบท่าเต้น การแปรแถว และการเคลื่อนไหวร่างกายจากจุดหนึ่งไป ยังอีกจุดหนึ่ง ในลักษณะของการแสดง Contemporary Dance จึงได้นาความรู้ที่ได้รับมาสร้างสรรค์เป็นผลงานการแสดง โดยผู้สร้างสรรค์ต้องการนาท่าทางการ เคลื่อนไหวตามอากัปกิริยาธรรมชาติของมนุษย์ เพื่อสื่อถึงความทุกข์ทรมาน จากการโดนทุบตี เนื่องจากไม่เชื่อฟังบิดามารดา ที่ เลียนแบบลักษณะสถานภาพของผู้หญิง และเมื่อไม่สามารถทาอะไรได้ตนจึงเรียกร้องเพื่อให้ได้รับสิทธิในการเป็นอิสระ โดยใช้ ท่าทางการเคลื่อนไหวร่างกายในรูปแบบนาฏศิลป์ไทยผสมผสานกับท่าเต้นบัลเลต์ โดยใช้ระยะเวลา 7 นาที นักแสดงผู้หญิงล้วน จานวน 10 คน แบ่งการแสดงออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 สื่อถึงกลุ่มผู้หญิงที่แสดงออกถึงความเจ็บปวดทางด้านร่างกายและจิตใจหลังจากถูกลงโทษ เนื่องจากไม่เชื่อ ฟังบิดามารดา โดยมีผ้าสีดาเป็นอุปกรณ์ประกอบ เพื่อสื่อให้เห็นถึงพันธนาการจากความทุกข์ทรมานโดยใช้ระยะเวลาในการ แสดงประมาณ 3 นาที ช่วงที่ 2 สื่อถึงกลุ่มผู้หญิงที่เรียกร้องเพื่อทวงสิทธิของตนโดยมีอาแดงเหมือนเป็นผู้นา จนกระทั่งได้รับความเป็นอิสระ และมีเสรีภาพมากขึ้น โดยใช้การเคลื่อนไหวร่างกายในท่านาฏศิลป์ไทยผสมผสานกับท่าบัลเลต์ เพื่อสื่อให้เห็นถึงการได้รับ อิสรภาพ โดยใช้ระยะเวลาในการแสดงประมาณ 4 นาที 5.1 ลักษณะท่าเต้น ผู้สร้างสรรค์นาเสนอผลงานสร้างสรรค์ในรูปแบบนาฏศิลป์ไทยร่วมสมัย โดยใช้ท่าทางที่ เลียนแบบภาพเหตุการณ์และลักษณะสถานภาพของผู้หญิง ใช้ท่าทางที่สื่อให้เห็นถึงความทรมานจากการโดนทาร้าย ความ แข็งแรง และความเป็นอิสระ ผู้สร้างสรรค์จึงนามาดัดแปลงและผสมกับจินตนาการในการออกแบบการแสดง ภาพที่ 3 : ท่าทางที่สื่อถึงการไม่มีสิทธิพูด ภาพที่ 4 : ท่าทางที่สื่อถึงการหลุดพ้น ที่มา : นางสาวบุณยาพร รอดเอียด ที่มา : นางสาวบุณยาพร รอดเอียด
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3