Proceeding2562
1672 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน แนวความคิด ดนตรีเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์มาช้านาน ตั้งแต่สมัยโบราณ โดยปรากฏอยู่ในวัฒนธรรมของทุก ชนชาติ แต่จะมีความแตกต่างกันทั้งในลักษณะของเครื่องดนตรี ทานองเพลง และวิธีการบรรเลง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรม และเอกลักษณ์ของชาตินั้น ๆ ชาติไทยก็เป็นอีกชนชาติหนึ่งที่มีดนตรีอยู่คู่กับวัฒนธรรมไทยมาตั้งแต่โบราณ เป็นเอกลักษณ์ ประจาชาติที่น่าภาคภูมิใจ เอกลักษณ์และคุณค่าของดนตรีไทยนั้น อยู่ที่ความวิจิตรงดงามของท่วงทานองที่ผู้ประพันธ์ได้ ประพันธ์เพลงขึ้นด้วยภูมิปัญญาอันสูงค่า มีความประณีตละเมียดละไม เพื่อให้เกิดความไพเราะของบทเพลง มีบทร้องบทกลอน ที่มีความสละสลวยอีกทั้งยังรวมไปถึงเครื่องดนตรีไทยที่มีความแตกต่างกันในแต่ละประเภท เมื่อนามาบรรเลงรวมกัน ในแต่ละ ทางของเครื่องดนตรีประเภทนั้น ๆ จะก่อให้เกิดมิติของเสียงที่มีความกลมกล่อมก่อเกิดเสียงประสานที่มีความไพเราะ ขิมเป็น เครื่องดนตรีของจีนนาเข้ามาประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ ๖ ในสมัยนั้นมักนาเอาเครื่องดนตรีของต่างชาติเข้ามาบรรเลงผสมกับ เครื่องดนตรีไทย ได้แก่ ขิม ไวโอลินและ แอ็คคอร์เดียน สาหรับขิมจะได้รับความนิยมกว่าเครื่องดนตรีอื่น ๆ ในราว พ.ศ. ๒๔๖๗ หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูริยชีวิน) เล่าไว้ว่า เมื่อคราวพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ทรงพระประชวร ทางกรมมหรสพได้จัดให้พระยาอาวารักษนัฎกาภรณ์ (ผล ผลวัฒนะ) เข้าไปเล่านิทานถวายตามคาแนะนาของแพทย์หลวง ให้ ฟังเพลงเบา ๆ เพื่อพักผ่อนพระวรกาย และในครั้งเดียวกันนั้น กรมปี่พาทย์หลวงได้จัดเครื่องสายประสมขิมไปบรรเลงข้างห้อง พระบรรทมด้วย โดยมีท่านอาจารย์มนตรี ตราโมท บรมครูทางการดนตรีไทย เป็นคนแรกที่บรรเลงขิมร่วมวงถวาย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ จนกระทั่งพระองค์ทรงหายจากการประชวร หลังการนั้นจึงมีการนาขิมมา บรรเลงกับวงเครื่องสายไทยจนถึงปัจจุบัน (นิพันธ์ ธนารักษ์ และกัลป์ยานี ดวงฉวี. ๒๕๔๓ : ๑๑) และยังมีการนาเพลงไทยและ เพลงสาเนียงภาษาต่าง ๆ มา แปรทานองเป็นทางเดี่ยว เช่น เพลงพันธุ์ฝรั่ง ๓ ชั้น เพลงแป๊ะฮวยพัง เพลงนกขมิ้น ๓ ชั้น เพลง จีนขิมใหญ่ เป็นต้น ซึ่งมีมากมายนับร้อยเพลงที่ครูดนตรีไทยได้นามาแปรทานองเป็นทางเดี่ยว และในเพลงเหล่านั้นคือเพลง แป๊ะฮวยพัง ทางของ อาจารย์ชยุดี วสวานนท์ ซึ่งเป็นทางที่มีกลวิธีพิเศษในการบรรเลง ไม่ว่าจะเป็นลักษณะการบรรเลง การ เคลื่อนที่ของทานองเพลง ได้มีกลวิธีพิเศษที่แตกต่างไปจากทางเพลงธรรมดาทั่วไป อาจารย์ชยุดี วสวานนท์ ได้ให้สัมภาสน์ถึงประวัติเพลงแป๊ะฮวยพัง เป็นเพลงสาเนียง จีนแท้ ซึ่งแปลว่า “ผึ้งตอม ดอกไม้ขาว” ตามประวัติ ท่านผู้นาเพลงนี้มาบรรเลงในวงเครื่องสายไทย คือ พันจ่าเอกชื้น น้าไชยศรี (หรือครูชื้น) ท่านได้เพลง นี้มาจากการแสดงงิ้วประกอบเพลงเพลงหนึ่งด้วยซอด้วงจีนและขิม ที่ตลาดพรานนก ฝั่งธนบุรี จึงจดจาและนามาถ่ายทอดให้แก่ สมาชิก วงเครื่องสายของท่าน รวมถึงอาจารย์ชยุดี วสวานนท์ ดังนั้นผู้วิจัยจึงเห็นว่าเพลงแป๊ะฮวยพัง ทางขิม ของอาจารย์ ชยุดี วสวานนท์ เป็นทางที่มีลักษณะการดาเนินทานองของกลอนเพลงที่เฉพาะตัวไปจากทางขิมธรรมดาทั่วไป ผู้วิจัยจึงต้องการ วิเคราะห์เพื่อให้เข้าใจเพลงนี้อย่างแท้จริง โดยใช้ความรู้จากทฤษฎีดุริยางคศาสตร์ไทย มาเป็นแนวทางในการศึกษารูปแบบของ เพลงโดยใช้กระบวนการวิเคราะห์แจกแจงทานองหลักในการแปรทานองของเครื่องดนตรีจนถ่ายทอดออกมาให้เข้าถึงความงาม ในสุนทรีย์ของเสียงเพลงนี้ได้ดี เป็นอย่างยิ่ง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3