Proceeding2562
1662 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ดิน -โคลน ชัยรัตน์ แสงทอง 1* บทคัดย่อ บทน�ำ : ประสบการณ์และความคุ้นเคยจากการใช้ชีวิตในชนบทท�ำให้ได้มีโอกาสสัมผัสเห็นมุมมองในด้านต่างๆของบุคคลที่ด�ำเนิน ชีวิตสอดคล้องกับลักษณะของพื้นที่ จนท�ำให้เกิดเป็นแบบแผนของอาชีพด้านเกษตรกรรมซึ่งเป็นอาชีพหลักของชาติที่คงเอกลักษณ์ จากความเรียบง่ายแต่มีรายละเอียดของชีวิตที่น่าสนใจ วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาหลักการทางทัศนศิลป์ โดยการน�ำทัศนธาตุมาสร้างสรรค์ผ่านกระบวนการเทคนิคสีอะคริลิกบนผ้าใบ ใน รูปแบบจิตรกรรมเหมือนจริงที่เน้นรูปทรงของบุคคลเป็นหลักในการน�ำเสนอ เพื่อสะท้อนเนื้อหาถึงวิถีชีวิตในความเป็นชนบท บนพื้น ฐานของความพอเพียงซึ่งมีความรู้สึกทั้งสุขและทุกข์ วิธีการศึกษา : ศึกษารูปทรงบุคคลในชนบท ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ วัยชรา เพศชายและเพศหญิงน�ำมาวิเคราะห์กิริยาท่าทางในการแสดงออก ตลอดจนใบหน้าที่ส่งผ่านความรู้สึกภายในจิตใจ ณ ขณะนั้น รวมถึงการศึกษาลักษณะการแต่งกายตามสภาพจริงในชีวิตประจ�ำวัน จากนั้นน�ำมาสร้างเป็นภาพร่างเพื่อน�ำมาเป็นต้นแบบในการจัดท�ำท่าทางของหุ่นแบบจริงให้ผิดพลาดทางองค์ประกอบน้อยที่สุด แล้ว ท�ำการบันทึกภาพในหลายมุมมองคัดเลือกมุมที่สามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกที่ได้ตามวัตถุประสงค์ ก่อนที่จะน�ำมาขยายเป็น ผลงานที่สมบูรณ์ต่อไป ผลการศึกษา : การสร้างสรรค์ผลงานทั้งหมด 17 ชิ้นโดยแบ่งเป็น 3 ชุด ได้น�ำรูปทรงบุคคลมาเป็นหลักในการแสดงออกทั้งทางใบหน้า ท่าทาง การแต่งกายและการน�ำรูปทรงอื่นๆมาประกอบเพื่อเปรียบเทียบเชิงสัญลักษณ์ บ่งบอกถึงภาพลักษณ์ของชาวบ้านที่ใช้ชีวิต อยู่กับดินโคลนได้ส่งผลสะท้อนความรู้สึกของสุนทรียภาพตามหลักทัศนศิลป์ เป็นความลึกซึ้งของชีวิตที่เป็นปรัชญาความคิด ส่งถึง การรับรู้ของผู้ชมได้เป็นอย่างดี ค�ำส�ำคัญ : จิตรกรรมแนวเหมือนจริง วิถีชีวิตชนบท ภาพเหมือนบุคคล ดินโคลน 1 ผศ., สาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, จังหวัดสงขลา 90000 1 Assistance Professor, Visual Arts, Faculty of Fine Arts, Thaksin University, Songkhla, 90000 * Corresponding author: Tel.: 084-1939055 .E-mail address: Chairat.sangthong70@gmail.com
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3