Proceeding2562
1948 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 7 12.74 11.9 11.69 12.21 19.65 16.71 16.21 19.12 0 5 10 15 20 25 คะแนนทักษะทางสังคม ก่อนเรียน หลังเรียน ภาพที่ 1 ทักษะทางสังคมของนักเรียน ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นร่วมกับเทคนิคจิ๊กซอว์ จากภาพที่ 1 คะแนนทักษะทางสังคมของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นร่วมกับ เทคนิคจิ๊กซอว์ใน 4 ด้าน คือ ด้านการสื่อสาร ด้านการเป็นผู้นา ด้านการรู้จักตนเอง และด้านการทางานร่วมกับผู้อื่น หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน เพิ่มขึ้นจาก 12.74, 11.9, 11.69 และ 12.21 เป็น 19.65, 16.71, 16.21 และ 19.12 ตามลาดับ (คะแนนเต็ม 25 คะแนน) ทั้งนี้เนื่องจากการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ เป็นการจัดการเรียนรู้แบบจัดประสบการณ์เรียนรู้ นักเรียนจะถูกมอบหมายให้หาประสบการณ์นอกกลุ่มแล้วกลับมากลุ่มเดิมเพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ โดยทุกคนจะมีส่วนร่วมใน การเรียนรู้จนถึงความสาเร็จของกลุ่ม นักเรียนจะมีการสื่อสารแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เด็กเก่งจะช่วยเหลือเด็กที่ อ่อน ทาให้เด็กอ่อนมีความความสุขเพราะเพื่อนให้ความช่วยเหลือ ส่วนเด็กเก่งจะเกิดความภาคภูมิใจในการมีส่วนร่วมใน กระบวนการกลุ่ม รวมทั้งครูได้สร้างแรงจูงใจโดยการเสริมแรงด้วยการชมเชย หรือให้รางวัลกลุ่มที่มีคะแนนสูงสุด ทาให้นักเรียน เกิดความตั้งใจในการเรียนสามารถสื่อสารได้อย่างมั่นใจ สร้างความเชื่อมั่นความเป็นผู้นาให้กับนักเรียนและมีความพยายามใน กระบวนการทางานกลุ่มให้เกิดความสาเร็จ สรุปผลการวิจัย 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่อง การสืบพันธุ์ของพืชดอกและการเจริญเติบโต หลังการจัดการเรียนรู้โดย ใช้การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับเทคนิคจิ๊กซอว์ สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ทักษะทางสังคมของนักเรียน หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับเทคนิคจิ๊กซอว์ เรื่อง การสืบพันธุ์ของพืชดอกและการเจริญเติบโต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เอกสารอ้างอิง {1} จิราวรรณ ใจเพิ่ม. (2560). “ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการ เรียนรู้ตามวงจรการเรียนรู้แบบ 7E และแบบปกติ,” ใน รายงานการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและ นานาชาติ ครั้งที่ 8. (หน้า 482 – 491). วันที่ 16 มีนาคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. {2} ธีรวัฒน์ ผิวขม. (2554). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD กับการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค จิ๊กซอว์. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3