Proceeding2562

1679 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน บทนำ ซออู้เป็นเครื่องดนตรีที่มีบทบาทหน้าที่ในวงดนตรีไทย ทั้งเครื่องสาย วงมโหรีและวงปี่พาทย์บางชนิด มีการดาเนิน ทานองที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ โดยหน้าที่ในการบรรเลงคือ บรรเลงทานองหยอกล้อ ให้มีความสนุกสนานและเพิ่มสีสันให้แก่วง หน้าที่ดังกล่าวนี้เองจึงมีผู้เปรียบซออู้กับการเป็นตัวตลกขอบวง เช่นเดียวกับระนาดทุ้ม ซึ่งมีลักษณะการดาเนินทานองที่ คล้ายกัน เนื่องจากการดาเนินทานองซออู้จะต้องให้มีความแปลก แตกต่างจากการดาเนินทานองซอด้วงและหลีกหนีจาก ทานองหลักให้มากที่สุด ดังนั้นผู้บรรเลงจึงต้องมีปฏิภาณไหวพริบในการบรรเลงเป็นอย่างมาก ซออู้เป็นเครื่องดนตรีที่ส่วนของ กาทอนเสียง ทามาจากกะลามะพร้าว ส่วนนี้มีชื่อเรียกต่างจากซอด้วง โดยซอด้วงเรียกว่า กระบอก ส่วนซออู้เรียกว่า กะโหลก ซออู้มีสองสาย มีช่วงเสียงทุ้มต่าขนาดสายใหญ่กว่าซอด้วง มีคันชักติดอยู่กึ่งกลางระหว่างสายทั้งสองเรียกว่า สายเอกและสาย ทุ้ม ซออู้เป็นเครื่องดนตรีไทยชนิดสีประเภทเครื่องสายอีกประเภทหนึ่งที่ทาให้เกิดเสียงด้วยการใช้คันชักสีเข้ากับสาย ใช้ ประกอบวงเครื่องสาย วงมโหรีวงปี่พาทย์ไม้นวม และวงปี่พาทย์ดึกดาบรรพ์ มีหน้าที่หยอกล้อ ยั่วเย้าไปกับทานองเพลง กระตุ้น อารมณ์ให้สนุกสนาน โดยเฉพาะในการบรรเลงประกอบการแสดงหุ่นกระบอก และการร้องแอ่วให้สอดประสานกลมกลืนกันซอ ที่ใช้อยู่ในวงดนตรีไทย มี 3 ชนิด คือ ซอสามสาย ซอด้วง ซออู้ จากหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดนตรีในสมัยกรุงศรีอยุธยา ปรากฏข้อความในกฎมณเฑียรบาล ซึ่งตราไว้ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991 - 2031) ในกฎมณเฑียรบาลตอน ที่ 15 และ 20 อันเป็นบทบัญญัติกาหนดโทษแก่ผู้ที่เล่นดนตรีเพลิดเพลินเกินขอบเขตเข้าไปถึงพระราชฐาน ขณะล่องเรือผ่าน นั้น ปรากฏมีชื่อเครื่องดนตรีระบุไว้ ได้แก่ ขลุ่ย ปี่ ซอ จะเข้ กระจับปี่ โทน ทับ ในจดหมายเหตุลาลูแบร์ ได้บันทึกไว้ว่า “ ขบวนเรือยำวที่แห่มำรับตัวท่ำนและคณะว่ำมีเสียงเห่ เสียงโห่และเสียงดนตรีประเภทกระจับปี่สีซอดังกึกก้องไพเรำะไปทั่ว คุ้งนำ...” จะเห็นได้ว่าในกฎมณเฑียรบาลและในจดหมายเหตุลาลูแบร์ ได้มีการกล่าวถึง “ซอ” ไว้อย่างชัดเจนแต่เสียดายที่ ไม่ได้ระบุแน่ชัดว่าเป็นซออะไร เพลงทยอยเป็นเพลงหน้าพาทย์เดิมทีเป็นเพลงประเภทหน้าทับสองไม้ อยู่ในเพลงเรื่อง ประเภทเพลงทยอย ใช้ บรรเลงประกอบกิริยาของตัวแสดงที่เดินทางขณะที่มีอาการเศร้าโศกเสียใจ เช่นตอนนางวันทองลาเรือนขุนช้าง ตอนนางรจนา ทูลลาออกไปอยู่ปลายนา นอกจากนี้เพลงทยอย ยังใช้ความหมายที่เป็นรูปแบบหรือทางบรรเลงดนตรีประเภทที่ใช้กับเพลงเสภา และเป็นชื่อเฉพาะของหน้าทับได้อีกความหมายหนึ่งด้วย เพลงทยอยนอก อัตรา 2 ชั้น ประเภทหน้าทับสองไม้มี 2 ท่อน ปรากฏอยู่ในเพลงเรื่องทยอยเป็นเพลงที่มีลักษณะพิเศษ คือเปิดโอกาสให้เดี่ยวได้ในเครื่องดนตรีทุกประเภท พระประดิษฐ ไพเราะ (มี ดุริยางกูร) หรือครูมีแขกแต่งขยายขึ้นเป็นอัตรา 2 ชั้น มีเที่ยวกลับดาเนินทานองแตกต่างกันรวมเป็น 2 ท่อน และ เมื่อได้แต่งขึ้นใหม่ก็เปลี่ยนคู่กันกับเพลงที่แต่งขยายขึ้นจากเพลงเดียวกันแต่บรรเลง “ทางใน” ซึ่งเรียกว่า “ทยอยใน” เพลง ทยอยนอกเป็นเพลงเอกเพลงหนึ่งในจานวนเพลงลูกล้อลูกขัด เกือบจะกล่าวได้ว่าเป็นแม่บทของเพลงลูกล้อลูกขัด ที่เกิดขึ้นใน ชั้นหลังทั้งสิ้นแม้ทานอง 2 ชั้น โบราณจะเป็นเพลงที่มีความหมายไปในทางวิปโยคโศกเศร้า อาลัยลา แต่พระประดิษฐไพเราะ (ครูมีแขก) ผู้แต่งก็ได้สอดแทรกลูกเล่นไปอย่างพิสดาร มีทั้งเดี่ยว ลูกล้อลูกขัด และทีเบาทีแรงพร้อมมูล เป็นเพลงสาหรับอวด ฝีมือไปในตัว ไม่มีเพลงประเภทลูกล้อลูกขัดเพลงใดจะเทียบเท่า เป็นที่นิยมกันมาจนในสมัยนี้และกาลต่อไปนับเป็นเพลงที่ไม่ ตายเพลงหนึ่ง เข้าใจว่าได้แต่งขึ้นในตอนปลายรัชกาลที่ 4 การที่มีเพลงนี้เป็นเพลงเถาขึ้นก็ด้วยหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ได้ตัดทานองโดยตรงของพระประดิษฐไพเราะส่งมา เป็นสองชั้น และชั้นเดียวในภายหลัง ครูฉลวย จิยะจันทน์ มีผลงานด้านดนตรีมากมาย อาทิ การชนะเลิศการประกวดดนตรีเมื่อ พ .ศ. 2460 ในนามขอ งวงปิติชัย ครูฉลวย จิยะจันทน์ ออกงานแสดงดนตรีครั้งแรกเมื่ออายุ 15 ปี ที่ศาลาเจริญกรุง แสดงฝีมือเดี่ยวครั้งแรกเมื่ออายุ 17 ปี เคยบันทึกเสียงวงดนตรีวัชรบรรเลง และวงดนตรีของศาสตราจารย์ ดร. อุทิศ นาคสวัสดิ์ นอกจากนี้ ครูฉลวย จิยะจันทน์ ยังเคยอยู่ในวงดนตรีนารีศรีสุมิตรของพระสุจริตสุดา (เปรื่อง สุจริตวาทิน) พระสนมเอกในรัชกาลที่ 6 ต่อมาครูฉลวย จิยะจันทน์ ได้เข้ารับราชกาลที่วงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์จนเกษียณอายุราชกาล และถูกเชิญให้ไปสอนในสถาบันต่าง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3