Proceeding2562

1947 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 6 จากตารางที่ 1 พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่องการสืบพันธุ์ของพืชดอกและการเจริญเติบโต ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นร่วมกับเทคนิคจิ๊กซอว์หลังเรียนสูงกว่าก่อน เรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 7.30 เป็น 22.78 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน ซึ่งเป็นไป ตามสมมติฐานข้อที่ 1 อาจจะมีสาเหตุมาจากการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ ผู้เรียนได้สืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งรูปแบบการจัดการเรียนรู้รูปแบบนี้ ให้ความสาคัญเกี่ยวกับการตรวจสอบความรู้ เดิมของนักเรียนที่จะทาให้ครูค้นพบว่านักเรียนต้องเรียนรู้อะไรก่อนที่จะเรียนรู้เนื้อหาในบทเรียนนั้นๆและเน้นการถ่ายโอน ความรู้ให้นักเรียนนาความรู้ที่ได้ไปปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์ต่อชีวิตประจาวั น นอกจากนี้ยังช่วยให้ นักเรียนปรับข้อมูลที่ได้รับมาใหม่เข้ากับประสบการณ์เดิมที่มีอยู่ แล้วเกิดเป็นองค์ความรู้ที่นักเรียนสร้างขึ้นเอง ส่งผลให้การ เรียนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของวีระพล ภาระเวช ( 2550 : 77-80) ได้ศึกษาการพัฒนา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะความรู้ 7 ขั้น (7E) ซึ่งนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และสอดคล้องกับจิราวรรณ ใจเพิ่ม (2560 : 482-491) ได้เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตาม วงจรการเรียนรู้แบบ 7E กับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามวงจรการเรียนรู้แบบ 7E สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ แบบปกติ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามวงจรการ เรียนรู้แบบ 7E หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้สอดแทรกการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์เข้าไปใน ขั้นสารวจและค้นหา ขั้น อธิบายและขั้นประเมินผลของการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เนื่องจากในชั้นเรียนมีนักเรียนที่มีความแตกต่าง กัน ซึ่งนักเรียนแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่มีความกระตือรือร้นให้ความสนใจในการเรียน ให้ความร่วมมือในการทากิจกรรม ต่างๆในห้องเรียน ส่วนอีกกลุ่มหนึ่ง เป็นกลุ่มที่ไม่ให้ความร่วมมือในการจัดการเรียนการสอนของครู และไม่มีปฏิสัมพันธ์กับ เพื่อนร่วมชั้น โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์นี้เป็นเทคนิคที่จัดกลุ่มนักเรียนแบบคละความสามารถ ครูแบ่ง เนื้อหาย่อยๆเท่ากับจานวนสมาชิกของแต่ละกลุ่ม จากนั้นสมาชิกในกลุ่มจะแยกย้ายกันไปศึกษาทาความเข้าใจในเนื้อหาที่ได้รับ มอบหมายและกลับไปอธิบายให้สมาชิกในกลุ่มเข้าใจตามที่ตนเองได้ไปศึกษามา หลังจากนั้นนักเรียนแต่ละคนจะทา แบบทดสอบเป็นรายบุคคลแล้วนาคะแนนของสมาชิกในกลุ่มมารวมกัน เพื่อเป็นคะแนนของกลุ่ม ซึ่งจากรูปแบบการจัดการ เรียนรู้แบบนี้จะช่วยส่งผลให้นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น เกิดความสามัคคี มีความกระตือรือร้น และที่สาคัญมีการนา คะแนนของสมาชิกในกลุ่มมารวมกันจะทาให้เกิดการช่วยเหลือกันและกันในกลุ่ม สอดคล้องกับงานวิจัยของธีรวัฒน์ ผิวขม (2554 : 73) ได้ศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อน เรียน และสอดคล้องกับพิจิตรา ศรีพัดยศ (2559 : 181-193) ได้ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้แบบวัฏ จักร 7 ขั้น ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ วิชาชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 2. ทักษะทางสังคม ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับเทคนิคจิ๊ก ซอว์ ได้ผลภาพที่ 1

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3