Proceeding2562
1944 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 3 บทนา สังคมปัจจุบันเป็นสังคมแห่งความรู้ (Knowledge Based Society) แนวทางที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน วิทยาศาสตร์ต้องให้ผู้เรียนได้รู้วิทยาศาสตร์ (Scientific Literacy for All) ซึ่งประกอบด้วยมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ ซึ่งมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของ ความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในบทเรียนและมีความรู้ในระดับสูงขึ้น โดยที่มโนทัศน์ ทาง วิทยาศาสตร์มีทั้งระดับที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม มีความเชื่อมโยงต่อเนื่องกัน อาจจะเกิดขึ้นจากการนาเอามโนทัศน์หลายๆ อย่างมาสัมพันธ์กันอย่างมีเหตุผล (ภพ เลาหไพบูลย์, 2537: 3) ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันจึง มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความเข้าใจมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์อย่างถูกต้องและช่วยพัฒนากระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลซึ่งเป็น พื้นฐานที่สาคัญสาหรับการค้นคว้าความรู้อื่นๆต่อไป อีกทั้งยังเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยที่การ จัดการเรียนการสอนต้องส่งเสริมให้นักเรียนเป็นผู้คิด ลงมือปฏิบัติ ศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบด้วยกิจกรรมต่างๆ ทั้งการทา กิจกกรมภาคสนาม การสังเกต การสารวจตรวจสอบ การทดลอง การสืบค้น การศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ เพราะการเรียนรู้ของ นักเรียนจะเกิดขึ้นระหว่างที่นักเรียนได้มีส่วนร่วมโดยตรงในกิจกรรมนั้นๆ จึงส่งผลให้นักเรียนมีความสามารถในการสืบเสาะหา ความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ(สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2546: 143) จากรายงานการประเมินการรู้วิทยาศาสตร์ (Scientific Literacy) โครงการประเมินผลนักเรียน นานาชาติ (Programme for International Student Assessment หรือ PISA) ซึ่งประเมินด้านสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ได้แก่ การ ระบุประเด็นวิทยาศาสตร์ การอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ ผลการประเมินพบว่า นักเรียนไทยมีคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ PISA 2000, 2003, 2006, 2009 และ 2012 ประเทศไทยได้คะแนนเฉลี่ย 421, 432, 429, 425 และ 444 คะแนน ตามลาดับ ซึ่งต่ากว่าคะแนนเฉลี่ยมาตรฐานขององค์กรเพื่อความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ ( Organization for Economic Cooperation and Development : OECD) โดยกาหนดคะแนนเฉลี่ยมาตรฐานที่ 500 คะแนน จัดว่ามีค่าเฉลี่ยคะแนนการรู้ วิทยาศาสตร์ (Scientific Literacy) เฉลี่ยอยู่ในกลุ่มต่า (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2556: 23-24) สะท้อนให้เห็นว่า การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ยังมีจุดบกพร่องหลายอย่าง โดยทั้งนี้อาจจะเกิดจากธรรมชาติของ รายวิชาชีววิทยาที่มีลักษณะเข้าใจยาก เป็นนามธรรม มีเนื้อหาและคาศัพท์เฉพาะทา งวิทยาศาสตร์ที่ยากหรืออาจเกิดจาก ครูผู้สอนที่ขาดเทคนิคการสอนที่เหมาะสม เน้นเทคนิคการเรียนการสอนแบบบรรยาย สื่อการสอนไม่หลากหลาย ทาให้ นักเรียนขาดกระบวนการคิดแบบสืบเสาะด้วยตนเอง มโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์อาจจะคลาดเคลื่อนและเกิดเจตคติที่ไม่ดีต่อ รายวิชาชีววิทยา และจากการสังเกตชั้นเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ของผู้วิจัย พบว่าเกิดความแตกต่างของนักเรียน ภายในชั้นเรียนซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีความกระตือรือร้นให้ความสนใจในการเรียน ให้ความร่วมมือในการตอบ คาถาม การทาแบบฝึกหัด การทาปฏิบัติการ หรือกิจกรรมต่างๆในห้องเรียน ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งจะเป็นกลุ่มที่ไม่กล้าแสดงออกใน การให้ความร่วมมือกับครูและ ไม่คอยปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมชั้น ไม่กระตือรือร้นที่จะทาปฏิบัติการที่ครูมอบหมายให้ จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการเรียนการสอนชีววิทยา ทาให้ต้องมีการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน โดย แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาความสามารถในการ แก้ปัญหาด้วยการฝึกให้ผู้เรียนรู้จักศึกษาค้นคว้าหาความรู้โดยผู้สอนมีบทบาทในการตั้งคาถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ใช้ กระบวนการทางความคิด หาเหตุผลจนค้นพบความรู้หรือแนวทางในการแก้ปัญหาที่ถูกต้องด้วยตนเอง แล้วสรุปออกมาเป็น หลักการหรือวิธีการแก้ปัญหาและสามารถนาไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ เป็นการสอนที่ให้ความสาคัญเกี่ยวกับการตรวจสอบ ความรู้เดิมของเด็ก ทาให้ผู้สอนได้ค้นพบว่าผู้เรียนต้องเรียนรู้อะไรก่อน ซึ่งจะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ (วีณา ประชากูล และประสาท เนืองเฉลิม. 2553 : 228) การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนได้ร่วมมือและช่วยเหลือกันในการเรียนรู้โดยการ แบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มเล็กๆ ซึ่งเทคนิคจิ๊กซอว์ เป็นการการจัดการเรียนรูโดยการแบกลุ่มผู้เรียนที่คละความสามารถ กลุ่มละ 3-6
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3