Proceeding2562
1952 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 3 บทนํา สะเต็มศึกษา (STEM Education) เปนการจัดการเรียนรูที่บูรณาการ 4 สาขาวิชา ไดแก วิทยาศาสตร เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร และคณิตศาสตร เขาดวยกัน (ชลาธิป สมาหิโต. 2557 : 2) ซึ่งเปนแนวทางการจัดการเรียนรูที่เริ่มใชใน ประเทศสหรัฐอเมริกาเปนประเทศแรก เนื่องจากเยาวชนไมสนใจการเรียนรูดานวิทยาศาสตร คณิตศาสตร และเทคโนโลยี จึงไดพัฒนาหลักสูตรการศึกษาวิทยาศาสตรแหงชาติที่มีการแทรกเนื้อหาหรือแนวคิดดานวิศวกรรมศาสตรและเทคโนโลยีสู หลักสูตรวิทยาศาสตรระดับชั้นมัธยมศึกษาอยางเปนรูปธรรม กลายเปนที่มาของสะเต็มศึกษา (STEM Education) (สิรินภา กิจเกื้อกูล. 2558 : 3) สําหรับในประเทศไทย สถาบันสงเสริมการสอนวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี โดยเริ่มนําแนวคิด สะเต็มศึกษามาปรับหลักสูตรการศึกษา (มนตรี จุฬาวัฒนทล. 2556 : 3) ซึ่งคุณลักษณะของสะเต็มศึกษา คือ การใชทักษะการ คิดขั้นสูงและความคิดสรางสรรค ถือวาเปนความคิดขั้นสูงและยังชวยใหผูเรียนสรางความเชื่อมโยงระหวางวิชาทั้ง 4 คือ วิทยาศาสตร เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร และคณิตศาสตรเขากับชีวิตประจําวัน ที่เนนการพัฒนาทักษะที่จําเปนในศตวรรษที่ 21 ทักษะการสรางสรรคและนวัตกรรมเปนหนึ่งในทักษะแหงศตวรรษที่ 21 ที่หลาย ๆ ประเทศใหความสําคัญเปนอยาง มาก เนื่องจากความคิดสรางสรรคเปนความสามารถที่มีคุณภาพมากกวาความสามารถดานอื่น ๆ เปนปจจัยที่จําเปนอยางยิ่งใน การสงเสริมความเจริญกาวหนาของประเทศชาติ ประเทศใดก็ตามที่แสวงหา พัฒนา และนําเอาศักยภาพเชิงสรางสรรคของ ประเทศออกมาใชใหเกิดประโยชนมากเทาใด ก็ยิ่งมีโอกาสพัฒนาและเจริญกาวหนามากยิ่งขึ้น (อารี พันธมณี. 2557 : 49) แต สําหรับการพัฒนาความคิดสรางสรรคของนักเรียนไทยนั้นยังไมเปนไปตามกรอบเปาหมายของแผนการปฏิรูปการศึกษา ทั้งนี้ อาจมีสาเหตุมาจากการจัดการเรียนรูในปจจุบันยังไมสงเสริมใหนักเรียนไดนําความรูมาประยุกตใชอยางสรางสรรคหรือทํา กิจกรรมในสถานการณแปลกใหมที่สอดคลองกับชีวิตจริงเทาที่ควรจึงทําใหการประเมินผลการเรียนรูตาง ๆ ของผูเรียนใน ประเทศไทยยังคงมีคาเฉลี่ยที่ต่ํากวาหลายประเทศทั่วโลก การจัดการเรียนรูในปจจุบันจึงจําเปนตองสงเสริมใหนักเรียนไดใชความรูหลากหลายสาขาวิชาในเชิงบูรณาการ และ สงเสริมผูเรียนใหทําการสืบเสาะ แกปญหา และใชความคิดขั้นสูงเพื่อใหผูเรียนเกิดการเรียนรูอยางมีประสิทธิภาพ อีกทั้งควร สงเสริมใหนักเรียนรูจักการทํางานและแกปญหาอยางหลากหลายวิธีหรือพัฒนานวัตกรรมตาง ๆ เพื่อสงเสริมตอการพัฒนา ทักษะการสรางสรรคและนวัตกรรมของนักเรียน ซึ่งแนวทางการจัดการเรียนรูแบบบูรณาการในศตวรรษที่ 21 ที่กําลังเปนที่ สนใจนั่นคือ สะเต็มศึกษา ซึ่งเปนการสอนที่บูรณาการ 4 สาขาวิชา โดยมีการออกแบบเชิงวิศวกรรมเปน “หัวใจหลักของการ เรียนรู” ซึ่งนักเรียนจะไดเรียนรูและประยุกตใชความรูและทักษะทางวิทยาศาสตรและคณิตศาสตร เพื่อสรางนวัตกรรมหรือ เทคโนโลยีที่แกปญหาหรือตอบสนองความตองการของมนุษย (Kelly & Knowles. 2016 : 2) งานวิจัยนี้ผูวิจัยไดนํากระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมตามแนวทางของสถาบันสงเสริมการสอนวิทยาศาสตรและ เทคโนโลยี มาประยุกตใชในการจัดการเรียนรู เนื่องจากการจัดการเรียนรูโดยใชกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมนั้นจะชวย พัฒนานักเรียนใหมีความสามารถในการแกปญหา ความสามารถในการคิด และมีความรู ความเขาใจเนื้อหาหรือมโนทัศนดาน วิทยาศาสตร คณิตศาสตร และเทคโนโลยีไดดียิ่งขึ้น ตลอดจนสามารถประยุกตใชความรูในการแกปญหา ดังนั้นการนํา กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมมาประยุกตใชในการจัดการเรียนรูตามแนวสะเต็มศึกษา จึงมีความสอดคลองตอการพัฒนา ทักษะการสรางสรรคและนวัตกรรมของนักเรียน วิธีดําเนินการ งานวิจัยนี้ใชรูปแบบการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (Classroom Action Research) ตามแนวคิดของ Kemmis & McTaggart. 2000 : 595) ประกอบดวย 4 ขั้นตอน ไดแก 1. วางแผน (Plan) 2. ปฏิบัติการ (Act) 3. สังเกตการณ (Observe) และ 4. สะทอนผลการปฏิบัติ (Reflect)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3