Proceeding2562

1676 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ผลงานการสร้างสรรค์ การวิจัยผลงานการสร้างสรรค์ การวิเคราะห์เดี่ยวขิมเพลงแป๊ะฮวยพัง ทางอาจารย์ชยุดี วสวานนท์ เป็นการวิจัยเชิง คุณภาพ โดยรวบรวมข้อมูลจากการค้นคว้า เก็บรวบรวมเอกสารจากสถานที่ต่าง ๆ สัมภาษณ์ อาจารย์ชยุดี วสวานนท์ และ อาจารย์วราเมษ วัฒนไชย มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างเพลง สานวนกลอน และกลวิธีพิเศษในการบรรเลงขิม โดยนา องค์ความรู้จากทฤษฎีเกี่ยวกับโครงสร้างของเพลงคือ การแบ่งโครงสร้างของเพลง การเคลื่อนที่ของทานอง ลูกตก บัน ไดเสียง จังหวะ สังคีตลักษณ์ และทฤษฎีเกี่ยวกับเทคนิคการบรรเลงเพลงเดี่ยว คือ การแปรทานอง มาสรุปผลการวิจัยได้ ดังนี้ สรุปผลการวิเคราะห์เดี่ยวขิมเพลงแป๊ะฮวยพัง ทาง อาจารย์ชยุดี วสวานนท์ ตามวัตถุประสงค์ข้อที่ ๑ พบว่า เพลงนี้ เป็นเพลงที่มาสาเนียงจีนแท้ มี ๒ ท่อน การบรรเลงแบ่งออกเป็น ๒ เที่ยว คือ เที่ยวช้า และเที่ยวเร็ว ในเที่ยวเร็วท่อนที่ ๑ มี เที่ยวกลับอยู่ในท่อน มีการตีฉิ่งเฉพาะฉิ่งเสียงเปิด และใช้หน้าทับจีนโบราณ โครงสร้างของเพลงมีการเคลื่อนที่ทานองไปใน ทิศทางเดียวกัน พบการใช้กลุ่มเสียงปัญจมูลคือ ประโยคที่ ๑ - ๓ ใช้กลุ่มเสียงปัญจมูล ฟซลxดรx พบเสียง ม เป็นเสียงผ่าน เพื่อไปยังกลุ่มเสียงปัญจมูล ทดรxฟซx ในประโยคที่ ๔ และกลับสู่กลุ่มเสียงปัญจมูล ฟซลxดรx ในประโยคที่ ๕ ส่วนเที่ยว ช้า และเที่ยวเร็ว ท่อนที่๒ พบว่าประโยคที่ ๑ ใช้กลุ่มเสียงปัญจมูล ฟซลxดรx ประโยคที่ ๒และ ประโยคที่ ๓ ใช้กลุ่มเสียงปัญจมูล ทดรxฟซx ประโยคที่ ๔ เที่ยวช้าใช้กลุ่มเสียงปัญจมูล ซลทxรมx ประโยคที่ ๕ ใช้กลุ่มเสียงปัญจมูล ฟซลxดรx ในส่วนของเที่ยว เร็ว ประโยคที่ ๔ และประโยคที่ ๕ ใช้กลุ่มเสียงปัญจมูล ทดรxฟซx และประโยคที่ ๖ ใช้กลุ่มเสียงปัญจมูล ฟซลxดร ลักษณะ รูปแบบเพลงหรือสังคีตลักษณ์ ในเที่ยวช้า คือ A/B/ และเที่ยวเร็วคือ A/BC/ ข้อที่ ๒ สานวนกลอนที่พบในเพลง คือ การเพิ่มตัว โน้ตให้มีความถี่ขึ้น โดยการตีตัวโน้ตซ้ากัน จากอีกห้องหนึ่งไปสู่อีกห้องหนึ่ง และบรรเลงตัวโน้ตเสียงสูงเป็นส่วนใหญ่ ข้อที่ ๓ ผู้วิจัยพบว่ากลวิธีพิเศษของเพลงนี้ คือ การตีซ้ามือขวา การตีสลับมือซ้าย มือขวา ด้วยพยางค์เสียงสั้น การตีรัวตัวโน้ตเสียงสูง เพียงเสียงเดียว การปิดเสียงด้วยมือเพื่อตั้งจังหวะจากเที่ยวช้าไปยังเที่ยวเร็ว และการตีประคบมือ แนวเพลงจึงมีความกระชับ ขึ้นตามลาดับ เที่ยวช้าและเที่ยวเร็ว เน้นความไหว การตีมือซ้าย มือขวา ในน้าหนักเสียงที่เท่ากัน และความแม่นยาของผู้ บรรเลง เอกสารอ้างอิง นิพันธ์ ธนารักษ์ และกัลป์ยานี ดวงฉวี. (๒๕๔๓). เรียนรู้จักขิมด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช. เบญจวรรณ มนัสไพบูลย์. (๒๕๕๒). “ชยุดี วสวานนท์ เส้นทางครูขิม” สกุลไทย ๕๕ (ฉบับที่ ๒๘๔๑), ๓๘ - ๔๑. มานพ วิสุทธิแพทย์. (๒๕๓๓). ดนตรีไทยวิเคราะห์. กรุงเทพฯ : ชวนพิมพ์. อุทิศ นาคสวัสดิ์. (๒๕๓๐). หลักและทฤษฎีดนตรีไทย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์ - พับลิชชิ่ง.

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3