Proceeding2562
1674 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เทคนิคการสร้างสรรค์เพลงเดี่ยวแป๊ะฮวยพัง จากการที่ผู้วิจัยได้วิเคราะห์เทคนิคเพลงเดี่ยวขิมเพลงแป๊ะฮวยพัง ทางอาจารย์ชยุดี วสวานนท์ โดยมีประเด็นในการ วิเคราะห์ คือ ๑.สังคีตลักษณ์ ๒. จังหวะ ๓. กลุ่มเสียงปัญจมูล ๔. การเคลื่อนที่ของทานอง ๕. การใช้สานวนกลอน ๖. การใช้ กลวิธีพิเศษ สามารถสรุปผลการวิเคราะห์ตามประเด็นต่าง ๆ ได้ ดังนี้ ผลการวิเคราะห์สังคีตลักษณ์ ของเดี่ยวขิมเพลงแป๊ะฮวยพัง ทางอาจารย์ชยุดี วสวานนท์ สามารถเขียนสัญลักษณ์ แทนสังคีตลักษณ์ได้ ดังนี้ เที่ยวช้า คือ A/B/ เที่ยวเร็ว และเที่ยวเก็บ คือ A/BC/ คาอธิบายสัญลักษณ์ A เป็นสัญลักษณ์แทน ทานองท่อนที่ ๑ B เป็นสัญลักษณ์แทน ทานองท่อนที่ ๒ C เป็นสัญลักษณ์แทน สานวนกลอนที่เพิ่มมา / เป็นสัญลักษณ์แทน การจบท่อน ผลการวิเคราะห์จังหวะ ในการเดี่ยวขิมเพลงแป๊ะฮวยพัง ใช้กลองตุ๊ก หรือโทน-รามะนาตีหน้าทับจีนโบราณ ลักษณะ การบรรเลงจังหวะหน้าทับนั้น บรรเลงจนจบ ๑ หน้าทับ แล้วกลับไปบรรเลงเหมือนเดิม ซ้ากันไปในรูปแบบนี้จนจบเพลง กรณี เที่ยวเร็ว จังหวะหน้าทับจะมีลูกเล่นตามแนวเพลงที่มีจังหวะกระชับขึ้น แต่ยังยึดจังหวะหน้าทับ ๒ ชั้นอยู่เหมือนเดิม ส่วน จังหวะฉิ่ง ตีเป็นฉิ่ง ๒ ชั้น ทั้งเที่ยวช้า และเที่ยวเร็ว โดยจะตีเฉพาะเสียงฉิ่งเปิด เพียงเสียงเดียว การตีฉิ่งประกอบจังหวะในเพลงแป๊ะฮวยพัง เป็นการตีฉิ่งสาเนียงจีน โดยตีเฉพาะเสียงฉิ่งเปิด เพียงอย่างเดียว และมี การตีเป็นอัตราจังหวะสองชั้น มีลักษณะการตีดังนี้ การตีหน้าทับกลองที่ใช้ในเพลงแป๊ะฮวยพัง คือ หน้าทับจีนโบราณ อัตราจังหวะ ๒ ชั้น มีลักษณะการตีดังนี้ ผลการวิเคราะห์กลุ่มเสียงปัญจมูล การเคลื่อนที่ทานองและการใช้สานวนกลอน สามารถอธิบายโดยรวมได้ดังนี้ เที่ยวช้าท่อนที่ ๑ จากการวิเคราะห์พบว่า ในเที่ยวช้าท่อนที่ ๑ มีทั้งหมด ๕ บรรทัด ใช้กลุ่มเสียงปัญจมูล ฟซลxดรx (ระดับเสียง ชวา) และกลุ่มเสียงปัญจมูล ทดรxฟซ (ระดับเสียงกลาง) มีเสียง ม เป็นเสียงผ่านเพื่อสร้างความกลมกลืนแก่สานวน พบกลวิธี - - - ฉิ่ง - - - ฉิ่ง - - - ฉิ่ง - - - ฉิ่ง - - - - - -- ติง - ติง - - ติง – ติง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3