Proceeding2562

1664 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ประเภทผลงานสร้างสรรค์ จิตรกรรม แนวความคิด ในการสร้างสรรค์ผลงานเพื่อสะท้อนความจริงของชีวิต ต้องอาศัยประสบการณ์ตรงของข้อมูลและเนื้อหาในการ นามาแสดงออกเพราะมีความเกี่ยวเนื่องกับรูปทรงบุคคลที่ส่งผ่านเห็นถึงวิถีชีวิต โดยการนาท่าทางของรูปทรงทั้งที่เป็น ชีวิตประจาวันและการผสมผสานท่าทางเชิงเปรียบเทียบหรือการนามาสร้างเป็นสัญลักษณ์ทางความคิด ผ่านเทคนิคจิตรกรรม สีอะคริลิกรูปแบบเหมือนจริง ด้วยการซ้อนทับของชั้นสีบางๆและควบคุมโครงสร้างของน้าหนักแสงเงาให้ใกล้เคียงธรรมชาติ ซึ่งในผลงานบางชิ้นมีการลดทอนรูปทรงจากความจริงของมนุษย์ให้ผิดสัดส่วนเพื่อขยายบริเวณของใบหน้า เป็นพื้นที่สาคัญใน การแสดงออกถึงอารมณ์ ทาให้ภาพรวมดูผ่อนคลาย ทั้งนี้ผลงานทั้งหมดได้สะท้อนสุนทรียภาพความงามตามเอกลักษณ์เฉพาะ ของผู้สร้างสรรค์ให้เกิดเป็นมิติใหม่ของการสะท้อนชีวิตในชนบทไทย จุดประสงค์ของการสร้างสรรค์ 1 เพื่อศึกษาเรื่องราวเนื้อหาของภาพลักษณ์ของสังคมชนบทไทยที่สะท้อนคุณค่าชีวิตผ่านรูปทรงบุคคลในวัยต่างๆ โดยแสดงออกจากท่าทางอากัปกิริยา การแต่งกาย 2 เพื่อแสดงคุณค่าความงามของการเรียบเรียงหลักการทางทัศนศิลป์ โดยเน้นรูปทรง พื้นผิว รายละเอียด ให้เกิดเป็น สุนทรียภาพใหม่ของงานสร้างสรรค์ 3 เพื่อสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมแนวเหมือนจริงเทคนิคสีอะคริลิกที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตน 4 เพื่อสะท้อนคุณค่าความเป็นชนบทไทยให้ผู้ชมเกิดความรักและเกิดความพึงพอใจในวิถีแห่งความเรียบง่ายพอเพียง กระบวนการผลิตผลงานสร้างสรรค์ เริ่มต้นจากการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับรูปบุคคลในลักษณะต่างๆของพื้นที่ชนบทใกล้ตัว นามารวบรวม วิเคราะห์เนื้อหาที่สาคัญและสอดคล้องกับรูปทรงมนุษย์ จากนั้นจึงทาการร่างภาพแบบคร่าวๆด้วยลายเส้นดินสอ ปากกา เพื่อ ทดสอบมุมมองและองค์ประกอบทางศิลปะที่เป็นเอกภาพ แล้วจึงลงสู่พื้นที่หาบุคคลที่มีลักษณะรูปร่าง เพศ วัย ที่ใกล้เคียงกับ แบบร่าง เพื่อจัดการกลุ่มรูปทรง ท่าทาง หรืออากัปกิริยา ตลอดจนแสง เงา และช่วงเวลา แล้วจึงทาการบันทึกภาพในหลายๆ มุมมอง ค้นหามุมมองที่สามารถถ่ายทอดความคิดตามจุดประสงค์ที่วางไว้เบื้องต้น สาหรับขั้นตอนดังกล่าวจะค่อนข้างมี รายละเอียดของการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นอย่างมาก เช่น ทิศทางของแสงที่ต้องรอจังหวะให้พอดี แม้กระทั่งกระบวนการ พอกดิน โคลน ตามร่างกายของต้นแบบ การปล่อยทิ้งให้แห้ง เป็นต้น การพอกเนื้อดินบริเวณร่างกายหรือตามจุดสาคัญของ การแสดงออกขึ้นอยู่กับผลงานแต่ละชิ้น สีของดิน โคลนที่เปียกและแห้ง ช่วยสร้างมิติ ค่าน้าหนัก พื้นผิว ทาให้เห็นถึง ระยะเวลาของเนื้อดินที่แตกต่างกัน ตลอดจนการนาวัสดุอื่นๆมาประสม เช่น ต้นกล้า ฟางข้าว ใบไม้ เป็นต้น ช่วยเพิ่ม รายละเอียดและความน่าสนใจของพื้นผิวมากยิ่งขึ้น ดังนั้นขั้นตอนดังกล่าวต้องอาศัยจังหวะที่พอดีและความเด็ดขาดของการ ตัดสินใจสาหรับการลดทอนหรือเพิ่มเติมรายละเอียดบางส่วน จะสามารถทาได้ในช่วงขณะที่เขียน เช่น การเพิ่มน้าหนักของสี ดินให้ดูเข้ม ขรึม หรือเพิ่มความคมชัดของการตัดกันระหว่างแสงแดดกับเงา เป็นต้น เช่น กระบวนการสร้างผลงานชื่อบท สนทนาไร้เสียง 1 และบทสนทนาไร้เสียง 2 เนื่องด้วยผลงานทั้งสองชิ้นมีลักษณะการจัดรูปทรงเป็นกลุ่ม มีทั้งเด็กและผู้ใหญ่ รวมถึงสัตว์ที่นามาประกอบด้วย ดังนั้นความยุ่งยากก็จะเกิดจากวิธีการจัดแบบในการถ่ายภาพ เริ่มต้นการจัดวางตาแหน่งของ รูปทรงแต่ละบุคคลให้เป็นไปตามลักษณะของภาพร่าง หลังจากนั้นได้มีการนาดินเหนียวที่เป็นโคลนมาผสมกับต้นข้าวและ วัชพืชอื่นๆตามที่มีอยู่จริงของท้องไร่ท้องนา มาทาการคลุกเคล้าให้จับตัวเป็นก้อน จึงนามาพอกบริเวณร่างกาย ซึ่งช่วง ระยะเวลาดังกล่าวต้องอาศัยความว่องไวหรือใช้เวลาให้น้อยที่สุด เพื่อไม่ให้หุ่นแบบเมื่อยล้าจากการยืนและความร้อนจาก แสงแดด เพราะต้องอาศัยแสงแดดช่วงเวลากลางวันซึ่งจะเป็นช่วงจังหวะของแสงเงาที่เป็นไปตามความคิดตั้งแต่เบื้องต้น เพื่อให้ภาพออกมามีความคมชัดของแสงเงาที่จัดจ้านนั่นเอง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3