Proceeding2562

1665 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงาน เป็นวิธีการสร้างรูปทรงด้วยสีอะคริลิกโดยการผสมแยกเฉดสีแต่ละสีไว้เป็นกระปุกเล็กๆ แล้วนาสีมาระบายด้วย วิธีการทับซ้อนของชั้นสีบางๆ ควบคุมค่าน้าหนักอ่อน เข้ม ตามลักษณะของมิติรูปทรงจนกระทั่งสมบูรณ์ ผลงานจะไม่นิยมการ แทรกสีตามลักษณะผลงานจิตรกรรมทั่วไป เพื่อแสดงบรรยากาศของพื้นที่แต่จะใช้ค่าน้าหนักสีที่ต่างกันสร้างรูปทรงและมิติ หน้าหลัง ดูคล้ายผลงานวาดเส้นซึ่งผลดังกล่าวจะสร้างความรู้สึกของพื้นผิวที่เกิดจากคราบของชั้นสีแต่ละชั้นช่วยเสริมให้เกิด ความรู้สึกของดินในพื้นที่ชนบทที่คุ้นเคยได้มากยิ่งขึ้น สิ่งที่สะท้อนจากผลงานสามารถแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ แบบเหมือนจริง และกึ่งเหมือนจริง แต่ทั้ง 2 รูปแบบมีจุดประสงค์เดียวกัน เป็นการเพิ่มเติมความหลากหลายในผลงานแต่ละชิ้น เป็นผลสรุป รวม และเป็นสภาวะทางความรู้สึกส่วนตัว ซึ่งแสดงออกผ่านกลิ่นอายชนบทด้วยการนาภาพลักษณ์ของบุคคลมาแสดงออกเชิง สัญลักษณ์เป็นสาคัญ สะท้อนคุณค่าแง่มุมของชาวบ้าน ทั้งความจริงที่แฝงไว้ด้วยความสุข ทุก บนพื้นฐานของความพอเพียง จนคิดไปถึงแก่นแท้ของวัฒนธรรมและสังคมส่วนใหญ่ของไทยอันมีเอกลักษณ์ เมื่อมนุษย์เราเริ่มต้นมาจากดินอย่างไรก็ต้องจบ ไปสู่ดิน ดังนั้นการเลือกที่จะอยู่กับความจริงจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดสาหรับมนุษย์ อุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน อุปกรณ์ในการสร้างภาพร่างและผลงานจริง 1 ดินสอ ปากกา 2 กระดาษ 3 พู่กัน แปรงทาสีขนาดต่างๆ 4 สีอะคริลิก หลากหลายเฉดสี 5 เฟรม 6 ผ้าใบ 7 กล้องบันทึกภาพ ผลงานสร้างสรรค์ ผลงานในชุด ดิน โคลน มีลักษณะการสร้างสรรค์แบ่งเป็น 3 รูปแบบ ที่เชื่อมโยงต่อเนื่องกันทั้งเนื้อหา และเรื่องราว โดยแบ่งออกได้ดังนี้ 1 ผลงานที่แสดงด้วยรูปแบบเหมือนจริงที่ใช้รูปทรงมนุษย์เป็นหลัก 2 ผลงานที่แสดงด้วยรูปแบบกึ่งเหมือนจริงที่ใช้รูปทรงมนุษย์เป็นหลัก 3 ผลงานที่ใช้หุ่นนิ่งรูปแบบเหมือนจริงเป็นหลัก ผลงานที่แสดงด้วยรูปแบบเหมือนจริงที่ใช้รูปทรงมนุษย์เป็นหลัก เป็นการนารูปทรงของชาวบ้านมานาเสนอทั้งเดี่ยว และเป็นกลุ่ม แสดงออกด้วยรูปลักษณ์ของชาวบ้านจากเครื่องแต่งกาย ลักษณะรูปร่าง หน้าตา ซึ่งจะนารูปทรงมาจัดท่าทางให้ สอดคล้องกับจุดประสงค์ของการสร้างสรรค์และมีความหลากหลายของเพศวัย เพื่อสะท้อนถึงความเป็นชาวบ้านหรือเกษตรกร ได้ชัดเจน ผลงานที่แสดงด้วยรูปแบบเหมือนจริงที่ใช้รูปทรงมนุษย์เป็นหลักเป็นลักษณะการลดทอนรูปทรงบางส่วนซึ่งโดยรวม จะมีลักษณะบริเวณศีรษะที่ผิดรูป เพื่อเป็นจุดเน้นของอารมณ์ความรู้สึกทางใบหน้าให้ชัดเจนขึ้น ประกอบกับการเขียนพื้นผิว ด้วยเทคนิคการปล่อยให้ทีพู่กันสร้างความหยาบกร้านมากกว่าความจริง โดยนาเสนอเรื่องราวของบุคคลที่มีอาชีพเกษตรกร เป็นหลัก สามารถมองเห็นอาชีพจากการแต่งกายและดูจากวัสดุอุปกรณ์ที่นามาเคียงกับรูปทรงหลัก ผลงานที่ใช้หุ่นนิ่งรูปแบบเหมือนจริงเป็นหลัก เป็นการเปลี่ยนรูปทรงจากมนุษย์มาเป็นหุ่นนิ่ง ที่สัมพันธ์กับภาพ ผลงานที่เป็นมนุษย์คล้ายการตัดฉากให้เห็นเรื่องราวของภาพอีกแบบหนึ่ง ซึ่งการนาเสนอให้เห็นถึงความเป็นชนบทได้จาก รสชาติของรูปทรง เส้น สี ที่เกิดขึ้นกับหุ่นนิ่งและเนื้อหาสาคัญ เป็นส่วนเสริมให้กับภาพบุคคล วิเคราะห์ผลงานสร้างสรรค์ ผลงาน นักคิด ( ชาวนา ) ได้แรงบันดาลใจมาจากประติมากรรมชิ้นเอกของออกุสต์โรแดง โดยนารูปทรงที่มนุษย์แสดง ท่าทางครุ่นคิดในบางเรื่องอย่างมีสติ ความคิดนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของอนาคตและความหวังหรือการแก้ไขปัญหา ล้วนเป็นสิ่ง สาคัญทั้งสิ้น ความคิดเป็นอิสระอยู่เหนือฐานะทางสังคม หลายๆครั้งเราได้รู้สึกถึงความคิดอันดีงามจากความไม่สมบูรณ์ของ ชีวิต ผลงานใช้รูปทรงของชาวนาวัยชราในลักษณะนั่งมีอาการของความทุกข์ โดยใช้โคลนพอกตามร่างกาย ความรู้สึกเหมือน ประติมากรรมที่กาลังหลอมละลายด้วยความร้อนระอุของแสงแดด เสมือนความไม่จีรังยั่งยืนของชีวิตชาวนาไทย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3