Proceeding2562

1652 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 7 5.2 ลักษณะการใช้พื้นที่บนเวที ผู้สร้างสรรค์มีจุดมุ่งหมายในการใช้พื้นที่บนเวทีเพื่อการสื่อสารอารมณ์ตามรูปแบบของการแสดง ดังนี้ ช่วงที่ 1 สื่อให้เห็นถึงความความเจ็บปวดทรมาน ใช้การเคลื่อนที่อย่างช้าๆเข้าหาคนดู เพื่อสร้างอารมณ์ ความรู้สึกหวาดกลัว ช่วงที่ 2 สื่อให้เห็นถึงการเรียกร้องสิทธิจนกระทั่งได้รับอิสรภาพ ใช้การเคลื่อนที่ไปในแนวราบ ขนานกับเวที เพื่อเป็นการนาสายตาคนดูจากจุดหนึ่งไปสู่อีกจุดหนึ่ง ผลงานสร้างสรรค์ จากการศึกษากระบวนการสร้างสรรค์ผลงานชุด อาแดง เป็นผลงานการแสดงในรูปแบบนาฏศิลป์ไทยร่วมสมัย มี โครงสร้างดนตรีประกอบการแสดง 2 ช่วง คือช่วงดนตรีช้า เพื่อใช้บรรเลงประกอบกระบวนท่าที่เป็นการเคลื่อนไหวอย่างช้าๆ เพื่อประกอบสื่อให้เห็นถึงอารมณ์ความเจ็บปวด และช่วงดนตรีเร็ว เพื่อใช้บรรเลงประกอบกระบวนท่าที่สื่อให้เห็นถึงการได้รับ อิสรภาพและการโดนปลดปล่อย มีกระบวนท่าเต้นโดยมีโครงสร้างท่านาฏศิลป์ไทยผสมผสานกับท่าเต้นบัลเลต์และท่าที่แสดง อากัปกิริยาของมนุษย์ ใช้เวลาในการแสดงประมาณ 7 นาที ใช้นักแสดงผู้หญิงล้วน จานวน 10 คน เพื่อแทนกลุ่มอาแดงใน สมัยต้นรัตนโกสินทร์ กิตติกรรมประกาศ ผู้สร้างสรรค์ขอกราบขอบพระคุณ อาจารย์จิราวรรณ จันทร์โยธา ที่กรุณาให้คาปรึกษาและตรวจสอบข้อมูลความ ถูกต้อง อาจารย์อรวรรณ โภชนาธาร ที่ให้คาปรึกษาแนะนาในทุก ๆ ด้าน ตลอดจนคณาจารย์ประจาสาขาวิชาศิลปะการแสดง รวมถึงอาจารย์ศรัทธา มณีโชติ และนายณัฐสิทธิ์ บุระชัด ที่กรุณาให้คาปรึกษาเกี่ยวกับดนตรีประกอบการแสดงทุกท่าน และ ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่สานักงานคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา ทุกท่านที่ให้ความช่วยเหลือ ตลอดจนนิสิตสาขาวิชาศิลปะการแสดงทุกชั้นปี ที่คอยเป็นกาลังสนับสนุนจนการทางานครั้งนี้สาเร็จลุล่วงไปด้วยดี ซึ่งผู้ สร้างสรรค์ซาบซึ้งในความกรุณาอันใหญ่ยิ่งจากท่าน และขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ เอกสารอ้างอิง [1] จิตติมา พรอรุณ(2538). การเรียกร้องสิทธิสตรี. วิทยานิพนธ์(ประวัติศาสตร์).กรุงเทพฯ:บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. [2] ธนกร สรรย์วราภิภู (2558). กระบวนการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย. วารสารมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์.กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. [3] ปราง ยอดเกตุ(2556). ประชาสังคมกับความเสมอภาคทางเพศและสิทธิสตรี. สารนิพนธ์(รัฐประศาสนศาสตร์). กรุงเทพฯ:บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. [4] พนารัตน์ มาศฉมาดล(2546). สิทธิเสรีภาพของสตรีภายใต้ระบบการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช. วิทยานิพนธ์(กฏหมาย).กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3