Proceeding2562

1958 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การประเมินความต้องการจ�ำเป็นในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสงขลา เสาวนีย์ คงยุนุ่ย 1 * สุนทรี วรรณไพเราะ 2 และรุ่งชัชดาพร เวหะชาติ บทคัดย่อ บทน�ำ : จ�ำนวนของโรงเรียนในประเทศไทยเกือบจะกึ่งหนึ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็กที่มีจ�ำนวนนักเรียนน้อยกว่า 120 คน ซึ่งโรงเรียน ขนาดเล็กเหล่านี้ส่วนใหญ่ประสบปัญหาขาดคุณภาพการจัดการศึกษา การประเมินความต้องการจ�ำเป็นในการบริหารโรงเรียนขนาด เล็กจะเป็นข้อมูลสารสนเทศที่จะช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจวางแผนการบริหารงานได้เหมาะสมตรงตามบริบทของสถานศึกษา วัตถุประสงค์ : 1) เพื่อเปรียบเทียบความต้องการจ�ำเป็นในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาจังหวัดสงขลา 2) เพื่อประเมินความต้องการจ�ำเป็นในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาจังหวัดสงขลา และ3) เพื่อศึกษาแนวทางในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดสงขลา วิธีการศึกษา : วิจัยนี้เป็นการศึกษาและประเมินความต้องการจ�ำเป็นในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูโรงเรียน ขนาดเล็ก สังกัดส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2560 จ�ำนวน 285 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบ แบ่งชั้นตามส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา แล้วสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับสลาก เครื่องมือเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( x ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t -test) การทดสอบ ค่าเอฟ (F- test) ค่าดัชนีล�ำดับความส�ำคัญของความต้องการจ�ำเป็น (Modified Priority Need Index : PNI Modified ) และการ วิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษา : 1) ผลการเปรียบเทียบความต้องการจ�ำเป็นในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาจังหวัดสงขลาตามสภาพที่เป็นอยู่ จ�ำแนกตามตัวแปรส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแตกต่างกัน อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อจ�ำแนกตามตัวแปรเพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการท�ำงาน ไม่แตกต่างกัน 3)ผลการเปรียบเทียบความต้องการ จ�ำเป็นในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสงขลาตามสภาพที่ควรจะเป็น จ�ำแนก ตามตัวแปรประสบการณ์ในการท�ำงาน แตกต่างกัน อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อจ�ำแนกตามตัวแปรเพศ วุฒิการศึกษา และส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ไม่แตกต่างกัน4) ด้านการบริหารวิชาการ มีค่าดัชนีความส�ำคัญของความต้องการจ�ำเป็นสูงที่สุด เป็นล�ำดับแรก และ4)แนวทางในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก ได้แก่ สร้างความร่วมมือระหว่างโรงเรียนขนาดเล็กกับมหาวิทยาลัย และใช้การจัดการเรียนการสอนผ่านดาวเทียม วิจารณ์และสรุป : จากการศึกษาพบว่า ด้านการบริหารวิชาการ มีค่าดัชนีความส�ำคัญของความต้องการจ�ำเป็นสูงที่สุดเป็นล�ำดับแรก และแนวทางในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก ได้แก่ สร้างความร่วมมือระหว่างโรงเรียนขนาดเล็กกับมหาวิทยาลัย และใช้การจัดการ เรียนการสอนผ่านดาวเทียม ค�ำส�ำคัญ : การประเมินความต้องการจ�ำเป็นในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก, แนวทางในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก 1 นิสิตมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ 90000 2 อ.ดร., สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา 90000 3 ผศ.ดร., สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา 90000 1 Master, Department of Education Administration, Thaksin University, Songkhla, 90000 2 Lecturer. Dr., Department of Education Administration, Faculty of Education, Thaksin University, Songkhla, 90000 3 Asst. Prof. Dr., Department of Education Administration, Faculty of Education, Thaksin University, Songkhla, 90000

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3